HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- หากคู่รักตั้งใจ หรือวางแผนจะมีลูกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการมีลูกออกไป เพียงแต่จำเป็นต้องศึกษา หรือขอคำแนะนำ เพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย และคลอดลูกน้อยออกมาอย่างปลอดภัยจะดีที่สุด
- แม้จะไม่พบหลักฐานว่า มีเชื้อโควิด-19 ปะปนมาในน้ำหล่อลื่นช่องคลอด แต่ในบางประเทศมีการค้นพบเชื้อไวรัสในน้ำอสุจิของผู้ชายที่แม้จะหายป่วยโควิดอยู่ในระยะพักฟื้น ดังนั้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK หรือ ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR
- หญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนเข็มแรกหลังอายุครรภ์ 3 เดือน (หรือ 12 สัปดาห์) ขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนโควิดเร็วที่สุดทั้งนี้เพื่อลดความรุนแรงและความสูญเสียจากโควิด-19
- วัคซีนทุกชนิดและทุกยี่ห้อมีผลลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิต และสามารถฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิดต่างยี่ห้อได้ (Mix and Match) และยังสามารถฉีดวัคซีนได้ในช่วงการให้น้ำนมบุตร
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdmall.support
ผลพวงหลังโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้หลายคนต้องสูญเสียคนที่รักไปอย่างไม่มีวันกลับแล้ว โควิด-19 ยังผลักดันให้ทุกคนก้าวเข้าสู่ “ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New normal” เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างจากโควิด-19
อย่างที่เคยได้ยินกันมาว่า คนท้อง หรือหญิงตั้งครรภ์จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มเปราะบาง ที่หากติดเชื้อโควิดจะเสี่ยงมีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ทั้งมารดาและทารกในครรภ์
ดังนั้นไม่ว่าคุณกำลังจะวางแผนตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์อยู่แล้ว มี 7 เรื่องใดที่ควรต้องรู้ในยุค New normal นี้บ้าง HDmall.co.th จะพาไปดู
เรื่องที่ 1 หากวางแผนมีลูกในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด จำเป็นต้องเลื่อนไปก่อนหรือไม่
การมีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจคู่รักนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ความพร้อมของคนทั้งคู้” ทั้งในเรื่องความสมัครใจ หน้าที่การงาน สภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว และวัย
เนื่องจากลูกจะเป็นภาระผูกพันทั้งสองฝ่ายไปตลอด ต้องช่วยกันดูแล จึงไม่สามารถยกเลิกบทบาทการเป็นพ่อเป็นแม่ได้ง่ายๆ
ดังนั้นหากคู่รักตั้งใจ หรือวางแผนจะมีลูกแต่กลับมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการมีลูกออกไป เพียงแต่จำเป็นต้องศึกษา หรือขอคำแนะนำ เพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย และคลอดลูกน้อยออกมาอย่างปลอดภัยจะดีที่สุด
เรื่องที่ 2 จะมีเพศสัมพันธ์อย่างไร ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19?
โควิด-19 เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นสัมผัสไวรัสจากน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ส่วนการปัสสาวะและอุจจาระพบเชื้อบ้างเป็นส่วนน้อย
แม้จะไม่พบหลักฐานว่า มีเชื้อโควิด-19 ปะปนมาในน้ำหล่อลื่นของช่องคลอด แต่ในบางประเทศมีการค้นพบเชื้อไวรัสในน้ำอสุจิของผู้ชายที่แม้จะหายป่วยโควิดอแล้วแต่ยังอยู่ในระยะพักฟื้น
ดังนั้นหากต้องการมีลูกและต้องการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 หน่วยงานสาธารณสุขมีคำแนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยดังนี้
- ทั้งสองฝ่ายควรตรวจหาโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK หรือ ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเพื่อความมั่นใจ
- ล้างมือ อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ ทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์
- สวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก
- เว้นการจูบปาก การทำออรัลเซ็กส์ หรือมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในท่าทางที่หันหน้าเข้าหากัน ป้องกันการสัมผัสแบบใกล้ชิดบริเวณใบหน้า ช่วยลดการสัมผัสกับน้ำลาย หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ ระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- ใช้เวลาอยู่ร่วมกันให้น้อยที่สุด
- ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้าขาว เช็ด หรือทำความสะอาดบริเวณที่นอน หรือพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเพศ ทุกครั้ง
เรื่องที่ 3 หากตั้งครรภ์แล้ว สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไหม?
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีประกาศรณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เร็วที่สุด
เนื่องจากตามสถิติหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 50-60% จากสภาวะปกติ อีกทั้งหากหญิงตั้งครรภ์ติเชื้อโควิด-19 จะมีอาการรุนแรง ส่งผลให้ทารกมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดและเสียชีวิตพร้อมมารดา หรือเสียชีวิตหลังคลอด
บางรายยังเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากมารดาโดยตรง หรือติดเชื้อจากการสัมผัสหลังคลอดได้
ส่วนตัวมารดาเองยังมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1.85 ซึ่งสูงเป็น 2.5 เท่าของคนทั่วไป และอาการป่วยโควิดยังกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์หลายภูมิภาคทั่วโลกในขณะนี้
ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิดจึงเป็นวิธีสำคัญช่วยป้องกันไม่ให้หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 ได้ หรือช่วยลดความรุนแรงของอาการลง หากมีการติดเชื้อขึ้นมา
เรื่องที่ 4 หญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อไหร่?
หญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนเข็มแรกหลังอายุครรภ์ 3 เดือน (หรือ 12 สัปดาห์) ขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนโควิดเร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดความรุนแรงและความสูญเสียจากโควิด-19
หญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสติดเชื้อสูง ได้แก่
- บุคลากรทางการแพทย์ หรือทำงานใกล้ชิดผู้ผ่วยโควิด
- ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงซึ่งมีการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะอ้วน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้มีภาวะเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ
นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว กระทรวงสาธารณสุขยังเชิญชวนให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วย การจะเลือกฉีดวัคซีนชนิดใดก่อนก็ได้แต่ต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 สัปดาห์
หญิงตั้งครรภ์ยังสามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ได้
ไม่เพียงเท่านั้นหญิงตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่หน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมฯ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ส่วนหญิงหลังคลอด หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ อย่างปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การดูแลเรื่องการฝากครรภ์ก่อนตัดสินใจเข้ารับวัคซีน
เรื่องที่ 5 วัคซีนโควิด-19 ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์หรือไม่?
ข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 พบว่า วัคซีนทุกชนิดมีความปลอดภัยทั้งต่อแม่และลูก ในระดับที่นานาชาติรับรองในสถานการณ์พิเศษ วัคซีนในแม่สามารถส่งต่อภูมิคุ้มกันโรคให้ลูกได้ด้วย
วัคซีนทุกชนิดและทุกยี่ห้อมีผลลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิต และสามารถฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิดต่างยี่ห้อได้ (Mix and Match) และยังสามารถฉีดวัคซีนได้ในช่วงการให้น้ำนมบุตร
เรื่องที่ 6 มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไหม?
มีข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง หรือมีอาการแพ้รุนแรงหลังฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 1
นอกจากนี้ยังไม่แนะนำให้ในหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการไม่คงที่ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคระบบประสาทรุนแรง เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด หากยังไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เจ้าของไข้
เรื่องที่ 7 การป้องกันโควิด-19 ในคุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร?
การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ให้ปฏิบัติเหมือนคนทั่วไปตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุข ดังนี้
- หญิงตั้งครรภ์ต้องรักษาสุขภาพ และใช้ความอย่างระมัดระวังมากกว่าการตั้งครรภ์ในสถานการณ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น ล่าสุดมีมาตรการให้หญิงตั้งครรภ์ทำงานที่บ้าน (Work from home) 100%
- สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
- รักษาระยะห่างทางสังคม
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก
- หลังหยิบจับสิ่งของต่างๆ ให้ล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 75%
- ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สดสะอาด และหาเป็นไปได้ควรประกอบอาหารเองในครัวเรือน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายตามหลักโภชนาการ
- กรณีที่บ้านมีสมาชิกหลายคน ควรงดรับประทานอาหารร่วมกัน
- ไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม แก้วน้ำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น อาการบวม ลูกดิ้นน้อยลง มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ น้ำเดิน หากพบอาการผิดปกติดังกล่าว ให้รีบประสานโรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่รับฝากครรภ์ เพื่อเข้ารับการตรวจโดยเร่งด่วน
ตั้งครรภ์อย่างมั่นใจและปลอดภัยในช่วงโควิด-19 เพียงแค่ปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ และดูแลตนเองตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ารับวัคซีนโควิดตามช่วงเวลาที่แพทย์ผู้ดูแลแนะนำ
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
Andrew Satin and Jeanne Sheffield, M.D.,The COVID-19 Vaccine and Pregnancy: What You Need to Know (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/the-covid19-vaccine-and-pregnancy-what-you-need-to-know), 22 October 2021.
CDC, Pregnancy or Breastfeeding (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/recommendations/pregnancy.html), 22 October 2021.
WHO, Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-(covid-19)-vaccines?adgroupsurvey={adgroupsurvey}&gclid=CjwKCAjwwsmLBhACEiwANqtXCGD8ugQPsLHJDkQVYX1cQTcCkuZhOF3P0DAE1ckPZccRusm7UKnxxoCzCUQAvD_BwE), 22 October 2021.