Post COVID-19 Syndrome อาการหลังหายป่วยโควิดที่ต้องรู้จัก


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • กลุ่มอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด (Post COVID-19 Syndrome) ด้วย หมายถึง อาการป่วยโควิดที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะนั้นลดลง จนเจ้าตัวเริ่มสัมผัสได้ว่า ร่างกายของตนเองไม่เหมือนก่อนป่วย
  • หลังหายป่วยโควิด ผู้ป่วยราว 80% มักมีอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด หรือไม่ก็อาการลองโควิด ตามมา อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจติดขัด หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ผมร่วง 
  • ผู้เสี่ยงมีอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดได้แก่ กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หากติดเชื้อโควิด เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้มีโรคอ้วน ผู้ที่ทำงาน หรือใช้ชีวิตสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศ สารเคมี เป็นเวลานาน
  • กลุ่มอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด (Post COVID-19 Syndrome) และภาวะลองโควิด เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง พยายามรักษา บรรเทาอาการไม่ให้รุนแรง ส่วนอวัยวะใดที่ทำลายของโรค แม้จะไม่มีโอกาสทำงานได้ดีดังเดิม ก็ต้องพยายามฟื้นฟูอวัยวะนั้นให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเท่าที่มี ทั้งนี้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

กว่าจะหายป่วยโควิด-19 สำหรับบางคนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่หลังจากหายป่วยโควิด-19 บางครั้งกลับเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าที่จะรับมือกับอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด ซ้ำร้ายบางคนยังรู้สึกว่า “ร่างกายของตนเองไม่เหมือนเดิม”

อาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดคืออะไร ใครเสี่ยงบ้าง มีอาการอย่างไรบ้าง ต้องรับมืออย่างไร HDmal.co.th จะพาไปดู

อาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด คืออะไร?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ภาวะลองโควิด (Long COVID)” ซึ่งหมายถึง ผลข้างเคียงระยะยาวที่เกิดขึ้นในบางคนหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แต่บางคนอาจไม่มีอาการนี้เลยก็ได้

นอกจากภาวะลองโควิดแล้วยังมีกลุ่มอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด (Post COVID-19 Syndrome) ด้วย หมายถึง อาการป่วยโควิดที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะนั้นลดลง จนเจ้าตัวเริ่มสัมผัสได้ว่า ร่างกายของตนเองไม่เหมือนก่อนป่วย

อาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด มีอะไรบ้าง?

ทั้งนี้จากการศึกษาของทีมวิจัย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า หลังหายป่วยโควิด ผู้ป่วยราว 80% มักมีอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด หรือไม่ก็อาการลองโควิด ตามมา

อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • หายใจติดขัด หายใจลำบาก
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก
  • ไอ
  • การรับรู้กลิ่น และการรับรสเปลี่ยนไป
  • ผมร่วง
  • สมาธิสั้น

อาการเหล่านี้อาจพบได้อย่างน้อยคนละ 1 อาการ หรืออาจมากกว่านั้น หรืออาจไม่พบเลยก็ได้ ส่วนความรุนแรงของอาการ มีตั้งแต่อาการไม่รุนแรงสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน อาการรุนแรงเล็กน้อย สามารถหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ และอาการรุนแรงปานกลาง

อาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดที่จัดว่า “รุนแรง” มีอะไรบ้าง?

ดังที่เรารับรู้กันว่า เมื่อป่วยโควิดอวัยวะที่มักถูกทำลายมากที่สุดก็คือ “ปอด” หากได้รับเชื้อโควิดปริมาณมาก โดยเชื้อจะลงไปอยู่ในถุงลมของปอดทำให้ปอดอักเสบ (COVID-19 pneumonia)

เนื่องจากเชื้อไวรัสที่อยู่บริเวณถุงลมจะอุดกั้นการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งการลำเลียงออกซิเจนของปอด ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้น้อยลง การลำเลียงออกซิเจนของปอดก็ลดลงตามไปด้วย ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนน้อยลง

นอกจากนี้อาการปอดอักเสบยังมีสาเหตุจากการที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อต้านเชื้อไวรัส และต่อต้านปฏิกิริยาผิดปกติต่างๆ ส่งผลให้เนื้อปอดถูกทำลายและมีการอักเสบมากขึ้น

เมื่อหายป่วยโควิด เนื้อปอดที่ถูกทำลายจะเกิดแผลเป็น หรือพังผืด ทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิม ผลกระทบที่ตามมาคือ

  • การหายใจได้ไม่เต็มปอด
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อวัยวะต่อมาที่ได้รับผลกระทบได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตาูงขึ้น หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจตาย เหงื่อออกตอนกลางคืน ได้

ไม่เพียงเท่านั้น งานวิจัยหลายแห่งยังพบว่า อาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดที่จัดว่ารุนแรงได้แก่ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะอารมณ์ผิดปกติ มีปัญหาทางจิตเวช ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ

ใครเสี่ยง มีอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดบ้าง?

ผู้เสี่ยงมีอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หากติดเชื้อโควิด ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไตเรื้อรัง หัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคปอด ถุงลมโป่งพอง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้มีโรคอ้วน
  • ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่ทำงาน หรือใช้ชีวิตสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศ สารเคมี เป็นเวลานาน

นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการปอดอักเสบ หรือปอดติดเชื้อ ผู้ป่วยโควิดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

รับมือ อาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดอย่างไร?

การรับมืออาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิดที่สำคัญ จะแบ่งออกเป็น

  1. การบรรเทาอาการ กรณีที่อาการไม่รุนแรง ทดลองบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองก่อน
  2. การฟื้นฟูสมรรถภาพอวัยวะที่ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  3. การรักษาและส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารทอด อาหารมัน ไม่นอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

สำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพอวัยวะที่ประสิทธิภาพการทำงานลดลง โดยเฉพาะปอดนิยมฝึกการหายใจ ดังนี้

  • ฝีกหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ (Deep slow breathing)
  • ฝึกหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ (Active cycle of breathing technique)
  • ฝึกการหายใจออกอย่างแรง (Huffing)

จุดมุ่งหมายของการฝึกหายใจทั้ง 3 วิธีนี้ เพื่อเพิ่มการระบายอากาศ และแลกเปลี่ยนก๊าซ ช่วยป้องกันภาวะปอดแฟบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ และทำให้ใช้พลังงานในการหายใจน้อยลง และช่วยให้ผ่อนคลาย

ระหว่างฝึกการหายใจควรทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง และควรสังเกตตนเองตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติ เช่น หอบเหนื่อย หายใจเร็ว เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว เหงื่อออกมาก

แนะนำให้ควรหยุดฝึกหายใจทันที หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 10-20 นาที ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

กลุ่มอาการที่หลงเหลือหลังหายป่วยโควิด (Post COVID-19 Syndrome) และภาวะลองโควิด เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง พยายามรักษา บรรเทาอาการไม่ให้รุนแรง

ส่วนอวัยวะใดที่ทำลายของโรค แม้จะไม่มีโอกาสทำงานได้ดีดังเดิม ก็ต้องพยายามฟื้นฟูอวัยวะนั้นให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเท่าที่มี ทั้งนี้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่แรก

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

อ.นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์, โควิด-19 ทำลายปอดแม้ไม่มีอาการ (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โควิด-19-ทำลายปอดแม้ไม่มี/), 27 กันยายน 2564.

CDC, Post-COVID Conditions (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects/index.html), 28 September 2021.

Max Augustin, MD, Philipp Schommers, M.D. PhD, Melanie Stecher, Ph.D and others, Post-COVID syndrome in non-hospitalised patients with COVID-19: a longitudinal prospective cohort study (https://www.thelancet.com/journals/lanepe/article/PIIS2666-7762(21)00099-5/fulltext), 28 September 2021.

Panagis Galiatsatos, M.D., COVID-19 Lung Damage (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/what-coronavirus-does-to-the-lungs), 28 September 2021.

Jill Seladi-Schulman, PhD, What to Know About COVID-19 and Pneumonia (https://www.healthline.com/health/coronavirus-pneumonia), 28 September 2021.

WebMD, Coronavirus and Pneumonia (https://www.webmd.com/lung/covid-and-pneumonia#2), 28 September 2021.

@‌hdcoth line chat