เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอน


เอปซิลอน-เชื้อโควิดกลายพันธุ์-วัคซีน mRNA

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • เอปซิลอน (Epsilon) เป็นเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ B.1.427 และ B.1.429 เดิมทีเรียกกันว่า “สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย” เนื่องจากตรวจพบครั้งแรกในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 5 มีนาคม 2021
  • เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนมีการแพร่ระบาดไปแล้วอย่างน้อย 46 ประเทศทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา 
    ทวีปยุโรป เช่น ประเทศฝรั่งเศส ทวีปเอเชีย พบล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมในกรุงลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน
  • ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนคือ ไวรัสสายพันธุ์ย่อย B.1.429 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่น่ากังวล 5 ตำแหน่ง สามารถลดประสิทธิภาพการรักษาโควิดด้วยยาแอนติบอดีคอกเทล 
  • การศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามของไวรัสเอปซิลอนสายพันธุ์ย่อย B.1.429 ใน 3 ตำแหน่ง คือ S13I, W152C และ L452R ทำให้ไวรัสสามารถต้านทานวัคซีนชนิด mRNA ได้ดีขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

“เอปซิลอน” แม้จะเป็นชื่อของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นหู เท่ากับอัลฟ่า เบต้า แกมม่า หรือแม้แต่เดลต้า ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในประเทศ ณ ขณะนี้ (ข้อมูลเมื่อ 5 สิงหาคม 2564)

อย่างไรก็ตาม พิษภัยของเอปซิลอนไม่ธรรมดาและส่อเค้ารุนแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อมีรายงานว่า วัคซีนโควิดชนิด mRNA ที่ขึ้นชื่อว่า มีประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าวัคซีนชนิดอื่นๆ ก็อาจไม่สามารถต้านทานไวรัสเอปซิลอนได้ 100%

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนคืออะไร? เกิดขึ้นเมื่อไหร่? แพร่ระบาดภูมิภาคใดบ้าง? มีอันตรายอย่างไร? HDmall.co.th หาคำตอบมาให้แล้ว

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนคืออะไร?

หลังโรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก เชื้อไวรัสโคโรน่า SAR-COV-2 ทั้ง 8 สายพันธ์ุหลัก ได้แก่ L, S, G, V, GH, GR, O และ B ก็ได้กลายพันธุ์ไปอีกมากมาย จนเกิดคำเรียกว่า “เชื้อกลายพันธุ์”

เอปซิลอน (Epsilon) เป็นเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ B.1.427 และ B.1.429 เดิมทีเรียกกัยว่า “สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย” เนื่องจากตรวจพบครั้งแรกในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 5 มีนาคม 2021

ต่อมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งชื่อขึ้นใหม่ตามอักษรกรีกลำดับที่ 5 ว่า “เอปซิลอน (Epsilon)”และจัดให้อยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือน่าจับตามอง (Variants of Interest หรือ VOI) ร่วมกับอีก เชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ 6 สายพันธุ์ ได้แก่

  • ซีต้า (Zeta) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.2
  • อีต้า (Eta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.525
  • ทีต้า (Theta) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.3
  • ไอโอต้า (Iota) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.526
  • แคปป้า (Kappa) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.617.1
  • แลมด้า (Lambda) ใช้เรียกสายพันธุ์ C.37

เมื่อ 6 กรกฎาคม 2564 องค์การอนามัยโลกได้ปรับให้เชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์เอปซิลอน ซีต้า และธีต้า ลงอยู่ในระดับ “แจ้งเตือนสำหรับการตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring)” แต่ก็ยังคงติดตามความเคลื่อนไหวทางระบาดวิทยาอยู่

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอน มีการแพร่กระจายเป็นอย่างไร?

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนมีอัตราการแพร่ระบาด เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ปกติราว 18.6-24.2%

ส่วนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอมเริกา (CDC) ระบุว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนมีความสามารถในการสามารถแพร่ระบาดจากบุคคลไปยังบุคคลได้รวดเร็ว และนับว่า แพร่ระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ปกติประมาณ 20%

ปัจจุบันพบว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนมีการแพร่ระบาดไปแล้วอย่างน้อย 46 ประเทศทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่า มีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วในหลายรัฐ คิดเป็น 15% ของผู้ติดเชื้อโควิดทั่วสหรัฐอเมริกา

แพร่ระบาดในทวีปยุโรป เช่น ประเทศฝรั่งเศส  รวมทั้งทวีปเอเชีย ซึ่งพบการแพร่ระบาดล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมในกรุงลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน

เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอน มีการกลายพันธุ์ที่น่ากลัว อย่างไร?

ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนคือ ไวรัสสายพันธุ์ย่อย B.1.429 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่น่ากังวล 5 ตำแหน่ง

ได้แก่ I4205V และ D1183Y ในยีน ORF1ab และ S13I, W152C, L452R ในยีน S ของโปรตีนปุ่มหนาม (Spike protein)

การศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ลักษณะการกลายพันธุ์ที่น่ากังวลเหล่านี้ โดยเฉพาะในตำแหน่ง S13I, W152C, L452R ที่อาจส่งผลร้ายดังนี้

  • ลดจำนวนแอนติบอดีผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด หรือแอนติบอดีที่เกิดขึ้นหลังการหายป่วยโควิด-19 ได้ราว 2-3.5 เท่า ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ง่ายขึ้น
  • การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง L452R นั้นยังช่วยเพิ่มความสามารถของไวรัสในการยึดเกาะกับเซลล์ร่างกายมุนษย์ได้ด้วย อีกทั้งยังดื้อต่อ “ที-เซลล์ (T-Cell)” ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง มีหน้าที่หลักในการตรวจจับโปรตีนบนตัวของเชื้อโควิด-19 หรือเชื้อโรคต่างๆ และกำจัดออกจากร่างกาย
  • ลดประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาแอนติบอดีคอกเทล ซึ่งเป็นการรักษาโควิด-19 ด้วยการสังเคราะห์โมโนโคลนอลแอนติบอดี้ (monoclonal antibody) 2 ชนิด มาประกอบกัน กลายเป็นแอนติบอดีต้านโควิดแล้วฉีดเข้าสู่ร่างกาย

วัคซีน mRANA อาจไม่สามารถต้านทาน เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์เอปซิลอนได้จริงหรือ?

การศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามของไวรัสเอปซิลอนสายพันธุ์ย่อย B.1.429 ใน 3 ตำแหน่ง คือ S13I, W152C และ L452R ทำให้ไวรัสสามารถต้านทานวัคซีนชนิด mRNA ได้ดีขึ้น

เหตุผลก็อาจเนื่องมาจากว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ชิ้นสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) มาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่งที่เรียกว่า “S-spike mRNA”

เมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย S-spike mRNA จะสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนปุ่มหนามขึ้นมา ทำให้แอนติเจน รู้ว่า โปรตีนปุ่มหนามคือ สิ่งแปลกปลอม แล้วสร้างแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาทำลายไวรัส

ดังนัั้นเมื่อไวรัสเอปซิลอนสายพันธุ์ย่อย B.1.429 มีการกลายพันธุ์ใน 3 ตำแหน่งดังกล่าว จึงมีผลให้ประสิทธิภาพการตรวจจับโปรตีนปุ่มหนามของแอนติเจนที่ร่างกายสร้างขึ้น "ลดลงไปราว 3-6 เท่า" 

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังต้องมีการศึกษาทดลองเพิ่มเติมทางคลินิกในมนุษย์ต่อไป

เชื้อไวรัสโคโรน่า SAR-COV-2 ยังคงมีการกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ซึ่งยากที่จะคาดเดาได้ว่า สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตนเองตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าคุณจะฉีดวัคซีนโควิดครอบโดสแล้ว หรืออยู่ระหว่างการฉีด หรือยังไม่ได้รับวัคซีนโควิดเลย

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

CDC, SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant-info.html), 6 August 2021.

Global Virus Network, Epsilon (B.1.427/ B.1.429) (https://gvn.org/covid-19/epsilon-b-1-427-b-1-429/), 6 August 2021.

Science, SARS-CoV-2 immune evasion by the B.1.427/B.1.429 variant of concern, (https://science.sciencemag.org/content/373/6555/648), 6 August 2021.

WHO, Tracking SARS-CoV-2 variants (https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/), 6 August 2021.

@‌hdcoth line chat