HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยสนับสนุนให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในประเทศไทยตามสถานกาารณ์ปัจจุบันโดยเร็วที่สุด
- ผู้ป่วยอายุรกรรมทั้งที่สามารถรับวัคซีนโควิดได้อย่างปลอดภัย และควรได้รับทันทีที่ทำได้ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในภาวะคงที่ ผู้ป่วยที่ได้รับ หรืออยู่ระหว่างได้รับบำบัดด้วยยา ผู้ป่วยที่เลือดออกง่าย ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหาร หรือแพ้ยาต่างๆ ผู้ป่วยที่อยู่ในฐานะไม่รับทราบข้อมูล และผู้ดูแล ผู้ใกล้ชิดที่มีโรคประจำตัว
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในภาวะคงที่ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคไตเรื้อรัง โรคมะเร็ง อัมพาต อัมพฤกษ์ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง
- หากอยู่ระหว่างรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลาเหมือนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ตำแหน่งที่แตกต่างกัน
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด 19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
ในขณะที่หลายคนกำลังรอคิวฉีดวัคซีนโควิด บางคนก็ยังกล้าๆ กลัวๆ ไม่กล้าลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดให้ตนเอง หรือคนใกล้ชิด เพราะไม่แน่ใจว่า กลุ่มโรคไหนสามารถฉีดวัคซีนโควิดได้บ้าง
เนื่องจากปัจุบันมีข่าวผู้เกิดผลข้างเคียง หรือมีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิดออกมาเป็นระยะๆ แม้ว่าคนๆ นั้นจะมีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวเลยก็ตาม ดังนัันผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ จึงต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีก่อนเพื่อความมั่นใจ
บทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบแบบชัดๆ ว่า ผู้ป่วยกลุ่มไหนฉีดวัคซีนโควิดได้บ้าง? ผู้ป่วยกลุ่มใดต้องผ่านการพิจารณาก่อนฉีด? ผู้ป่วยมะเร็งให้เคมีบำบัด รังสีรักษา ผู้อยู่ระหว่างฟอกไต ผู้ใช้ยากดภูมิฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่
ผู้ป่วยกลุ่มไหนฉีดวัคซีนโควิดได้บ้าง?
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยสนับสนุนให้ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในประเทศไทยตามสถานกาารณ์ปัจจุบันโดยเร็วที่สุด
ทั้งยังได้ประกาศแนวทางเวชปฏิบัติการให้วัคซีนโควิด 19 ในไทยแก่ผู้ป่วยอายุรกรรมทั้งที่สามารถรับวัคซีนโควิดได้อย่างปลอดภัย และควรได้รับทันทีที่ทำได้ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่ในภาวะคงที่
- โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งไม่มีภาวะวิกฤต แม้ยังควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายการรักษา
- โรคเบาหวาน ซึ่งไม่มีภาวะวิกฤต แม้ยังควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายการรักษา
- โรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ
- โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
- โรคติดเชื้อเอชไอวี
- โรคข้ออักเสบ
- โรคภูมิแพ้ตัวเอง
- โรคสะเก็ดเงิน
- ภาวะสมองเสื่อม
- โรคภูมิแพ้
- อัมพาต อัมพฤกษ์
- โรคไตเรื้อรัง
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง
- โรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia)
- โรคไขกระดูกทำงานผิดปกติ (MDS หรือ MPN)
- โรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา
- โรคมะเร็งอื่นๆ
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่ได้รับ หรืออยู่ระหว่างได้รับการบำบัดด้วยยา
- เคมีบำบัด รังสีรักษา
- การบำบัดทดแทนไต
- ยากดภูมิคุ้มกันที่อาการของโรคสงบ
- เลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดทุกชนิด
- อิมมูโนโกลบูลินเข้าหลอดเลือดดำ
- ยาสูดสเตียรอยด์
- ยาควบคุมอาการของโรคต่างๆ (ยกเว้นผู้ป่วยในกลุ่มที่ 4)
กลุ่มที่ 3 ผู้ป่วยที่เลือดออกง่าย
- โรคเลือดออกง่าย
- เกล็ดเลือดต่ำ หรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ
- ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด /ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ไม่ใช่วาร์ฟาริน เช่น แอสไพริน โคลพิโดเกล
- ได้รับยาวาร์ฟารินต้านการแข็งตัวของเลือด
กลุ่มที่ 4 ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหาร หรือแพ้ยาต่างๆ
กลุ่มที่ 5 ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในฐานะที่รับทราบข้อมูล
ผู้เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต้องตัดสินใจแทน ได้แก่ ผู้ป่วยสมองเสื่อม และ ผู้ป่วยติดเตียง
กลุ่มที่ 6 ผู้ดูแล หรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
ผู้ป่วยกลุ่มใดต้องผ่านการพิจารณาก่อนฉีดวัคซีนโควิด?
ผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ แต่ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
- บุคคลที่มีประวัติแพ้ยาแอนาฟิแล็กซิสจากวัคซีนอื่นมาก่อน แนะนำให้ตรวจสอบส่วนประกอบของวัคซีนที่เคยแพ้ และต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ไม่มีส่วนประกอบเดียวกับวัคซีนที่เคยแพ้
- ผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการ หรืออาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โรคความดันโลหิตสุงเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืดที่มีอาการกำเริบ ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
แนะนำให้รับวัคซีนโควิด-19 ทันที่หลังควบคุมอาการได้คงที่แล้ว - ผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง แนะนำให้รอกระทั่งพ้นช่วงที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรงก่อน (เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลเกิน 1,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร) แล้ว จากนั้นควรรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็ว
- ผู้ป่วยโรคเลือดที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) หรือบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน CAR-T Cell แนะนำให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ หลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) หรือบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน CAR-T Cells ไปแล้ว 3 เดือน
- ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไต ตับ ปอด หัวใจ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เมื่อพ้น 3 เดือนหลังผ่าตัด และมีอาการคงที่แล้ว หรือพ้น 1 เดือน หลังได้รับการรักษาภาวะปฏิเสธอวัยวะ โดยให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน
- ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยแอนติบอดี หรือ ได้รับยาแอนติบอดี แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ดังนี้
-ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เคยได้รับการบำบัดด้วยพลาสมา จากผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 พ้น 3 เดือน หลังได้รับการบำบัด
-ผู้ป่วยที่ได้รับยา rituximab เมื่อพ้น 1 เดือนไปแล้ว หรือก่อนได้รับ Rituximab ครั้งแรก อย่างน้อย 14 วัน
-ผู้ป่วยที่ได้รับยาแอนติบอดีขนานอื่นๆ เช่น Omalizumab, Benralizumab, Dupilumab พ้น 7 วัน ก่อน หรือหลังได้รับยา
ถ้าอยู่ระหว่างรับวัคซีนชนิดอื่น ฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่?
หากอยู่ระหว่างรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก สามารถฉีดวัคซีนโควิดได้โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะเวลาเหมือนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
แต่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ตำแหน่งที่แตกต่างกัน ส่วนกรณีที่ต้องการสังเกตอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีนแต่ละชนิด อาจเว้นระยะห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- อัปเดต วัคซีนโควิดในไทย ชนิดไหนเหมาะกับใคร? ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร?
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 9 มิถุนายน 2564.
คณะอนุกรรมการแนวทางเวชปฏิบัติและจัดการความรู้ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, แนวทางเวชปฏิบัติการให้วัคซีนโควิด19 แก่ผู้ใหญ่และผู้ป่วยอายุรกรรม ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 (https://drive.google.com/file/d/1rovERAhsB-Bk0xWop80H0LvQwouk9rjF/view), 9 มิถุนายน 2564.
สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน (http://www.neurothai.org/content.php?id=431), 9 มิถุนายน 2564.
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, คำแนะนำในการรับวัคซีนในผู้ใหญ่ช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 (https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=ClQX!67!1!!662!tGe0REP4), 9 มิถุนายน 2564.
CDC, Preparing for Your Vaccine (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/prepare-for-vaccination.html), 19 June 2021.