HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานสาธารณสุขทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค เผยว่า ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใดๆ ที่ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกทางรก หรือส่งทางน้ำนมได้
- แม่ที่สงสัยว่า อาจติดเชื้อโควิด-19 หรือหากติดเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่มีอาการป่วยไม่มาก หรือไม่แสดงอาการ จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวจึงสามารถให้ทารกกินนมจากเต้าได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้หายป่วยโควิดก่อน
- ก่อนให้นมลูก แม่ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะเต้านมและหัวนม เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ ล้างมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัยซ้อนทับกัน 2 กันตลอดเวลาที่สัมผัสทารก งดการหอม จูบ พูดคุยกับทารกเด็ดขาด
- กรณีที่แม่มีอาการป่วยโควิดค่อนไปทางสีเหลือง แต่ยังพอมีน้ำนมอาจใช้เครื่องปั๊มนม ปั๊มน้ำนมออกมาเก็บไว้ แต่หากไม่มีเครื่องปั๊มให้บีบน้ำนมออกมาเพื่อให้ได้น้ำนมสำหรับทารก โดยก่อนปั๊มน้ำนมให้รักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับการให้นม
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
ในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาด ไม่ว่าใคร หรือวัยใดก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ แม้แต่หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร ก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน
นอกจากความกังวลใจว่า ทารกในครรภ์ หรือทารกที่เกิดจากแม่ติดเชื้อโควิด-19 จะติดเชื้อด้วยหรือไม่แล้ว สิ่งที่แม่หลายคนเป็นกังวลในลำดับต่อมาคือ “แม่ติดเชื้อโควิด-19 หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ สามารถให้ทารกกินนมจากเต้า หรือเอาลูกเข้าเต้าได้หรือไม่ ลูกจะปลอดภัยจากเชื้อหรือเปล่า”
HDmall.co.th จะพาว่าที่คุณแม่ และคุณแม่แม่ลูกอ่อนไปหาคำตอบ
แม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ให้ทารกกินนมจากเต้าได้ไหม?
โควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ติดต่อได้จากละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลายผู่ป่วย ไม่ว่าจากการไอ หรือจาม หรือการสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ
แต่ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) หน่วยงานสาธารณสุขทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใดๆ ที่ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกทางรก หรือส่งผ่านทางน้ำนมได้
ดังนั้นแม่ที่สงสัยว่า อาจติดเชื้อโควิด-19 หรือหากติดเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่มีอาการป่วยไม่มาก หรือไม่แสดงอาการ จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวจึงสามารถให้ทารกกินนมจากเต้าได้ หรือเอาลูกเข้าเต้าได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้หายป่วยโควิดก่อน
เนื่องจากน้ำนมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิดทุกคน
- มีสารอาหารครบถ้วน
- มีฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ของทารก
- ภูมิต้านทานโรค ลดการติดเชื้อในระบบต่างๆ
- ดีต่อระบบทางเดินอาหาร เพราะย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่าย
- ดีต่อระบบขับถ่าย
- ดีต่อ EQ อารมณ์ของลูก ทำให้อารมณ์ดี เลี้ยงง่าย
- ป้องกันภาวะแพ้โปรตีนและภูมิแพ้
- ส่งเสริมสายใยรัก ความอบอุ่น ความผูกพันระหว่างแม่และลูก
อีกทั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังเป็นประโยชน์ต่อแม่หลายอย่าง เช่น เกิดความผ่อนคลาย ลดโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า ช่วยในการฟื้นตัวของมดลูก ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ในระยะยาวได้ ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยคุมกำเนิด
ทั้งนี้การให้นมทารกต้องปฏิบัติตามภายใต้แนวทางการปฏิบัติที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแนะนำอย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ให้ถือว่า “ทารกนั้นมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ” จึงต้องมีการแยกตัวจากทารกอื่นและเฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน
แม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ต้องทำอย่างไร เมื่อจะให้ทารกกินนมจากเต้า?
ก่อนอื่นแม่และครอบครัวควรตัดสินใจร่วมกันก่อนว่า “ยินยอมให้แม่ดูแลทารกแรกเกิดได้หรือไม่” หากตัดสินใจตรงกันว่า สามารถให้ดูแลได้ เมื่อจะให้ทารกกินนมจากเต้า มีคำแนะนำดังนี้
- อาบน้ำให้สะอาดโดยเฉพาะเต้านมและหัวนม เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมให้สะอาด
- ล้างมือทั้งสองข้างให้สะอาดด้วยสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีนาน 20 วินาทีขึ้นไป หรือทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป และเช็ดมือให้แห้งสนิท
- สวมหน้ากากอนามัยซ้อนทับกัน 2 ชั้น หรือ อาจจะสวมหน้ากากผ้า 1 ชั้น สวมหน้ากากอนามัย 1 ชั้น ปิดปากและจมูกให้มิดชิด โดยต้องสวมหน้ากากให้เสร็จในระยะห่างอย่างน้อย 6 ฟุต ก่อนจะเข้ามาใกล้ทารก
- สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่สัมผัสทารก
- งดการสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก และปากของตนเองรวมทั้งทารก
- งดการหอม จูบ ทารกแรกเกิดโดยเด็ดขาด
- งดการพูดคุยระหว่างให้นมทารกแรกเกิดโดยเด็ดขาด
- ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ให้นมให้สะอาดทุกครั้ง
แม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ต้องทำอย่างไร เมื่อต้องปั๊มน้ำนม หรือบีบน้ำนมให้ทารกแรกเกิด?
ในกรณีที่หากแม่มีอาการป่วยโควิดค่อนไปทางสีเหลือง แต่ยังพอมีน้ำนมอาจใช้เครื่องปั๊มนม ปั๊มน้ำนมออกมาเก็บไว้ แต่หากไม่มีแนะนำให้ค่อยๆ บีบน้ำนมออกมาเพื่อให้ได้น้ำนมออกมา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีข้อแนะนำเช่นเดียวกับแม่ติดเชื้อโควิด -19 เมื่อจะให้ทารกกินนมจากเต้า มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- เตรียมทำความสะอาดปั๊มน้ำนม (ห้ามใช้ร่วมกับผู้อื่น) ภาชนะจัดเก็บน้ำนม ขวดนม จุกนม ด้วยการนึ่งฆ่าเชื้อ
- อาบน้ำให้สะอาดโดยเฉพาะเต้านมและหัวนม เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมให้สะอาด
- ล้างมือทั้งสองข้างให้สะอาดด้วยสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีนาน 20 วินาทีขึ้นไป หรือทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป และเช็ดมือให้แห้ง
- สวมหน้ากากอนามัยซ้อนทับกัน 2 ชั้น หรือ อาจจะสวมหน้ากากผ้า 1 ชั้น และสวมหน้ากากอนามัย 1 ชั้น
- เริ่มเก็บน้ำนมด้วยวิธีบีบน้ำนม หรือใช้เครื่องปั๊มน้ำนม สลับกันทีละเต้า
- ระหว่างเก็บน้ำนม ห้ามถอดหน้ากากอนามัยออก
- หลีกเลี่ยงการพูดคุย ไอ จาม
- พยายามเก็บน้ำนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรือวันละประมาณ 6-8 ครั้ง เพื่อให้ร่างกาย
- หลังใช้อุปกรณ์ทั้งหมดเสร็จ ต้องทำความสะอาดปั๊มน้ำนม ที่เก็บน้ำนม ขวดนม จุกนม ด้วยการนึ่งฆ่าเชื้อ ทุกครั้ง
- ทำความสะอาดบรเวณที่เก็บน้ำนมให้สะอาดทุกครั้ง
- ให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง อุ้มทารกแรกเกิดเป็นและให้นมได้ถูกวิธี เป็นผู้ให้นมทารก
นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำว่า หากแม่ที่ติดเชื้อโควิด-19 ต้องจำเป็นต้องพักอยู่ในห้องเดียวกับทารกแรกเกิด แม่ต้องเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 6 ฟุต ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดตลอดเวลาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และควรให้อากาศในห้องมีความถ่ายเทได้ดี
อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและความมั่นใจของทุกคนในครอบครัว
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
CDC, Breastfeeding and Caring for Newborns
(https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/pregnancy-breastfeeding.html), 9 August 2021.
Healthy Children.org, Breastfeeding During the COVID-19 Pandemic (https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/COVID-19/Pages/Breastfeeding-During-COVID-19.aspx), 9 August 2021.
Unicef, Breastfeeding during the COVID-19 pandemic (https://www.unicef.org/eap/breastfeeding-during-covid-19), 9 August 2021.