ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 คืออะไร?


ผื่นโควิด-ลักษณะผื่นโควิด-19-การรักษาผื่นโควิด

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ที่พบในประเทศไทย แบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น ผื่นผิวหนังคล้ายผื่นลมพิษ ผื่นนูน ตุ่มแบน หรือรอยแดง กระจายบนผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณลำตัวคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็กๆ ตุ่มน้ำ
  • ผู้ป่วยโควิดในแถมยุโรปมีอาการผื่นผิวหนังต่างไปจากที่พบในไทย คือ บางรายมีอาการปลายมือปลายเท้าเป็นสีชมพูเข้ม ม่วงคล้ำ เขียวอมน้ำเงิน ในทางการแพทย์เรียกว่า “อาการ Covid Toe”
  • ในประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วยที่มีผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว มีอาการป่วยโควิดเล็กน้อย ตาแดง น้ำมูกไหล ไม่มีไข้ และมีผื่นขึ้นบ้างเล็กน้อย
  • ผู้ป่วยโควิดควรเข้ารับการรักษาอาการป่วยโควิดก่อนเพราะเสี่ยงต่ออาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ส่วนอาการผื่นผิวหนังไม่ใช่กรณีเร่งด่วน รักษาไม่ยาก ค่อยทำการรักษาต่อไป 
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

โควิด-19 ไม่เพียงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงกับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดอาการผิดปกติกับระบบอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย

ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะรับรสอย่างลิ้นที่ไม่สามารถรับรสได้ ดวงตาที่เกิดอาการตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ รวมทั้งผิวหนังที่เกิดผื่นในลักษณะต่างๆ ตามร่างกาย อย่างที่เรียกกันว่า ผื่นโควิด หรือผื่นโควิด-19

ผื่นผิวหนังโควิด ผื่นโควิด หรือผื่นโควิด-19 เกิดได้อย่างไร ลักษณะเป็นเป็นอย่างไร อันตรายไหม และรักษาอย่างไร HDmall.co.th หาคำตอบมาให้แล้ว

ตรวจ RT PCR ราคา

ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 เกิดขึ้นได้อย่างไร?

หลังการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในเมืองไทยเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 นอกจากจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิดกลายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) หรือ สายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักรแล้ว 

อาการป่วยโควิดระลอกนี้ยังมาพร้อมกับอาการที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในเมืองไทย นั่นคือ “อาการผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19”

ทั้งนี้อาการผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 เป็นสิ่งที่พบมาก่อนในสหราชอาณาจักรและหลายประเทศในยุโรป

วารสารโรคผิวหนังสหราชอาณาจักร เผยว่า ผื่นผิวหนังมักเกิดขึ้นบนร่างกายผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากเริ่มมีอาการระบบทางเดินหายใจแล้ว โดยสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยหลายกลุ่ม ได้แก่

  • พบในผู้ป่วยทุกกลุ่มอาการ ตั้งแต่ไม่แสดงอาการ มีอาการเล็กน้อย และมีอาการรุนแรง
  • พบในผู้ป่วยที่มีอายุไม่มากจนถึงผู้สูงอายุ
  • พบมากในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น

ส่วนข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลับแตกต่างออกไป โดยพบว่า ผู้ป่วยที่มีผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นวัยหนุ่มสาว มีอาการป่วยโควิดเล็กน้อย ตาแดง น้ำมูกไหล ไม่มีไข้ และมีผื่นขึ้นบ้างเล็กน้อย

ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 เป็นอย่างไร?

อาการผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ที่พบในสหราชอาณาจักรและหลายประเทศในยุโรป มักมีผื่นแดง หรือตุ่มแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็กๆ ขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผื่นเหล่านี้จะคงอยู่ประมาณ 10-14 วัน จากนั้นจะค่อยๆ หายไป

บางรายมีอาการปลายมือปลายเท้าเป็นสีชมพูเข้ม ม่วงคล้ำ เขียวอมน้ำเงิน คล้ายกับอาการความเย็นกัด (Frostbite) ในทางการแพทย์เรียกผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 แบบนี้ว่า “อาการ Covid Toe” สันนิษฐานว่า สาเหตุน่าจะเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น

ไม่เพียงเท่านั้นอาการ Covid Toe ยังใช้เวลาในการรักษานานกว่าผื่นแดง หรือตุ่มน้ำ ทั่วไป บางรายอาจใช้เวลานานนับเดือนกว่าจะหายเป็นปกติ

ตรวจ RT PCR ราคา

ส่วนอาการผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ที่พบในประเทศไทย แบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น

  • ผื่นผิวหนังคล้ายผื่นลมพิษ
  • ผื่นแดงชนิด Maculopapular ที่มีลักษณะเป็นผื่นนูน ตุ่มแบน หรือรอยแดง กระจายบนผิวหนังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณลำตัวคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็กๆ
  • ตุ่มน้ำที่ผิวหนัง คล้ายอีสุกอีใส
  • มีจุดเลือดออก

ผื่นผิวหนังเหล่านี้โดยทั่วไปจะคงอยู่ประมาณ 7-10 วัน แล้วจะค่อยๆ จางหายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ปริมาณของผื่นโควิดที่ขึ้นตามร่างกาย และการดูแลรักษาผื่นโควิด

หากสงสัยว่า มีผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?

หากอยู่ๆ ตามร่างกายเกิดมีผื่นแดง ผื่นคล้ายลมพิษ หรือตุ่มน้ำ มีจุดเลือดออก โดยที่ไม่ได้ไปสัมผัส หรือรับประทานสิ่งที่ทำให้มีโอกาสเกิดอาการแพ้ แต่กลับมีอาการทางกายดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • ไอแบบมีเสมหะ
  • จาม
  • เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย
  • ตาแดง

ก่อนอื่นแนะนำให้รีบแยกตัวเองออกจากคนในครอบครัว หรือกักตัว แล้วลองนึกถึงไทม์ไลน์การใช้ชีวิตของตนเองย้อนกลับไปอย่างน้อย 5-7 วันที่ผ่านมาว่า ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 หรือไม่ ได้เดินทางไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดหรือไม่ 

ละเลยการป้องกันตนเอง เช่น ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ไม่ได้ล้างมือ  

หากอยู่ในข่ายนี้ควรรีบตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATK (Antigen Rapid Test) ด้วยตนเองให้เร็วที่สุด หรือไปรับบริการตามจุดให้บริการตรวจของรัฐ หรือเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ตามสถานพยาบาลที่เปิดให้บริการให้เร็วที่สุด

ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 รักษาอย่างไร?

หากเข้ารับการตรวจคัดกรองแล้วพบว่า “ติดเชื้อ” สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การรักษาอาการป่วยโควิด หากไม่ได้รับการประสานงานเรื่องการหาเตียง หรือสถานที่รักษาให้ติดต่อหน่วยงานสาธารณสุข (หากเป็นกรณีการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง) เพื่อรีบรักษาอาการป่วยโควิด-19 

แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการ จัดกลุ่มสีของผู้ป่วย และแนะนำแผนการรักษาต่อไป

ตรวจ RT PCR ราคา

ทั้งนี้การเข้ารับการรักษาอาการป่วยโควิดอย่างรวดเร็วและถูกวิธีจะช่วยชะลอการดำเนินโรค ลดความรุนแรงของอาการได้โดยเฉพาะอาการปอดอักเสบ หรือปอดติดเชื้อ ลดโอกาสการเป็นผู้ป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ และที่สำคัญที่สุดคือ ลดโอกาสการเสียชีวิต

ส่วนอาการผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อเทียบกับอาการป่วยโควิด ไม่จัดเป็นอาการเร่งด่วน และสามารถรักษาได้ไม่ยาก บรรเทาอาการได้เอง ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • รับประทานยาต้านฮีสตามีน ยาแก้แพ้ ยาแก้คัน เพื่อลดอาการแพ้และคัน
  • ทายากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการแพ้และคัน
  • ทายาคาลาไมน์โลชั่น (Calamine Lotion) เพื่อลดอาการคัน
  • ประคบเย็นด้วยน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง เพื่อลดอาการคัน
  • งดการใช้ครีมบำรุงต่างๆ จนกว่าผื่น และตุ่มน้ำต่างๆ จะหายไป เพื่อความรุนแรงของผื่นผิวหนัง
  • งดการแกะเกาเพื่อป้องกันผิวหนังอักเสบ
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด

หากดูแลตนเองด้วยวิธีเหล่านี้แล้ว แต่ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้นภายใน 10-14 วัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลถึงแนวทางในการรักษา เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

ผื่นผิวหนังจากการป่วยโควิด-19 หรืออาการผื่นโควิด-19 แม้จะพบได้ไม่บ่อย แต่หากเกิดขึ้น ก็ไม่ควรตื่นตระหนกกับอาการดังกล่าว แต่ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาโควิด-19 ก่อนเป็นอันดับแรก

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • American Academy of Dermatology Associstion, COVID TOES, RASHES: HOW THE CORONAVIRUS CAN AFFECT YOUR SKIN, (https://www.aad.org/public/diseases/coronavirus/covid-toes), 14 August 2021.
  • รศ.พญ.ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร, อาการทางผิวหนัง จากโรคโควิด-19 ผลข้างเคียงที่ไม่ควรมองข้าม (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/อาการทางผิวหนัง-จากโรคโ/), 14 สิงหาคม 2564.
  • Sara Rydling, B.Sc., What are COVID Toes? (https://www.news-medical.net/health/What-are-COVID-toes.aspx), 14 August 2021.
  • Steven Reinberg, For Some, 'COVID Toes,' Rashes Can Last for Months (https://www.webmd.com/lung/news/20201102/for-some-survivors-covid-toes-rashes-can-linger-for-months#1), 14 August 2021.
  • ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์, โควิด-19 กับอาการทางผิวหนัง (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โควิด-19-กับอาการทางผิวหน/), 14 สิงหาคม 2564.
@‌hdcoth line chat