คนท้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม และมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร ?


คนท้อง-ฉีดวัคซีนโควิด-คนท้องวัคซีนโควิด

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • หากคนท้อง หรือหญิงตั้งครรภ์ ติดเชื้อโควิด-19 จะมีการดำเนินโรคที่เร็วและมีอาการรุนแรงเช่นเดียวกับผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ยิ่งหากติดเชื้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ด้วยแล้ว หรือเป็นผู้มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ ได้แก่ ตั้งครรภ์ขณะอายุมาก เป็นโรคอ้วน มีโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • หญิงที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์อย่างน้อย 12 สัปดาห์ขึ้นไป หรือ 3 เดือนขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ แม้ปัจจุบันข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนยังมีจำกัด แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์
  • ก่อนฉีดวัคซีน หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ดูแลก่อน รวมทั้งต้องเป็นผู้ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เช่น ไม่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้องแจ้งแพทย์ที่ดูแลก่อน
  • หากสงสัยว่า ตนเองอาจติดเชื้อโควิด-19 หญิงตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี Rapid Antigen Test และ RT-PCR ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อครรภ์แต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีการใช้ยา หรือสารเคมีผ่านเข้าสู่ร่างกายแต่อย่างใด ยิ่งตรวจหาเชื้อได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสเข้ารับการรักษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นๆ ในแทบทุกกลุ่มอายุและกลุ่มเปราะบางทั้ง 7 กลุ่ม ซึ่งปัจจุบันได้นับรวมคนท้อง หรือหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่ 8 ด้วย

ดังล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขมีรายงานว่า ประเทศไทยมีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อแล้วกว่า 581 ราย เสียชีวิต 9 ราย ทารกติดเชื้อ 40 รายและเสียชีวิตแล้ว 4 ราย

ตัวเลขเหล่านี้ทำให้หน่วยงานสาธารณสุขต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้กลุ่มคนท้องเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบคำถามที่น่าจะเป็นข้อกังวลใจของคนท้องจำนวนไม่น้อย อย่างคนท้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม? คนท้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ไหม? HDmall.co.th จะเล่าให้ฟัง


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม?
  • มีคำแนะนำอะไรบ้าง? ในการฉีดวัคซีนโควิดให้คนท้อง
  • คนท้องดูแลตัวเองอย่างไร? ในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด
  • คนท้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ไหม?

  • คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม?

    คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม? เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เนื่องจากรายงานของหน่วยงานสาธารณสุขหลายประเทศมีความสอดคล้องกันว่า หากคนท้อง หรือหญิงตั้งครรภ์ ติดเชื้อโควิด-19 จะมีการดำเนินโรคที่เร็วและมีอาการรุนแรงเช่นเดียวกับผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง

    ยิ่งหากติดเชื้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ด้วยแล้ว หรือเป็นผู้มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ ได้แก่ ตั้งครรภ์ขณะอายุมาก (อายุ 35 ปีขึ้นไป) เป็นโรคอ้วน มีโรคเรื้อรังเป็นโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีภาวะครรภ์เป็นพิษ

    อาการป่วยก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทารกที่เกิดมานั้นยังมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ตามแม่ไปด้วย

    เช็กราคาตรวจโควิด

    ในส่วนกระบวนการรักษาคนท้องก็มีความยากลำบากกว่าคนทั่วไป

    • ประการแรก ด้วยท้องที่ใหญ่ทำให้ไม่สามารถนอนคว่ำได้ ทั้งที่การนอนคว่ำเป็นท่าที่เหมาะสม เพื่อให้ปอดทำงานได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก 2 ใน 3 ของปอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย
    • ประการที่สอง ความเปราะบางของสุขภาพแม่และทารกในครรภ์ ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อสุขภาพ หรือการเจริญเติบโตทารกในครรภ์ได้

    ดังนั้นการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19 ตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวมทั้ง “การได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในคนท้อง” ก็เป็นอีกทางรอดที่สำคัญ

    วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อ หรือลดความรุนแรงของการ หากได้รับเชื้อในอนาคต แต่หลังฉีดวัคซีนแล้ว ร่างกายจะใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ไม่ใช่ว่าหลังฉีดวัคซีนเสร็จจะเกิดภูมิคุ้มกันขึ้นทันที

    มีคำแนะนำอะไรบ้าง? ในการฉีดวัคซีนโควิดให้คนท้อง

    ด้วยโรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ก็เป็นสิ่งที่บริษัทผลิตยาและวัคซีนชั้นนำในหลายประเทศเร่งคิดค้นพัฒนาขึ้นจนสำเร็จ และอนุมัติใช้วัคซีนดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ชะลอความรุนแรงของอาการ และลดโอกาสการเสียชีวิตเมื่อได้รับเชื้อแล้ว

    หลายคนจึงอาจมีความกังวลในประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด

    อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control and Prevention; CDC) และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ต่างระบุชัดเจนว่า

    "หญิงที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์อย่างน้อย 12 สัปดาห์ขึ้นไป หรือ 3 เดือนขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ แม้ปัจจุบันข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนยังมีจำกัด แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์"

    อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ดูแลก่อน รวมทั้งต้องเป็นผู้ไม่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เช่น

    • มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน
    • มีอาการแพ้วัคซีนโควิดอย่างรุนแรงจากการฉีดครั้งแรก
    • หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้องแจ้งแพทย์ที่ดูแลก่อน
    • สุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ ในวันฉีดวัคซีน

    อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนโควิดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ยกเว้นมีความจำเป็น การฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรห่างจากการฉีดวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์ ส่วนการฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลัง

    นอกจากนี้คุณแม่หลังคลอดที่อยู่ระหว่างให้นมบุตรก็สามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้เช่นเดียวกัน

    เช็กราคาตรวจโควิด

    คนท้องดูแลตัวเองอย่างไร? ในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด

    แม้จะอยู่ระหว่างการรับวัคซีนโควิดให้ครบโดส หรือได้รับวัคซีนโควิดครบโดสที่กำหนดแล้ว แต่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนก็ยังมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดได้ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มการดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้

    • หากสงสัยว่า จะตั้งครรภ์ให้รีบไปตรวจครรภ์ยืนยันผลให้เร็วที่สุด และเข้ารับการฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามที่แพทย์ผู้ดูแลแนะนำ
    • รักษาระยะห่างทางสังคม แม้กระทั่งกับคนในครอบครัว
    • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากที่พัก และสวมหน้ากากผ้าตลอดเวลาเท่าที่ทำได้ แม้กระทั่งขณะอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว
    • หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ชุมชน หรือมีคนจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ
    • หมั่นล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธีด้วยสบู่ น้ำยาสำหรับล้างมือ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 70% ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งก่อนใส่-ถอดหน้ากากอนามัย และหลังถอดหน้ากากอนามัย
    • ระมัดระวังการสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูก และปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
    • หากไอ หรือจามควรใช้กระดาษทิชชูปิดปากและจมูก แต่หากหาไม่ทันควรไอ หรือจามหันออกไปทางด้านข้างของลำตัวแทน
    • หมั่นทำความสะอาดที่พัก พื้นผิวสัมผัสต่างๆ ที่ใช้งานเป็นประจำด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ
    • หากมีอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก พยายามรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองเท่าที่ทำได้ แต่หากอาการรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์
    • พยายามเสพข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อลดความวิตกกังวล อันจะนำมาซึ่งความเครียดได้

    นอกจากนี้แล้วคนท้องยังต้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลครรภ์อย่างเคร่งครัด

    • ไปตรวจครรภ์ทุกครั้งที่แพทย์ผู้ดูแลนัด สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่มีโรคประจำตัว ในช่วงที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาดรุนแรงอาจโทรปรึกษาแพทย์เพื่อขอเว้นระยะเวลาการไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล โดยให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
    • ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวังอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปคลินิก หรือโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ
    • พักผ่อนให้เพียงพอ
    • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ถูกหลักอนามัย
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลาย เน้นผักสด ผลไม้สด
    • รับประทานอาหารที่แนะนำสำหรับการตั้งครรภ์
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสจัด 
    • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดดทุกนิด
    • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
    • ระมัดระวังการใช้ยาทุกชนิด หากจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนทุกครั้ง

    คนท้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ไหม?

    หากหญิงตั้งครรภ์ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 หรือเดินทางไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด หรือเป็นผู้มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ เช่น มีโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการป่วยเข้าข่ายอาการโรคโควิด-19 เช่น ไข้สูง ไอแห้ง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ตาแดง ท้องเสีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือเท้าเปลี่ยนสี ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ทันที ด้วยวิธี Rapid Antigen Test และ RT-PCR

    ทั้งนี้วิธี Rapid Antigen Test และ RT-PCR ไม่เป็นอันตรายต่อครรภ์แต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีการใช้ยา หรือสารเคมีผ่านเข้าสู่ร่างกายแต่อย่างใด

    เนื่องจากการตรวจพบการติดเชื้อไวจะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการรักษาได้เร็ว ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้และช่วยให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ปลอดภัยมากที่สุด

    เช็กราคาตรวจโควิด

    สิ่งสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรทำคือ เมื่อทราบว่า ตนเองติดโควิด-19 อย่าตกใจ เสียใจ วิตกกังวลไปต่างๆ นานาถึงเรื่องอาการของโรค ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ แต่แนะนำให้รีบตั้งสติ แจ้งสามี ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิด และติดต่อควรเข้ารับการรักษาในระบบสาธารณสุขโดยเร็วที่สุด

    ปัจจุบันมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดให้บริการข้อมูลข่าวสารทางไลน์ @thaibf โดยมีแพทย์และพยาบาลอาสาร่วมกันทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และหลังคลอด

    หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

    รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • Andrew Satin and Jeanne Sheffield, M.D., The COVID-19 Vaccine and Pregnancy: What You Need to Know (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/the-covid19-vaccine-and-pregnancy-what-you-need-to-know), , 29 July 2021.
    • CDC, Pregnant People, At increased risk for severe illness from COVID-19 (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/pregnant-people.html), 29 July 2021.
    • WHO, Coronavirus disease (COVID-19): Pregnancy and childbirth (https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19-pregnancy-and-childbirth#), 29 July 2021.
    @‌hdcoth line chat