HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยารักษาโควิด หรือยาต้านโควิด หรือยาต้านไวรัส แบบเม็ดสำหรับรับประทาน ที่คิดค้นขึ้นโดยความร่วมมือของบริษัท เมอร์ค (Merck) ประเทศเยอรมัน กับบริษัทริดจ์แบคไบโอเทอราพิวติกส์ (Ridge Biotherapeuthics) บริษัทด้านเภสัชกรรมรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
- ยาโมลนูพิราเวียร์มีกลไกการทำงานเด่นคือ มีประสิทธิภาพสามารถยับยั้ง หรือต้านเชื้อไวรัสก่อโรคหลายชนิดไม่ให้เข้าสู่เซลล์ในร่างกาย และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคCOVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์แกมมา สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์มิว
- ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถลดความรุนแรงของอาการโควิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ จึงช่วยลดโอกาสการเป็นผู้ป่วยหนักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือท่อหายใจ และช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตได้มากถึง 50%
- ยาโมลนูพิราเวียร์จะให้ผลดีในผู้ป่วยโควิดที่มาอาการน้อยถึงปานกลาง โดยต้องให้ยาเร็ว ภายใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
นับตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 2019 ด้วยความที่เป็นโรคอุบัติใหม่จึงยังไม่มียารักษาโควิด-19 โดยตรง หลายประเทศจึงพยายามใช้ยาที่มีอยู่เพื่อรักษาและบรรเทาอาการไปก่อน
ล่าสุดมีการคิดค้น “โมลนูพิราเวียร์” ซึ่งเป็นยารักษาโควิด หรือยาต้านโควิดโดยตรงได้สำเร็จ นับเป็นข่าวดีที่ชาวโลกรอคอยเพราะจะเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาโควิดได้
บทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปทำความรู้จัก ยารักษาโควิดโมลนูพิราเวียร์ว่า ยานี้คืออะไร? มีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง?
ยารักษาโควิดโมลนูพิราเวียร์ คืออะไร?
โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยารักษาโควิด หรือยาต้านโควิด หรือยาต้านไวรัส แบบเม็ดสำหรับรับประทาน ที่คิดค้นขึ้นโดยความร่วมมือของบริษัทเมอร์ค (Merck) ประเทศเยอรมัน กับ บริษัทริดจ์แบคไบโอเทอราพิวติกส์ (Ridge Biotherapeuthics) บริษัทด้านเภสัชกรรมรายใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ยาโมลนูพิราเวียร์มีกลไกการทำงานเด่นคือ มีประสิทธิภาพสามารถยับยั้ง หรือต้านเชื้อไวรัสก่อโรคหลายชนิดไม่ให้เข้าสู่เซลล์ในร่างกาย และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส
กลุ่มไวรัสที่สามารถยับยั้งได้ ได้แก่ ไวรัสอีโบลา (Ebola) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไวรัสไข้สมองอักเสบบางชนิด (Encephalitis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสโคโรน่าที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้หลายโรค
ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโคโรน่าก่อโรคโควิด 19 (COVID-19) สายพันธุ์ดั้งเดิม โควิดสายพันธุ์แกมมา โควิดสายพันธุ์เดลตา โควิดสายพันธุ์มิว เท่านั้น แต่ยังรวมทั้งโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome; SARS) และโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome; MERS) ด้วย
ยารักษาโควิดโมลนูพิราเวียร์ มีประสิทธิภาพอย่างไร?
จากการศึกษาและทดสอบครั้งที่ 1-2 ที่ผ่านมา พบว่า ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถลดความรุนแรงของอาการโควิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ
อาการเหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดต่ำลง ระดับออกซิเจนในเลือดเหลือน้อย เกิดภาวะออกซิเจนต่ำ จนนำไปสู่การเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด-19 ในที่สุด
ล่าสุดผลการศึกษาระยะ 3 (MOVe-OUT Trial) ในกลุ่มอาสาสมัครจากประเทศแถบละตินอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา จำนวน 775 คน โดยเน้นคนติดเชื้อที่ยังไม่ฉีดวัคซีน และกลุ่มที่มีความเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด เช่น ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคมะเร็ง
ผลการศึกษาพบว่า
- กลุ่มอาสาสมัครจำนวน 385 คน ที่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม ครั้งละ 4 เม็ด เช้า-เย็น รวมวันละ 1,600 มิลลิกรัม เป็นเวลาติดต่อกัน 5 วัน รวมทั้งสิ้น 40 เม็ด ในกลุ่มนี้ มีผู้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 7.3% แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
- กลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ จำนวน -377 คน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากถึง 14.1% และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 8 คน
ผลการศึกษาเท่ากับว่า ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถลดโอกาสการเป็นผู้ป่วยหนักต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือท่อหายใจ และช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตได้มากถึง 50%
นอกจากนี้ยังมีการขยายผลว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ยังสามารถลดการแพร่เชื้อได้ หากได้รับยานี้จำนวน 400 -800 มิลลิกรัม เช้า-เย็น ภายใน 5 วัน หลังเริ่มมีอาการป่วยโควิด
อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิตมีการการทดลองใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนัก แต่พบว่า "ไม่ได้ผล" จึงได้เลิกการวิจัยในกลุ่มนี้ไป
ยารักษาโควิดโมลนูพิราเวียร์ เหมาะกับใคร?
- ผู้ป่วยโควิดอาการน้อยและอาการปานกลาง
- ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ สูงอายุ และกลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง
- ผู้ที่อาจจะมีข้อจำกัดในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
- ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระดับภูมิคุ้มกันหลังจากได้รับวัคซีนโควิด เช่น ระดับภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นน้อยมาก
ปัจจุบันบริษัทเมอร์คกำลังยื่นขอการรับรองโมลนูพิราเวียร์จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration; FDA) ให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว
หากได้รับการอนุมัติ โมลนูพิราเวียร์จะเป็นยาต้านโควิดชนิดเม็ดตัวแรกที่ได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกา ไม่เพียงเท่านั้นแพทย์และนักวิจัยหลายท่านยังยกให้โมนูพิราเวียร์เป็นยาต้านไวรัสโควิดชนิดแรกของโลกที่จะเป็น “จุดเปลี่ยนสำคัญ” ในการต่อสู้กับโควิด-19 ต่อไป
ยารักษาโควิดโมลนูพิราเวียร์แตกต่างกับฟาวิพิราเวียร์อย่างไร?
แม้ว่ายาโมลนูพิราเวียร์จะมีกลไกการทำงานเช่นเดียวกับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) คือ การยับยั้ง หรือต้านเชื้อไวรัสก่อโรคได้ แต่จุดเด่นของยาโมลนูพิราเวียร์นั้นคือ สามารถยับยั้งไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้โดยตรง และสามรรถยับยั้งได้หลากหลายสายพันธุ์
ทั้งนี้จากการทดลองพบว่า ยาโมลนูพิราเวียร์จะให้ผลดีในผู้ป่วยโควิดที่มาอาการน้อยถึงปานกลาง โดยต้องให้ยาเร็ว ภายใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ที่ไทยเราใช้รักษาอาการป่วยโควิด-19 ตั้งแต่การแพร่ระบาดระลอกแรกๆ จนถึงในขณะนี้ ไม่ใช่ยารักษาโควิดโดยตรงแต่เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้กับไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากเป็นยาที่มีฤทธิ์ต่อต้านอาร์เอ็นเอไวรัสหลายชนิด
นอกจากนี้ยังเป็นยาที่มีความปลอดภัย สามารถลดความรุนแรงของโรค และลดโอกาสการเสียชีวิตจาก COVID-19 ได้
สำหรับการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ จะให้เริ่มยาในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน รวมถึงผู้มีภาวะอ้วน หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขกำลังให้ความสนใจยาโมลนูพิราเวียร์เป็นอย่างมาก และหากผ่านการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) แล้ว ประเทศไทยจะดำเนินการสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 2 แสนคอร์ส (20 ตุลาคม 2564) ด้วยกัน
กรมการแพทย์คาดการณ์ว่า สำหรับประเทศไทยจะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในกลุ่มผู้ป่วยอาการน้อย อาการปานกลาง ส่วนเรื่อวสัดส่วนการจ่ายยา ผู้ป่วย 1 คนจะ ใช้ยาจำนวน 40 เม็ด รับประทานวันละ 8 เม็ด นาน 5 วัน
ทั้งนี้ต้องรอติดตามผลการอนุมัติต่างๆ ตามกระบวนการต่อไป หากไม่มีอะไรผิดพลาด ประเทศไทยน่าจะได้รับยาโมลนูพิราเวียร์อย่างเร็วที่สุดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนมกราคม 2565 ซึ่งนั่นน่าจะทำให้สามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยโควิดในประเทศไทยไว้ได้มากขึ้น
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
เภสัชกรหญิงนันทพร เล็กพิทยา และเภสัชกรภิฏฐา สุรพัฒน์ งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, รู้จักกับ “ยาฟาวิพิราเวียร์” (https://med.mahidol.ac.th/atrama/issue041/rama-rdu), 22 ตุลาคม 2564.
Cassandra Willyard, How antiviral pill molnupiravir shot ahead in the COVID drug hunt (https://www.nature.com/articles/d41586-021-02783-1), 22 October 2021.
Derek Lowe, Molnupiravir Mutations (https://www.science.org/content/blog-post/molnupiravir-mutations), 22 October 2021.
Johns Hopkins, Molnupiravir: The Game-Changing Antiviral Pill for COVID-19? (https://publichealth.jhu.edu/2021/molnupiravir-the-game-changing-antiviral-pill-for-covid-19), 22 October 2021.
Merck, Merck and Ridgeback’s Investigational Oral Antiviral Molnupiravir Reduced the Risk of Hospitalization or Death by Approximately 50 Percent Compared to Placebo for Patients with Mild or Moderate COVID-19 in Positive Interim Analysis of Phase 3 Study (https://www.merck.com/news/merck-and-ridgebacks-investigational-oral-antiviral-molnupiravir-reduced-the-risk-of-hospitalization-or-death-by-approximately-50-percent-compared-to-placebo-for-patients-with-mild-or-moderat/), 22 October 2021.