ผ่าตัดเหงื่อออกมือ
ผ่าตัดเหงื่อออกมือ เป็นวิธีรักษาเดียวที่เห็นผลถาวร
ผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก 1 ซม. ใต้รักแร้ ฟื้นตัวไว
หลังผ่าตัดเสร็จไม่มีเหงื่อออกที่มือทันที
ไม่ต้องรอคิวนาน นัดประเมินแล้วผ่าตัดกับ HDcare ได้เลย
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
แก้ปัญหาเหงื่อออกมือแบบถาวร ต้องผ่าตัดเท่านั้น
- เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
- แผลเล็ก อยู่ใต้รักแร้ หลังผ่าตัดเหงื่อหยุดออกมือทันที
- ไม่ต้องรอคิวนาน นัดประเมินแล้วผ่าตัดกับ HDcare ได้เลย
5 สัญญาณเช็กลิสต์ อาการเหงื่อออกมือ [ดูวิดีโอที่นี่]
- **เหงื่อออกมือที่เกิดจากโรค **ต้องรักษาที่ต้นตอของโรค หรือถ้าเกิดจากการกินยา จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่ามีแนวทางการรักษาอื่นไหม
- **เหงื่อออกมากผิดปกติที่ไม่เกี่ยวกับโรค **กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้เสียความมั่นใจ ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ผิวหนังอักเสบหรือมีกลิ่นเหม็นได้
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ปรึกษาเรื่องผ่าตัดเหงื่อออกมากที่มือ กับหมอเจ นพ. ศิระ เลาหทัย
- ประสบการณ์ผ่าตัดเหงื่อออกมากที่มือ มากกว่า 5 ปี
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องช่องทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- ศัลยแพทย์ไทยคนแรก และ คนที่ 3 ของเอเชียที่ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้
รู้จักโรคนี้
3% ของคนไทยป่วยเป็นโรคเหงื่อออกมือ เหงื่อออกทั้งที่อากาศไม่ร้อน และไม่เกี่ยวกับอากาศหรือการออกกำลังกาย
การเหงื่อออกเกิดขึ้นเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) จะกระตุ้นให้ต่อมหลั่งเหงื่อออกมา
นอกจากเรื่องอุณหภูมิ เหงื่อยังออกถ้าเราตื่นเต้น เครียด หรือวิตกกังวล เพราะอารมณ์เหล่านั้น สมองจะส่งสัญญาณไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เตรียมพร้อม อาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันคือ หัวใจเต้นเร็ว อุณหภูมิร่างกายสูง เหงื่อหลั่งออกมาเพื่อลดความร้อน ส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดจากอาการเหงื่อออกมือออกเท้า รักแร้ หรือบนใบหน้า
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติรวมทั้งเหงื่อออกมือ
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ หรือHyperhidrosis หรือที่หลายคนเรียกว่า โรคมนุษย์น้ำ คือ ภาวะที่มีเหงื่อออกมากกว่าคนทั่วไป อาจไม่เกี่ยวกับระดับความร้อนหรือความหนักของการออกกำลังกาย ที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น อยู่ในห้องแอร์แต่มีเหงื่อออกเยอะจนเสื้อผ้าเปียก เหงื่อออกมือจนเปียกชุ่ม
เหงื่อออกมากผิดปกติแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. ผลจากโรคหรือการใช้ยารักษาโรค (Secondary Hyperhidrosis) เกิดจากภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น เบาหวาน เข้าวัยทอง ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ เป็นมะเร็งบางชนิด หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาท ติดเชื้อ หรือจากการกินยารักษาโรค เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านเศร้า ยาควบคุมเบาหวาน ฮอร์โมน
อาการที่บอกว่าเหงื่อนั้นอาจเกิดจากโรคคือ เหงื่อออกพร้อมกับเวียนหัว เจ็บหน้าอก ช่องคอ กราม แขน ไหล่ หรือตัวเย็น หัวใจเต้นเร็ว ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์โดยด่วน
2. เหงื่อออกมากผิดปกติที่ไม่เกี่ยวกับโรค (Primary Hyperhidrosis) เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากกว่าคนทั่วไป อาจเกิดจากพันธุกรรม สิ่งที่สังเกตได้คือเหงื่อออกมือเท้า รักแร้ หรือบนใบหน้า แต่ในบางคนอาจเป็นแค่จุดใดจุดหนึ่งก็ได้ ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ผิวหนังอักเสบหรือมีกลิ่นเหม็นได้
อาการที่เรียกว่าผิดปกติคือ เป็นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นตอนกลางวัน และเกิดขึ้นทั้งสองฝั่งของร่างกาย เช่น มือทั้งสองข้าง เท้าทั้งสองข้าง
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- เหงื่อออกมือต้องมีเหงื่อออกทั้ง 2 ข้างออกพร้อมกัน โดยไม่เกี่ยวกับอุณหภูมิอากาศ การออกกำลังกาย หรือการใช้แรง
- มีอาการมือเปียก รวมถึง เท้าและขาหนีบ
- เป็นอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นเหมือนกัน
- เวลานอนไม่มีเหงื่อออก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- แพทย์จะซักประวัติความเจ็บป่วย การใช้ยา อาการที่เป็น
- อาจให้ตรวจ Sweat Test เพื่อดูปริมาณและความเข้มข้นของเหงื่อที่หลั่งออกมา และดูปริมาณโซเดียมที่เสียขณะเหงื่อออก
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- **ทายาลดเหงื่อ **โดยทาผิวบริเวณที่มักมีเหงื่อออก (ทาตอนผิวยังแห้ง) ตอนก่อนนอน แล้วล้างออกเมื่อตื่นนอน ยาจะช่วยระงับเหงื่อไม่ให้ออกในวันถัดไป เป็นการรักษาชั่วคราวเท่านั้น พอหยุดทายาเหงื่อจะกลับมาเหมือนเดิม และอาจมีผลข้างเคียงคือ ทำให้ระคายเคืองผิวหนังและดวงตา จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- **กินยาลดเหงื่อ **จะช่วยไปลดการทำงานของน้ำในร่างกาย แต่อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง และอาการท้องผูก
- **ฉีดโบท็อกซ์ **โดยแพทย์จะฉีดโบท็อกซ์มากกว่า 1 เข็มไปบนผิวหนังเพื่อระงับกระแสประสาทที่จะสั่งการให้ต่อมเหงื่อทำงาน ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันถึงจะเห็นผลลัพธ์ และอยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ส่วนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรงชั่วคราวตรงจุดที่ฉีดโบท็อกซ์
- **ผ่าตัดเอาต่อมเหงื่อออก **เป็นวิธีที่ได้ผลดี ด้วยการตัดเส้นประสาทในช่องอก โดยเปิดแผลเล็กใต้รักแร้ประมาณ 1 ซม. แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว และหายขาด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
เหงื่อออกมากผิดปกติที่ไม่เกี่ยวกับโรค โดยทั่วไปไม่ทำให้เป็นอันตราย แต่จะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้เสียความมั่นใจ เช่น วิตกกังวล ไม่กล้าทำกิจกรรมต่างๆ กับคนอื่นที่ต้องสัมผัสโดนกัน เพราะกลัวเหงื่อจะออกมาในระหว่างกิจกรรมนั้น ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาอาจทำให้ผิวหนังอักเสบหรือมีกลิ่นเหม็นได้
ถ้าที่มีเหงื่อออกมาผิดปกติเป็นผลมาจากโรค การรักษาที่ถูกต้องคือ การรักษาตัวโรคนั้นๆ ให้หายดี หรือถ้าเกิดจากการกินยา จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่ามีแนวทางการรักษาอื่นหรือไม่
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดเหงื่อออกมือ หรือ Bilateral Uniportal Video Assisted Thoracoscopic Sympathectomy เป็นวิธีเดียวในปัจจุบันที่รักษาอาการเหงื่อออกมือได้ถาวร โดยการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเข้าไปจี้ทำลายปมประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติก (Sympathetic Nervour System) ออก ทำให้ไม่มีเหงื่อออกมืออีกต่อไป
ขั้นตอนการผ่าตัดเหงื่อออกมือ
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลใต้รักแร้ 2 ข้าง ขนาดประมาณ 1 ซม.
- ใช้อุปกรณ์ผ่าตัดพร้อมกล้อง เข้าไปไปตัดเส้นประสาทที่หล่อเลี้ยงต่อมเหงื่อที่ซี่โครงคู่ที่ 4 กับ 5
- เย็บผิดแผลให้เรียบร้อย
ระยะเวลาของการผ่าตัดเหงื่อออกมือ
การผ่าตัดเหงื่อออกมือใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ตรวจเลือดเพื่อดูเกล็ดเลือด เอกซเรย์ปอด และตรวจวัดคลื่นหัวใจ
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดเหงื่อออกมือต้องพักฟื้นกี่วัน?
หลังผ่าตัดแพทย์จะให้นอนพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 1 วัน
หลังผ่าตัดเหงื่อออกมือ ดูแลตัวเองดังนี้
- หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน จะรู้สึกเจ็บและตึงแผลเล็กน้อย สามารถกินยาแก้ปวดได้ตามคำแนะนำของแพทย์
- แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ ระหว่างนี้สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ไม่ควรแกะแผลออกจนกว่าจะถึงวันตัดไหม (ตัดไหมหลังผ่าตัดประมาณ 10 วัน)
- เลี่ยงการถูกน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ และพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผล
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผ่าตัดเหงื่อออกมืออาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดได้ทั่วไปเมื่อรับการผ่าตัด เช่น มีเลือดออก เกิดการติดเชื้อ แต่หากการผ่าตัดเป็นไปอย่างเรียบร้อย รักษาความสะอาด ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด ก็มักไม่เกิดอาการเหล่านี้
- โอกาส 10-30% จะมีเหงื่อออกชดเชยส่วนอื่นของร่างกายนอกเหนือจากฝ่ามือ แต่เหงื่อออกไม่มาก และไม่รบกวนการใช้ชีวิตเท่าก่อนผ่าตัด
- โอกาสแค่ 5% ที่จะกลับมาเป็นซ้ำ
- มีอาการจุก หายใจไม่สะดวก เนื่องจากการผ่าตัดจะต้องทำการยุบปอด เพื่อให้มีพื้นที่ในการตัดปมประสาท อาการนี้จะหายได้ภายใน 1-2 วัน
- อาจมีเสมหะมีเลือดปนเล็กน้อย เนื่องจากการผ่าตัด แต่ไม่เป็นอันตรายและไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
- มีอาการชาที่บริเวณแผลที่รักแร้ ซึ่งเป็นปกติของการผ่าตัด ที่อาจไปโดนเส้นประสาทได้ อาการเหล่านี้สามารถหายเป็นปกติได้เองโดยใช้ระยะเวลาหนึ่ง
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. ศิระ เลาหทัย (หมอเจ)
คุณหมอเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดทรวงอก ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000+ เคส นักเรียนทุนจากสมาคมศัลยศาสตร์ทรวงอกของเอเชีย (ASCVTS) และนักวิจัยรางวัลชนะเลิศ
ข้อมูลของแพทย์
- 2554 แพทยศาสตรบัณฑิต โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 ศัลยศาสตร์ทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 Thoracic Cardiovascular Surgery, Seoul National University Bundang Hospital (Korea)
- 2560 Thoracic Surgery, Mount Sinai Hospital (USA)
- 2561 Thoracic Surgery, National Cancer Center East (Japan)
- 2561 Thoracic Surgery, National Taiwan University (Taiwan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
- ประสบการณ์ผ่าตัดเหงื่อออกมากที่มือ มากกว่า 5 ปี
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องช่องทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- หมอผ่าตัดคนแรกในประเทศไทยที่ริเริ่มทำการผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Non-Intubated Lung Surgery)
- ศัลยแพทย์ไทยคนแรก ที่ได้รับทุนเรียนต่อด้านผ่าตัดส่องกล้องปอดจากสมาคมศัลยศาสตร์ทรวงอกของเอเชีย (ASCVTS)
- ศัลยแพทย์ไทยคนแรก และ คนที่ 3 ของเอเชียที่ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้
- รางวัลนักวิจัยด้านผ่าตัดทรวงอกชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปี 2564
- รางวัลนักวิจัยชนะเลิศด้านผ่าตัดปอดยอดเยี่ยมแห่งสมาคมศัลยศาสตร์เอเชีย (ATCSA) ปี 2564
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. คุณัช สถาผลเดชา (หมอบิว)
อาจารย์แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ ผ่าตัดหัวใจมาแล้วกว่า 500+ เคส
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ดูงานการผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (OPCAB หรือ Off-Pump CAB) ที่ประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์แพทย์ ประจำศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
- ประสบการณ์การผ่าตัดหัวใจมาแล้วกว่า 500+ เคส
- ประสบการณ์ผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (OPCAB หรือ Off-Pump CAB) มากกว่า 80+ เคสต่อปี