ก่อนฉีดวัคซีนโควิดต้องหยุดยาคุม หยุดยาไมเกรน ไหม?


ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-หยุดยาคุม-หยุดยาไมเกรน

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนว่า ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิดสามารถฉีดวัคซีนโควิดได้โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้ยา
  • หากผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิดยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด และต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนก่อนรับวัคซีน แนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ ทดแทน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์
  • สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทยระบุว่า จากข้อมูลในปัจจุบันจึงแนะนำเรื่องการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดการรับประทานยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน
  • หากผู้ป่วยไมเกรนยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรน หรือยาป้องกันไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และแนะนำการบรรเทาอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเร่งฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชนเพื่อหมายสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ก็มีข่าวเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดและยาไมเกรน หรือยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน

ข่าวที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนที่อยู่ในสองกลุ่มดังกล่าว เกิดความวิตกกังวลว่า หากฉีดวัคซีนโควิดไปแล้วตนเองจะเกิดอาการลิ่มเลือดอุดตัน หรือมีอาการทางระบบประสาทตามข่าว หรือข้อมูลที่เผยแพร่หรือไม่

หากต้องการฉีดวัคซีนโควิด แต่เป็นผู้ใช้ยาคุมกำเนิด ยาไมเกรน หรือยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน จำเป็นต้องหยุดยาคุม ยาไมเกรนไหม HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ยาคุม ที่ฉีดวัคซีนโควิดไหม?

จากที่มีข่าวว่า มีหญิงคนหนึ่งเสียชีวิตด้วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด หลังรับวัคซีนโควิดได้ 5 วัน โดยผู้ใกล้ชิดเผยว่า ผู้เสียชีวิตรับประทานยาคุมกำเนิดก่อนไปรับวัคซีนโควิด

จากนั้นจึงมีการเชื่อมโยงถึงผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดว่า สามารถเพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดดำอุดตันได้ ดังนั้นจึงควรหยุดรับประทานยาคุมกำเนิดก่อนการรับวัคซีนโควิด

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก “ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ” ก่อนว่าคืออะไร

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism: VTE) หมายถึง ภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจเป็นเส้นเลือดระดับตื้น หรือระดับลึกก็ได้ และอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียว หรือหลายตำแหน่งได้

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันมักเกิดที่ขาจัดเป็นภาวะอันตราย เนื่องจากลิ่มเลือดนั้นอาจหลุดไปตามกระแสเลือดและไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดดำในปอดซึ่งทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง

ส่วนความสัมพันธ์ของการใช้ยาคุมกำเนิดกับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำนั้น พบในผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ 

ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด และแผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด ยิ่งมีระดับฮฮร์โนเอสโตเจนสูงว่า 50 ไมโครกรัม ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

แต่สำหรับประเด็นที่ว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ยาคุมที่ฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่นั้น ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิดในผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนว่า 

จากข้อมูล ณ ปัจจุบันซึ่งรวบรวมจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในผู้หญิงทั่วโลก และในประเทศไทยซึ่งมีผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเป็นจำนวนมาก ไม่พบว่า มีความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันแต่อย่างไร

ฉีดวัคซีนโควิดต้องหยุดยาคุมไหม?

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนว่า ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิดสามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้ยา

เช่นเดียวกับการยืนยันจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิดยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด และต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนก่อนรับวัคซีน

แนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ ทดแทน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ แต่หากใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนในการรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน ภาวะถุงน้ำในรังไข่ 

กรณีเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนหยุดยา หรือขอคำแนะนำที่เหมาะสม เพราะหากหยุดยาเองอาจมีผลต่อการควบคุมโรคได้

อาการชา อาการอ่อนแรงเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ยาไมเกรนที่ฉีดวัคซีนโควิดไหม?

จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาทชั่วคราวตามมา

เช่น อาการชา อาการอ่อนแรง ทำให้ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนเกิดความวิตกกังวล ขณะเดียวกันก็มีคำแนะนำว่า ควรหยุดยาไมเกรนประมาณ 14 วันก่อนฉีดวัคซีนโควิด

คำแนะนำดังกล่าวยิ่งทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้วิตกกังวลยิ่งขึ้น เพราะหากต้องหยุดยาจริงๆ โรคนี้จะสร้างความทรมานให้ไม่น้อยทีเดียว

เนื่องจากโรคปวดศีรษะไมเกรน หรือโรคไมเกรน (Migranine) เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง โดยมักเป็นการปวดศีรษะข้างเดียวก่อน แล้วจึงเริ่มปวดครบทั้งสองข้าง บางรายอาจปวดพร้อมๆ กันทั้งสองข้างก็ได้ 

ลักษณะการปวดมักปวดตุบๆ เป็นระยะๆ และปวดได้นานหลายนาที บางรายอาจปวดเป็นชั่วโมง ไม่เพียงเท่านั้นขณะปวด ผู้ป่วยยังมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ความกังวลใจอีกอย่างของผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ การฉีดวัคซีนโควิดจะมีผลต่อผู้ใช้ยาไมเกรนหรือไม่

ล่าสุดสมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 และการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน ดังนี้

จากการรวบรวมกรณีศึกษาต่างๆ ยังไม่พบว่า มีความผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) และการตรวจหลอดเลือดในสมอง (MRA หรือ CTA) อย่างชัดเจน

สันนิษฐานว่า อาการชา อาการอ่อนแรงจากข้อมูลที่เผยแพร่ดังกล่าวนั้นเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากการฉีดวัคซีน ซึ่งสามารถเกิดได้กับวัคซีนทุกชนิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น จากนั้นอาการจะทุเลาลง

ฉีดวัคซีนโควิดต้องหยุดยาไมเกรนไหม?

สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ระบุว่า จากข้อมูลในปัจจุบันจึงแนะนำเรื่องการใช้ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนว่า ไม่จำเป็นต้องหยุดการรับประทานยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน

ยารักษาโรคปวดไมเกรน เช่น ยากลุ่ม acetaminophen ยากลุ่ม NSAIDs ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine และคาเฟอีน

หรือยาในกลุ่มทริปแทน หรือยาป้องกันไมเกรนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มยากันชัก เช่น Topiramate, Valproic acid ยาในกลุ่มยาต้านเศร้า เช่น Amitriptyline, Venlafaxine

ยาในกลุ่มต้านแคลเซียม เช่น Flunarizine ยาในกลุ่มต้านเบต้า เช่น Propranolol และยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่นๆ ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยไมเกรนยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดยาแก้ปวดไมเกรน หรือยาป้องกันไมเกรน ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษา เพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 และแนะนำการบรรเทาอาการของโรคปวดศีรษะไมเกรนที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี

อาการหลังฉีดวัคซีนโควิดแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคใด หรือใช้ยากลุ่มใดก็ตาม หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปที่สุขภาพแข็งแรงดี หลังฉีดวัคซีนโควิด หากมีอาการต่อไปนี้เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดศีรษะมาก แม้จะรับประทานยาแก้ปวดแต่อาการก็ไม่ทุเลา
  • มีอาการชา แขน ขาอ่อนแรง ตาพร่า ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ง่วงซึม
  • มีอาการชัก
  • หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก
  • ขาบวม
  • มีผื่นจ้ำเป็นเลือด
  • บริเวณที่ฉีดวัคซีนมีเลือดออก

ในช่วงฉีดวัคซีนโควิดอาจมีข่าว หรือการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่อ้างว่า สัมพันธ์กับวัคซีน โดยอาจยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ดังนั้นจึงควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล อย่าเชื่อ อย่าแชร์โดยปราศจากการตรวจสอบ

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 9 มิถุนายน 2564.

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน (file:///C:/Users/USER/Downloads/คู่มือ_วัคซีนสู้โควิด_(ฉบับประชาชน).pdf), 9 มิถุนายน 2564.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, ประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกัน (http://www.rtcog.or.th/home/ประกาศการฉีดวัคซีน-และก/5006/), 9 มิถุนายน 2564.

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ฉีดวัคซีนโควิด-19-ต้องเตร/), 9 มิถุนายน 2564.

สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน (http://www.neurothai.org/content.php?id=431), 9 มิถุนายน 2564.

@‌hdcoth line chat