ไขข้อสงสัย กระชายขาว รักษาโรคโควิด-19 (COVID-19) ได้จริงหรือ?


กระชาย กระชายขาว กระชายเหลือง รักษาโรคโควิด-19 ได้จริงหรือไม่? มีวิธีการกิน การใช้ อย่างไร? ข้อควรระวังในการรับประทานกระชายขาว มีอะไรบ้าง?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19 (SARS-CoV-2) ของกระชาย โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า สารในกระชายขาว ได้แก่ แพนดูราทิน เอ (Panduratin A) และพิโนสโตรบิน (Pinostrobin) มีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของไวรัสที่แรงกว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจร แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide
  • ผลการวิจัยนี้เป็นเพียงการทดลองในหลอดทดลอง และยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค และข้อบ่งชี้ในการใช้ต้านโรคโควิด-19 ในมนุษย์อย่างเหมาะสม
  • ผู้ที่ต้องการรับประทานกระชายขาวเพื่อบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 นั้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน ไม่รับประทานเกินปริมาณที่กำหนดบนฉลาก และเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากกระชายขาว หรืออันตรกิริยาระหว่างกระชายขาวกับยาที่รับประทานอยู่
  • หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับประทานกระชายขาว ควรหยุดรับประทาน แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที 
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

กระชายขาว เป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่คนเชื่อกันว่า สามารถใช้รักษาโรคโควิด-19 (COVID-19) ได้ และมีการนำมาบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการต้มดื่มกับสมุนไพรต่างๆ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ฟ้าทลายโจร หรือรับประทานสารสกัดกระชายขาวในรูปแบบแคปซูล

เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคกระชายขาว HDmall.co.th จึงได้สรุปข้อมูลวิธีการกินการใช้กระชายขาวอย่างถูกต้อง ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานต่อวัน และข้อมูลเกี่ยวกับผลวิจัยในการใช้กระชายขาวรักษาโรคโควิด-19 มาไว้ที่นี่แล้ว

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกระชายขาว

กระชายขาว หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “กระชายเหลือง” เป็นหนึ่งในชนิดของกระชายที่พบในไทย

คนส่วนใหญ่นิยมนำส่วนของรากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า "นมกระชาย" มาประกอบอาหาร เช่น แกงป่า ผัดฉ่า ทำเป็นเครื่องแกง หรือจิ้มกินกับน้ำพริกสดๆ

กระชายขาวนั้น มีอีกหนึ่งชื่อเรียกในวงการแพทย์แผนไทยว่า “โสมไทย” เพราะมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย และมีความคล้ายคลึงกันโสมในหลายๆ ด้าน

ตัวอย่างสรรพคุณทางยาของกระชายขาว

  • เหง้า (ลำต้นใต้ดิน)
    • มีรสเผ็ดร้นขม แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมอันบังเกิดแก่กองหทัยวาต แก้โรคในปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว
    • แก้ใจสั่นหวิว บำรุงหัวใจ แก้ไอ แก้ปวดมวลในท้อง ท้องร่วง รักษาอาการแน่น จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะรักษาโรคบิด แก้บิดมูกเลือด ปวดเบ่ง
    • แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ใช้ภายนอกรักษาโรคกลากเกลื้อน
  • ราก (นมกระชาย)
    • มีรสเผ็ดร้อนขม
    • มีสรรพคุณคล้ายโสม แก้กามตายด้าน บำรุงความรู้สึกทางเพศ ทำให้กระชุ่มกระชวย โดยใช้นมกระชายตำและหัวดองสุรา หรือใช้เป็นยาอายุวัฒนะโดยทำเป็นยาลูกกลอน
  • ใบ
    • มีรสร้อนเฝื่อน แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ ถอนพิษต่างๆ

กระชายขาวรักษาโรคโควิด-19 ได้จริงหรือ?

ผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19 (SARS-CoV-2) ของกระชาย โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า

“สารในกระชายขาว ได้แก่ แพนดูราทิน เอ (Panduratin A) และพิโนสโตรบิน (Pinostrobin) มีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของไวรัสที่แรงกว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจร แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide”

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยนี้เป็นเพียงการทดลองในหลอดทดลอง และยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค และข้อบ่งชี้ในการใช้ต้านโรคโควิด-19 ในมนุษย์อย่างเหมาะสม

สรุปได้ว่า กระชายขาวอาจใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ได้ แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา จึงไม่สามารถยืนยันได้นั่นเอง

สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานกระชายขาวเพื่อบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 นั้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน ไม่รับประทานเกินปริมาณที่กำหนดบนฉลาก และเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากกระชายขาว หรืออันตรกิริยาระหว่างกระชายขาวกับยาที่รับประทานอยู่

หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ควรหยุดรับประทานกระชายขาว แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีการรับประทานกระชายขาวอย่างปลอดภัย

กระชายขาวในรูปแบบของสารสกัดในแคปซูล

  • มักมีปริมาณ 200 มิลกิรัมต่อ 1 แคปซูล
  • คำแนะนำในการรับประทานคือ 1 แคปซูลต่อวัน หลังมื้ออาหาร
  • ตรวจสอบผลิตภัณฑ์กระชายขาวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ที่ https://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx

เครื่องดื่มกระชายขาวเสริมภูมิคุ้มกัน สูตรจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

วัตถุดิบ

  • กระชายสด 200 กรัม
  • ขิงสด 50 กรัม
  • ใบหูเสือ 10 ใบ
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
  • น้ำสะอาด 1 ลิตร
  • มะนาว
  • น้ำผึ้ง
  • เกลือป่น

วิธีการทำ

  • ล้างกระชายและขิงให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นนำไปปั่นให้ละเอียด
  • ต้มน้ำให้เดือด ใส่กระชายและขิงที่ปั่นละเอียดแล้ว ต้มเคี่ยวนาน 15 นาที
  • เติมน้ำตาลทรายแดงลงไปคนให้ละลาย จากนั้นตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
  • เตรียมน้ำคั้นหูเสือ โดยนำใบหูเสือ 10 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นพอหยาบ ปั่นกับน้ำสะอาด 200 มิลลิลิตร คั้นเอาแต่น้ำ

วิธีการรับประทาน

  • ใส่น้ำที่ได้จากการเคี่ยวกระชายและขิง 40 มิลลิลิตร น้ำคั้นใบหูเสือ 20 มิลลิลิตร และผสมน้ำผึ้ง มะนาว เกลือตามชอบ
  • เติมน้ำแข็งให้เต็มแก้ว ใส่โซดา 80 มิลลิลิตร
  • คนส่วนผสมให้เข้ากัน ดื่มเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรวันละ 1-2 ครั้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานกระชายขาว

  • ไม่ควรรับประทานกระชายติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือเกิน 1 สัปดาห์ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจส่งผลให้เกิดอาการร้อนใน หรือเป็นแผลในปาก
  • การบริโภคกระชายในปริมาณมาก อาจมีผลทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และเกิดภาวะใจสั่นได้
  • ไม่ควรใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
  • ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีความผิดปกติของตับ และไต
  • ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือด หรือผู้ที่มีโรคเกล็ดเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
  • หากต้องการรับประทานคู่กับฟ้าทะลายโจร ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อคำนวณปริมาณที่เหมาะสมก่อน

กระชายขาวเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีความปลอดภัยสูง หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานกระชายขาวเพื่อบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 นั้น เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง และในขณะที่รับประทานจะต้องสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดอาการผิดปกติใดๆ ให้หยุดรับประทานทันที

ต้องการตรวจหาเชื้อโควิด-19 กด เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายกับทางโรงพยาบาล เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

กรมสุขภาพจิต, น้ำกระชายเสริมภูมิคุ้มกัน (https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2348), 11 สิงหาคม 2564.

กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (http://164.115.41.179/tm/sites/default/files/แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์แผนไทยฯ%20ฉบับปรับปรุงครั้งที่%201%20วันที่%2016%20เม.ย%2064.pdf), 11 สิงหาคม 2564.

ข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กระชาย (http://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=4), 11 สิงหาคม 2564.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สารสกัดกระชายขาว ต้าน COVID-19? (https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522), 11 สิงหาคม 2564.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์, กระชาย สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายเหลือง (https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791854), 11 สิงหาคม 2564.

@‌hdcoth line chat