ตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน มีกี่แบบ อะไรบ้าง?


ตรวจภูมิโควิด-โควิด19-COVID19

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid19 Antibody Level Test) หรือการตรวจหาภูมิต้านทานแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 
  • ประเภทที่ 1 ได้แก่ การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองที่มีต่อโปรตีนหนาม (Spike protein) ที่ไวรัสใช้จับกับตัวรับบนเซลล์ของร่างกาย (ฺBlinding Antibody) ประเภทที่ 2 การตรวจภูมิต้านทาน (Neutralization Antibody) ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2)
  • ภูมิตอบสนอง มี 2 ชนิด ได้แก่ IgM (IgM antibody) หมายถึง ภูมิคุ้มกันระยะสั้น ตรวจพบได้ในสัปดาห์ที่ 2-6 หลังการติดเชื้อ และ IgG (IgG antibody) หมายถึง ภูมิคุ้มกันระยะยาว ซึ่งสามารถตรวจพบได้หลังการติดเชื้อที่นานกว่า 6 สัปดาห
  • การตรวจหาภูมิต้านทานแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่หายจากอาการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว และวางแผนเตรียมฉีดวัคซีนโควิด-19 ผู้ที่ต้องการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด-19
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจภูมิโควิด หรือแอดไลน์ @hdcoth  @hdmall.support

หลังรัฐมีนโยบายฉีดวัคซีนโควิด หรือวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชนในประเทศให้ได้มากที่สุด แต่ประชาชนบางส่วนก็ยังไม่แน่ใจว่า หลังได้รับวัคซีนโควิดไปแล้ว ระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนจะเป็นอย่างไร

สิ่งนี้ทำให้หลายคนสนใจตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน หรือตรวจภูมิโควิด

ปัจจุบันมีเทคนิคการตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีนกี่แบบ แต่ละแบบให้ผลอย่างไรบ้าง บทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ

ตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดคืออะไร?

การตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid19 Antibody Level Test) หรือการตรวจหาภูมิต้านทานแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ที่เราเรียกกันทั่วไปนั้น แท้จริงแล้วแบ่งออกเป็น 2 ประเภทสำคัญ ดังนี้

  • การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองที่มีต่อโปรตีนหนาม (Spike protein) ที่ไวรัสใช้จับกับตัวรับบนเซลล์ของร่างกาย (ฺBlinding Antibody)
  • การตรวจภูมิต้านทาน (Neutralization Antibody) ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2)

ทั้งสองประเภทมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

แบบที่ 1 การตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองที่มีต่อโปรตีนหนาม (Spike protein) ที่ไวรัสใช้จับกับตัวรับบนเซลล์ของร่างกาย (ฺBlinding Antibody)

การตรวจภูมิตอบสนองมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิด IgM (IgM antibody) หมายถึง ภูมิคุ้มกันระยะสั้น ตรวจพบได้ในสัปดาห์ที่ 2-6 หลังการติดเชื้อ และการตรวจวัดระดับภูมิตอบสนองชนิด IgG (IgG antibody) หมายถึง ภูมิคุ้มกันระยะยาว ซึ่งสามารถตรวจพบได้หลังการติดเชื้อที่นานกว่า 6 สัปดาห์

ทั้งนี้การตรวจแอนติบอดีประเภทนี้คือ การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโคโรน่าไวรัสที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังจากติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีนโควิดแล้ว แต่การตรวจแอนติบอดีประเภทนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่า ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้จะสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดได้หรือไม่ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไป

แบบที่ 2 การตรวจภูมิต้านทาน (Neutralization Antibody) ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2)

การตรวจประเภทนี้จำเป็นต้องตรวจในโรงพยาบาลที่มีห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 เท่านั้น เนื่องจากต้องมีเชื้อโคโรน่าไวรัส หรือมีไวรัสจำลองคล้ายไวรัสโคโรน่า (pVNT) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทดสอบว่า แอนติบอดีที่พบในร่างกายทำลายไวรัสโคโรน่าได้มากน้อยแค่ไหน

การตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิด เหมาะกับใคร?

เดิมทีนั้นการตรวจประเภท Blinding Antibody และ Neutralization Antibody เป็นการตรวจติดตามผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว เพื่อดูระดับภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวิจัยวัคซีนโควิด หรือวางแผนการรักษาต่อไป

แต่ในปัจจุบันการตรวจหาภูมิต้านทานแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ทั้งสองประเภทมีการตรวจเพื่อจุดประสงค์ที่หลากหลายมากขึ้น ดังนี้

  • ผู้ต้องการตรวจว่า ตนเองเคยติดเชื้อโควิดมาก่อนหรือไม่ กรณีที่เคยผ่านการติดเชื้อมาแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ สามารถเข้ารับการวัดระดับภูมิคุ้มกันได้ หรือตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดสำหรับผู้ที่มีความสงสัยว่า ตนเองเคยติดเชื้อไวรัสโควิดมาก่อนแต่ไม่มีอาการ
  • ผู้ที่กำลังเตรียมเข้ารับการรักษาโรคประจำตัว
  • ผู้ที่กำลังเตรียมตัวรับวัคซีนโควิดเข็มแรก ที่เคยมีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคปอดในลักษณะอาการที่ต้องสงสัยว่า เป็นโควิดมาก่อน อาจเลือกตรวจภูมิคุ้มกันโควิด เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
  • ผู้ป่วยที่หายจากอาการติดเชื้อโควิดแล้ว
  • ผู้ป่วยที่หายจากอาการติดเชื้อโควิดแล้ว และวางแผนเตรียมฉีดวัคซีนโควิด
  • ผู้ที่ต้องการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด
  • ผู้เข้ารับวัคซีนโควิดครบ 2 เข็มแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 14-28 วัน แต่ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็น Booster Dose
  • ผู้ที่ต้องการทราบความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อเชื้อโคโรนาไวรัส 2019

การตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน มีกี่แบบ อะไรบ้าง?

การตรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิดหลังการฉีดวัคซีนปัจจุบันมี 3 แบบดังนี้

แบบที่ 1 การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสหลังฉีดวัคซีนแบบ Rapid Antibody Level Test
เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาระดับภูมิต้านทานเชื้อ SARS-CoV-2 เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชิงคุณภาพชนิด IgM และ IgG
การรายงานผล: รายงานผลเป็น 2 ค่า คือ Positive - พบภูมิคุ้มกัน และ Negative - ไม่พบภูมิคุ้มกัน
ระยะเวลารอผล: แปลผลได้รวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือเคยมีการติดเชื้อโควิด-19

แบบที่ 2 การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสหลังฉีดวัคซีนแบบ Quantitative ด้วยวิธี CMIA
เป็นการตรวจหาเชิงปริมาณ (Quantitative) ของภูมิคุ้มกันชนิด IgG ต่อ RBD บนโปรตีนหนามของไวรัส (Spike (S) Protein) ด้วยหลักการ Chemiluminescent Microparticle immunoassay (CMIA)
การรายงานผล: รายงานผลด้วยการแสดงค่าในหน่วย U/ml ว่า ร่างกายมีปริมาณภูมิคุ้มกันเท่าไร
หากปริมาณ IgG ≥ 1.0 U/ml แปลว่า Positive - มีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามของไวรัส อาจเนื่องจากร่างกายเคยติดเชื้อ หรือได้รับวัคซีน
หากปริมาณ IgG ≤ 1.0 U/ml แปลว่า Negative - ยังไม่มีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน อาจเนื่องจากยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน หรือร่างกายยังไม่มีการสร้างภูมิตอบสนองต่อโปรตีนหนามของไวรัส
ระยะเวลารอผล: ใช้เวลาประมาณ 60 นาที
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือเคยมีการติดเชื้อโควิด-19

แบบที่ 3 การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสหลังฉีดวัคซีนแบบ Neutralizing Antibody ด้วยวิธี Indirect ELISA Test หรือ ELISA
เป็นการตรวจระดับภูมิคุ้มกันในเชิงคุณภาพด้วยหลักการ Enzyme Link Immunosorbent Assay (ELISA) เพื่อดูว่า มี หรือไม่มีแอนติบอดีที่จำเพาะต่อ RBD (Anti-RBD) ของเชื้อไวรัสโคโรนา
ปัจจุบันเป็นการตรวจที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากมีมาตรฐาน มีความแม่นยำ และมีความไวสูง
การรายงานผล: รายงานผลเป็น 2 ค่า ว่า ในร่างกายของเรามีภูมิชนิด Anti-RBD หรือไม่มีภูมิชนิด Anti-RBD 
ระยะเวลารอผล: ประมาณ 24-36 ชั่วโมง
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว หรือเคยมีการติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว 1 เดือน และสามารถใช้ตรวจติดตามการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้

แบบที่ 4 การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสหลังฉีดวัคซีนแบบ Plaque Reduction Neutralizing Test (PRNT)
เป็นการเจาะเลือดแล้วนำเข้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 เท่านั้น เนื่องจากวิธี PRNT ต้องนำเลือดมาปั่นแยกซีรั่มออกแล้วทำการเพาะเชื้อทดสอบกับเชื้อไวรัสโคโรนา หรือไวรัสที่จำลองขึ้นมาให้คล้ายกับไวรัสโควิด (pVNT)
การรายงานผล: การทดสอบจะเริ่มจากหยอดซีรั่มความเข้มข้นสูงและลดความเข้มข้นลงเรื่อยๆ เพื่อดูว่า ภูมิคุ้มกันที่มีสามารถทำลาย หรือยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาได้สูงสุดเท่าไหร่ เมื่อเทียบจำนวนกับไวรัสควบคุม
ระยะเวลารอผล: ประมาณ 7 วัน
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว หรือเคยมีการติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว 1 เดือน และสามารถใช้ตรวจติดตามการติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้

อย่างไรก็ตาม แพทย์และนักวิชาการบางท่านไม่สนับสนุนให้ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid19 Antibody Level Test) หรือการตรวจหาภูมิต้านทานแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 

เนื่องจากมองว่า การอ่านค่าของแต่ละหน่วยภูมิคุ้มกันนั้นอาจจำเพาะเจาะจงกับไวรัสโคโรนาบางสายพันธุ์เท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ และอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคนทั่วไป

แต่หากมีความต้องการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันเพื่อความสบายใจ หรือเพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนโควิด หรือเพื่อวางแผนการรักษาโรคประจำตัวต่อไปก็สามารถทำได้เช่นกันด้วยการเลือกรูปแบบการตรวจที่ตรงตามความต้องการที่สุด

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจภูมิโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, การตรวจวัดภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/การตรวจวัดภูมิต้านทานห/), 6 ตุลาคม 2564.

CDC, Antibody Testing Interim Guidelines Interim Guidelines for COVID-19 Antibody Testing in Clinical and Public Health Settings (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/lab/resources/antibody-tests-guidelines.html), 6 October 2021.

FDA, Antibody (Serology) Testing for COVID-19: Information for Patients and Consumers (https://www.fda.gov/medical-devices/coronavirus-covid-19-and-medical-devices/antibody-serology-testing-covid-19-information-patients-and-consumers), 6 October 2021..

Mayo Clinic, COVID-19 antibody testing (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/covid-19-antibody-testing/about/pac-20489696), 6 October 2021.

@‌hdcoth line chat