HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด มีที่มาจากการฉีดวัคซีนโควิดชนิดเดียวกัน 2 โดส แล้วภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อการป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ หรือปริมาณวัคซีนโควิดมีจำนวนจำกัด หรือระยะห่างของการฉีดเข็มที่สองในบางวัคซีนนานเกินไป
- งานวิจัยจากหลายประเทศล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือการฉีดวัคซีนสลับชนิด สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน 2 เข็ม และสามารถบรรเทาสถานการณ์วัคซีนมีจำนวนจำกัดได้
- ในไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีมติให้ฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด ซิโนแวค + แอสตราเซเนกา เว้นระยะห่าง 3 สัปดาห์ ในต่างประเทศก็เริ่มมีให้วัคซีนสลับชนิดเช่นกัน เช่น แคนาดา เยอรมนี ฉีดแอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์/โมเดอร์นา หรือเกาหลีใต้ ฉีดแอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์
- ผลการวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การฉีดวัคซีนซิโนแวค + แอสตราเซเนกา สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงพอที่จะครอบคลุมสายพันธุ์เดลต้า ช่วยลดความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตได้
- เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
การฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบสลับชนิด หรือสลับสูตร เป็นหนึ่งในประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจในขณะนี้ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้มีมติให้คนไทยฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด โดยฉีดซิโนแวคเข็มแรก และฉีดแอสตราเซเนกาเข็มที่สอง
HDmall.co.th จึงได้สรุปข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด คืออะไร มีประเทศใดบ้างที่ฉีดวัคซันโควิด-19 สลับชนิด มีสูตรอะไรบ้าง ผลลัพธ์เป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้
การฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด คืออะไร?
การฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด มีที่มาจากการฉีดวัคซีนโควิดชนิดเดียวกัน 2 โดส แล้วภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อการป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ หรือปริมาณวัคซีนโควิดมีจำนวนจำกัด หรือระยะห่างของการฉีดเข็มที่สองในบางวัคซีนนานเกินไป
โดยงานวิจัยจากหลายประเทศล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือการฉีดวัคซีนสลับชนิด สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน 2 เข็ม และสามารถบรรเทาสถานการณ์วัคซีนมีจำนวนจำกัดได้
ตัวอย่างการฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิดในต่างประเทศ
- แคนาดา แอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์/โมเดอร์นา
- เยอรมนี แอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์/โมเดอร์นา
- เกาหลีใต้ แอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์
- เดนมาร์ก แอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์/โมเดอร์นา (ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง)
- รัสเซีย สปุตนิก วี + แอสตร้าเซเนก้า (ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง)
- อินเดีย โควิชิลด์ (แอสตร้าเซเนก้า) + โควาซิน (ยังอยู่ในระหว่างการทดลอง)
- ยูเออี ซิโนฟาร์ม + ซิโนฟาร์ม + ไฟเซอร์ (วัคซีนบูสเตอร์)
- กัมพูชา ซิโนแวค + ซิโนแวค + แสตราเซเนกา (วัคซีนบูสเตอร์) / ซิโนฟาร์ม + ซิโนฟาร์ม + แอสตราเซเนกา (วัคซีนบูสเตอร์) / แอสตราเซเนกา + แอสตราเซเนกา + ซิโนแวค (วัคซีนบูสเตอร์)
แม้ว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในด้านความปลอดภัย และประสิทธิภาพ แต่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศผ่านเฟซบุ๊กออฟฟิเชียลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสลับชนิดนี้ว่า
“สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซเนก้าเข็มแรก และฉีดเข็มสองเป็นไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นาได้ ในบางสถานการณ์”
โดย WHO ให้เหตุผลว่า ถึงแม้การวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนสลับชนิดจะยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ แต่ก็มีข้อมูลเบื้องต้นว่า การฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มแรก แล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นาเป็นเข็มที่ 2 มีความปลอดภัยและให้ประสิทธิภาพดี ในสถานการณ์ที่ปริมาณของวัคซีนมีจำกัด
การฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิดในไทย เป็นอย่างไร?
ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2564) ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- บุคคลทั่วไป อายุ 18-59 ปี
- ซิโนแวค + แอสตราเซเนกา
- บุคลากรทางการแพทย์
- ซิโนแวค + ซิโนแวค + แอสตราเซนากา/ไฟเซอร์ (วัคซีนบูสเตอร์)
- ซิโนฟาร์ม + ซิโนฟาร์ม + แอสตราเซนากา/ไฟเซอร์ (วัคซีนบูสเตอร์)
โดยเมื่อวันที่ วันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เปิดเผยมติการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ครั้งที่ 7/2564 เกี่ยวกับการให้วัคซีนโควิด-19 สลับชนิดกันว่า
“นักวิจัย แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และที่กระทรวงอุดมศึกษา ได้ทำการศึกษาได้ผลตรงกันว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดกันจะมีประโยชน์ที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นได้สูง และสามารถต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตาได้ดี”
โดยแนวทางการฉีดวัคซีนโควิดสลับสูตรในบุคคลทั่วไป อายุ 18-59 ปี มีดังนี้
- ฉีดวัคซีนโควิดซิโนแวค เข็มที่ 1 และฉีดวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกา เข็มที่ 2 โดยเว้นระยะห่าง 3-4 สัปดาห์
- ในกรณีที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่ 1 ให้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เข็มที่ 2 โดยเว้นระยะห่าง 12 สัปดาห์
ในส่วนของบุคคลทั่วไปที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบทั้ง 2 เข็ม จะต้องฉีดเข็ม 3 หรือไม่นั้น
นพ.โอภาส ได้ให้ข้อมูลในวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ว่า ทางคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องทางด้านวิชาการ ด้านวัคซีน และเรื่องโรคติดต่อ ให้คำแนะนำการฉีดเข็ม 3 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าก่อน
ส่วนประชาชนทั่วไปในการฉีดเข็ม 3 ทางคณะกรรมการกำลังพิจารณาอยู่ ว่าจะมีการดำเนินการในการฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างไร
ผลวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิดสลับชนิด
มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ได้ทดสอบประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนสลับชนิด แอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยการทดสอบในระยะต้นพบว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิด กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการฉีดแอสตราเซนากาอย่างเดียว
ด้านนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ ในเยอรมนี ก็ได้ทดสอบประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนสลับชนิด แอสตราเซเนกา + ไฟเซอร์ เช่นกัน
พวกเขาพบว่า ผู้ที่ฉีดแอสตราเซเนกาเข็มแรก แล้วตามด้วยไฟเซอร์เข็มที่สอง สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน 2 โดส ทั้งแอสตราเซเนกา และไฟเซอร์
ในส่วนของผลวิจัยการฉีดวัคซีนสลับสูตรซิโนแวค + แอสตราเซเนกานั้น ผลการวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การฉีดวัคซีน 2 ชนิดนี้ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงพอที่จะครอบคลุมสายพันธุ์เดลต้า ช่วยลดความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิตได้
เชื้อไวรัสโคโรน่า SAR-COV-2 ยังคงมีการกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ซึ่งยากที่จะคาดเดาได้ว่า สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด แม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ทั้งแบบปกติและแบบสลับชนิด ก็ควรที่จะป้องกันตนเองตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- จองวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) ได้ที่ไหนบ้าง?
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
- วัคซีนโควิด 19 โควาซิน (Covaxin)
ที่มาของข้อมูล
ไทยรัฐออนไลน์, แนวทางฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซิโนแวคเข็ม 1 แอสตราฯ เข็ม 2 (https://www.thairath.co.th/news/local/2138561), 17 สิงหาคม 2564.
TNN Online, สธ.ย้ำ "ซิโนแวค+แอสตร้าฯ" ภูมิขึ้นสูงใกล้เคียงฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม (https://www.tnnthailand.com/news/covid19/85735/), 17 สิงหาคม 2564.
DW AKADEMIE, COVID: Are mix-and-match vaccines the way forward? (https://www.dw.com/en/mix-and-match-vaccines-biontech-astrazeneca-better-than-one-shot/a-57819127), 17 August 2021.
Pharmaceutical Technology, Covid-19 vaccine mixing: has AZ/Pfizer emerged as a winning combo? (https://www.pharmaceutical-technology.com/features/covid-19-vaccine-mixing-astrazeneca-pfizer/), 17 August 2021.
Reuters, Factbox: Countries weigh 'mix and match' COVID-19 vaccines (https://www.reuters.com/world/middle-east/countries-weigh-mix-match-covid-19-vaccines-2021-05-24/), 17 August 2021.
Reuters, Mixed AstraZeneca-Pfizer shot boosts COVID antibody level - study (https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/mixed-astrazeneca-pfizer-shot-boosts-covid-antibody-level-study-2021-07-26/), 17 August 2021.
World Health Organization (WHO), COVID-19 Vaccine (https://www.facebook.com/WHO/photos/a.167668209945237/4544890135556334/), 17 August 2021.