HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- เชื้อไวรัส SAR-COV-2 สายพันธ์ุหลักที่น่าสนใจได้แก่ สายพันธุ์ L, S, G, V, GH, GR, O, B โดยสายพันธุ์ L พบครั้งแรกเมื่อธันวาคม 2019 ที่ประเทศจีน ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วโลก พร้อมๆ กับเกิดสายพันธุ์ใหม่และมีการกลายพันธุ์ตามมาเป็นระยะๆ
- องค์การอนามัยโลก WHO ประกาศชื่อเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ตามอักษรกรีก เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าใจและสื่อสารได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ใช่การแทนที่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว
- เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล หมายถึง เชื้อที่มีการแพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็ว ก่อให้เกิดอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูง ปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ได้แก่ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า
- เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือน่าจับตามอง หมายถึง เชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์ได้อีก หรือมีโอกาสแพร่ระบาดได้มากขึ้น หรือมีโอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรง ได้แก่ เอปซิลอน ซีต้า อีต้า ทีต้า ไอโอต้า และแคปป้า
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
โควิด-19 (COVID-19) นอกจากจะมีสายพันธุ์ที่หลากหลายแล้ว ปัจจุบันไวรัสชนิดนี้ยังมีการกลายพันธุ์ไปอีกมากมาย สายพันธุ์ที่ได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น อังกฤษ อินเดีย แอฟริกา บราซิล หรือบางครั้งเรียกกันว่า อัลฟ่า เบต้า แกมม่า เดลต้า
ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ ได้แบ่งโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์ ออกเป็น 2 ประเภท พร้อมกำหนดชื่อเรียกใหม่ตามอักษรกรีก เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจที่ตรงกันของคนทั่วโลก ง่ายต่อการจดจำ
ที่สำคัญ ไม่เป็นการชี้เฉพาะ กล่าวโทษไปยังประเทศใดประเทศหนึ่งที่พบการแพร่ระบาดครั้งแรก
โควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ ณ ปัจจุบัน มีอะไรบ้าง HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ
โควิด-19 เชื้อสายพันธุ์หลักมีอะไรบ้าง
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส SAR-COV-2 สายพันธุ์ L โดยพบครั้งแรกเมื่อธันวาคม 2019 ที่ประเทศจีน ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วโลก พร้อมๆ กับเกิดสายพันธุ์ใหม่และมีการกลายพันธุ์ตามมาเป็นระยะๆ
เชื้อไวรัส SAR-COV-2 สายพันธ์ุหลักที่น่าสนใจได้แก่
- สายพันธ์ุ L (Leucine) เริ่มต้นแพร่กระจายในประเทศจีน
- สายพันธ์ุ S (Seriine) เริ่มต้นแพร่กระจายในประเทศจีน และเคยระบาดในไทย เมื่อมีนาคม 2020
- สายพันธ์ุ G (Glyecine) ลูกหลานสายพันธุ์ L แพร่กระจายไปทั่วโลก มีความทนทานกว่าสายพันธุ์อื่น
- สายพันธ์ุ V (Valine) ลูกหลานสายพันธุ์ L
- สายพันธ์ุ GH (Histiddine) ลูกหลานสายพันธุ์ G และเคยระบาดในไทย เมื่อมีนาคม 2020
- สายพันธ์ุ GR (Arginine) ลูกหลานสายพันธุ์ G
- สายพันธ์ุ O รวมสายพันธ์ุกลายพันธุ์ไม่บ่อย
- สายพันธ์ุ B หรือ SARS-CoV-2 VUI 202012/01 ต้นกำเนิดกลายพันธุ์จากประเทศอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม ไวรัสมีโอกาสกลายพันธ์ุได้ตลอดเวลา อีกทั้งการกลายพันธุ์แต่ละครั้งยังไม่อาจทำนายความแข็งแกร่งของเชื้อกลายพันธุ์นั้นๆ ได้ เพราะเท่าที่ผ่านมาพบว่า เชื้อกลายพันธุ์บางชนิดเกิดขึ้นมาไม่นานก็หายไปจากโลก
แต่บางชนิดก็สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถหลบเลี่ยงแอนติเจนของร่างกายได้ รวมทั้งทำให้โรคมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
โควิด-19 กลายพันธุ์ที่แบ่งโดย WHO มีอะไรบ้าง?
องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ใหม่ตามอักษรกรีก เพื่อให้คนทุกกลุ่มในโลกสามารถเข้าใจและสื่อสารได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ใช่การแทนที่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่มีใช้อยู่แล้ว
ไม่เพียงเท่านั้น WHO ยังแบ่งเชื้อไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล หรือน่าเป็นห่วง (Variants of Concern หรือ VOC) หมายถึง เชื้อที่มีการแพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็ว ก่อให้เกิดอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูง
- เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือน่าจับตามอง (Variants of Interest หรือ VOI) หมายถึง เชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์ได้อีก หรือมีโอกาสแพร่ระบาดได้มากขึ้น หรือมีโอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรง
โควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่ากังวล หรือน่าเป็นห่วง มีอะไรบ้าง
เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล หรือน่าเป็นห่วง (Variants of Concern หรือ VOC) ปัจจุบันมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า (ข้อมูล 1 กรกฎาคม 2564)
1. อัลฟ่า (Alpha) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.1.7 ที่ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อ 18 ธันวาคม 2020
ความน่ากลัว: สามารถแพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 40-70%
2. เบต้า (Beta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.351 ที่ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อ 18 ธันวาคม 2020
ความน่ากลัว: สามารถแพร่ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อได้ไวขึ้นราว 50% และลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้
3. แกมม่า (Gamma) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.1.28.1 หรือ P.1 ที่ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล เมื่อ 11 มกราคม 2021
ความน่ากลัว: มีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ สามารถเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ และลดประสิทธิภาพวัคซีนได้
4. เดลต้า (Delta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.617.2 ที่ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อ 11 พฤษภาคม 2021 ที่จริงสายพันธ์ุนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธ์ุย่อยคือ B.1.617 .1 ,B.1.167.2 และ B.1.167.3
ความน่ากลัว: สามารถแพร่ระบาดได้เร็ว แพร่เชื้อง่าย และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้
สรุปผลการศึกษาของทั้ง 4 สายพันธุ์ พบว่า
- การติดต่อ (Transmissibility) มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทั้ง 4 สายพันธุ์
- ความรุนแรง (Severity) แม้จะยังไม่มีการยืนยันเรื่องความรุนแรงของอาการ แต่ผู้ติดเชื้อมีโอกาสต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน เนื่องจากมีอาการรุนแรง และเพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น
- ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ (Risk of reinfection) ขึ้นกับสายพันธ์ุ ถ้าเป็นสายพันธ์ุอัลฟ่า จะไม่มีผลต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ แต่สายพันธ์ุเบต้าและแกมม่า มีผลทำให้ลดการทำงานของภูมิคุ้มกัน ทำให้เพิ่มโอกาสการติดเชื้อซ้ำ
- ผลต่อการวินิจฉัย (หลบการวินิจฉัย) สายพันธ์ุอัลฟ่า เบต้า ไม่มีผลทำให้หลบการวินิจฉัย แต่สายพันธ์ุแกมม่ากับเดลต้ายังอยู่ในช่วงการศึกษา
โควิด-19 กลายพันธุ์ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง
เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือน่าจับตามอง (Variants of Interest หรือ VOI) ปัจจุบันมี 7 สายพันธุ์ (ข้อมูล 1 กรกฎาคม 2564) ได้แก่
- เอปซิลอน (Epsilon) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.427/ B.1.429 ที่ตรวจพบครั้งแรกในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อ 5 มีนาคม 2021
- ซีต้า (Zeta) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.2 ที่ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล เมื่อ 5 มีนาคม 2021
- อีต้า (Eta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.525 ที่ตรวจพบครั้งแรกในหลายประเทศ เมื่อ 17 มีนาคม 2021
- ทีต้า (Theta) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.3 ที่ตรวจพบครั้งแรกในฟิลิปปินส์ เมื่อ 24 มีนาคม 2021
- ไอโอต้า (Iota) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.526 ที่ตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ 24 มีนาคม 2021
- แคปป้า (Kappa) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.617.1 ที่ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อ 4 เมษายน 2021
- แลมด้า (Lambda) ใช้เรียกสายพันธุ์ C.37 ที่ตรวจพบครั้งแรกในเปรู เมื่อ 14 มิถุนายน 2021
โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า VS เดลต้า พลัส ต่างกันอย่างไร?
เดิมทีที่อินเดียพบการแพร่ระบาดของ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (Delta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.617.2 แต่ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขอินเดีย แถลงเรื่องการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2) ไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า “เดลต้าพลัส (Delta Plus) หรือ AY.1”
เบื้องต้นสันนิษฐานว่า เกิดจากการกลายพันธุ์แบบ K417N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของไวรัส ทำให้โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า พลัส นอกจากจะแพร่เชื้อได้ง่ายแล้วยังสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้นไปอีก
ในอนาคตโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์จะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกมาก-น้อยแค่ไหน ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ สิ่งสำคัญคือ การเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด และการป้องกันตนเองด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดีที่สุด
เช่น การล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70% การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน การรักษาระยะห่างทางสังคม
ไม่เพียงเท่านั้นถึงแม้จะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ก็ยังควรต้องป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดเช่นกัน เนื่องจากวัคซีนบางยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อกลายพันธุ์บางชนิดได้น้อย
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
CDC, SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant-info.html), 1July 2021.
WHO, Tracking SARS-CoV-2 variants (https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/), 1July 2021.
Emma Hodcroft, PhD, CoVariants (https://covariants.org/), 1July 2021.