ทางรอดป้องกันโควิด-19 เมื่อต้องเข้า-ออกจากบ้าน?


ป้องกันโควิด-ป้องกันที่ทำงาน-ป้องกันที่บ้าน

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • เตรียมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าให้พร้อม หากต้องทำงานทั้งวันควรมีหน้ากากสำรองสำหรับเปลี่ยนชิ้นใหม่ทุก 2-3 ชั่วโมง เพราะการใช้หน้ากากชิ้นเดิมเป็นเวลานาน อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ทุกครั้งที่สัมผัสพื้นผิวต่างๆ ต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70%
  • หากเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว เมื่อกลับถึงบ้านให้ทำความสะอาดรถยนต์ทุกครั้ง โดยใช้น้ำผสมผงซักฟอกทั่วไป หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดที่ปิด-เปิดประตูรถ ทั้งในและนอกรถยนต์ รวมทั้งทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของห้องโดยสารภายใน เช่น พวงมาลัยรถยนต์ ปุ่มเปิด-ปิดแอร์ วิทยุ เบาะโดยสาร
  • เมื่อกลับเข้าบ้านห้ามสัมผัสสัตว์เลี้ยง บุคคลในบ้าน การสัมผัสสิ่งของในบ้าน หรือนั่งบนเก้าอี้ โซฟา ก่อนอาบน้ำ
  • ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ท้องเสีย เข้าข่ายอาการโควิด-19 ให้เริ่มแยกตัวเองออกมาจากคนในบ้านเพื่อกักตัวสังเกตอาการ
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

ในภาวะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มลดลง แม้รัฐบาลจะขอความร่วมมือให้ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และขอให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน Work from home ทำงานที่บ้าน 100%

แต่ถึงอย่างนั้นหลายคน หลายหน่วยงาน หรือหลายธุรกิจ ก็ยังมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งไปทำธุระ จับจ่ายข้าวของเพื่อการดำรงชีวิต ทั้งเข้าทำงานตามการจัดสรรรของหน่วยงาน

ดังนั้นเพื่อให้ทุกคน “มีโอกาสรอด” จากการติดเชื้อโควิด-19 ให้มากที่สุด HDmall.co.th จะสรุปคำแนะนำทั้งการปฏิบัติตัวในที่ทำงาน และเมื่อกลับเข้าที่พักแบบง่ายๆ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกคนที่ยังต้องออกไปทำธุระนอกที่พัก

ช่วงโควิด-19 ระบาด เตรียมตัวอย่างไร? ก่อนออกจากบ้าน

แม้ว่าหลายคนจะได้รับวัคซีนโควิดครบโดสแล้ว หรืออยู่ระหว่างการรับวัคซีนโควิด แต่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า “จะไม่ติดเชื้อโควิด 100%” เนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ เช่น อายุ สภาวะร่างกายแต่ละคนที่แตกต่างกัน การได้รับเชื้อโควิดที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 

ดังนั้นการป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีและทำอย่างงต่อเนื่องจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

อีกทั้งในภาวะที่เราไม่แน่ใจว่า โควิด-19 อยู่ที่ไหนกันบ้าง จึงไม่มีอะไรดีไปกว่าการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม และคิดว่า ทุกคนต่างมีเชื้อโควิด-19 เพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโควิด-19 ให้ดีที่สุด

  • เตรียมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าให้พร้อม หากต้องทำงานทั้งวันควรมีหน้ากากสำรองสำหรับเปลี่ยนชิ้นใหม่ทุก 2-3 ชั่วโมง เพราะการใช้หน้ากากชิ้นเดิมเป็นเวลานาน อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้
  • เตรียม face shield เพื่อสวมใส่ขณะเดินทาง เพื่อป้องกันใบหน้า ดวงตา จมูก และปาก
  • เตรียมถุงมือพลาสติก กระดาษชำระ เผื่อไว้สัมผัสพื้นผิวต่างๆ หรือกาารหยิบจับธนบัตร
  • เตรียมเจลแอลกอฮอล์ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70%
  • หากเป็นไปได้ให้เตรียมบัตร เอกสาร และเงินที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละวันใส่ซองซิป หรือถุงพลาสติก เพื่อสะดวกในการใช้งาน และการทำความสะอาดประจำวัน
  • หากเป็นไปได้ควรเตรียมอาหารกลางวัน อาหารว่างมาจากบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของต่างๆ

ช่วงโควิด-19 ระบาด ต้องปฏิบัติตนเองอย่างไร? ในที่ทำงาน

ระหว่างออกเดินทางใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น หรือหน้ากากผ้า 1 ชั้น หน้ากากอนามัย 1 ชั้น หากเดินโดยขนส่งสาธารณะให้พยายามรักษาระยะห่างทางสังคมเท่าที่ทำได้ และทุกครั้งที่สัมผัสพื้นผิวต่างๆ ต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70%

เมื่อเดินทางถึงที่ทำงาน มีคำแนะนำต่อไปนี้

  • เมื่อมาถึงที่ทำงานให้ล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธีด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือสบู่ฆ่าเชื้ออีกครั้ง
  • เปลี่ยนหน้ากากอนามัยชิ้นใหม่ หากเป็นไปได้ และต้องสวมใส่ตลอดเวลาที่อยู่ในที่ทำงาน
  • เมื่อเปลี่ยนหน้ากากอนามัยต้องจัดเก็บอย่างถูกวิธีเสมอ รวมทั้งการทิ้งกระดาษชำระต่างๆ ก็ต้องจัดเก็บอย่างถูกวิธีเช่นเดียวกัน
  • ทำความสะอาดบริเวณโต๊ะทำงานของตนเอง คอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด เม้าส์ อุปกรณ์ทำงานทุกชิ้น ทุกครั้งก่อนทำงาน
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดมือ แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด
  • ทุกครั้งที่สัมผัสพื้นผิวต่างๆ ต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70%
  • ลดการใช้เสียง เลี่ยงการพูดคุยโดยตรง
  • ไม่รวมกลุ่มรับประทานอาหาร ควรแยกรับประทานอาหารตามลำพัง
  • หากมีอาการไอ หรือจามขณะใส่หน้ากากอนามัย ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยชิ้นใหม่ หากเป็นไปได้
  • หากต้องมีการประชุม ไม่สามารถประชุมผ่านโปรแกรมต่างๆ ได้ ควรรักษาระยะห่างทางสังคม
  • ลดการให้บุคคลภายนอกเข้ามาในสถานที่ทำงาน โดยจัดพื้นที่สำหรับรองรับเอกสาร สิ่งของที่ส่งมาจากภายนอกและจัดช่องทางติดต่อระหว่างผู้มาติดต่อและผู้ที่อยู่ในสถานที่ทำงาน
  • หากทราบว่า ตนเอง หรือเพื่อนร่วมงานมีอาการเจ็บป่วยเข้าข่ายโควิด-19 เช่น ไอ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ควรแจ้งหัวหน้างาน หรือผู้บังคับบัญชา เพื่อให้พิจารณาหยุดงาน พักรักษาตัวที่บ้าน

ช่วงโควิด-19 ระบาด ต้องป้องกันเชื้อเข้าบ้านอย่างไร?

ล่าสุดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำให้ประชาชนที่ต้องออกไปนอกบ้านปฏิบัติทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน หรือที่พัก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสโควิดเข้าสู่บ้านและที่พักอาศัยทุกประเภทให้ได้มากที่สุด

คำแนะนำมีดังนี้

  • หากเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว เมื่อกลับถึงบ้านให้ทำความสะอาดรถยนต์ทุกครั้ง โดยใช้น้ำผสมผงซักฟอกทั่วไป หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดที่ปิด-เปิดประตูรถ ทั้งในและนอกรถยนต์ รวมทั้งทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของห้องโดยสารภายใน เช่น พวงมาลัยรถยนต์ ปุ่มเปิด-ปิดแอร์ วิทยุ เบาะโดยสาร
  • ทำความสะอาดรองเท้าด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อ และเก็บรองเท้าไว้นอกบ้าน หรือนอกห้องพัก
  • ถอดหน้ากากอนามัยใส่ถุงให้มิดชิด และทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดแยกเฉพาะ จากนั้นรีบล้างมือฟอกสบู่อย่างถูกวิธี นานอย่างน้อย 20 วินาที
  • ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดกระเป๋า โทรศัพท์มือถือ นาฬิกาข้อมือ เครื่องประดับ แว่นตา กุญแจบ้าน กุญแจรถ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของในบ้าน หรือนั่งบนเก้าอี้ โซฟา ก่อนอาบน้ำ
  • ไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยง หรือบุคคลในบ้าน ก่อนอาบน้ำ
  • อาบน้ำ สระผมให้สะอาด
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่
  • แยกเสื้อผ้าที่ใส่ไปนอกบ้าน ออกจากเสื้อผ้าที่ใช้ใส่ในบ้าน ไม่ให้ปะปนกัน
  • เมื่อรับประทานอาหารร่วมกันกับสมาชิกในบ้าน ให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัวตักอาหาร
  • ไม่ดื่มน้ำร่วมแก้วกับใคร ควรมีแก้วเป็นของตัวเอง
  • ส่วนที่พัก ควรทำความสะอาดพื้นผิวที่ใช้งานเป็นประจำบ่อยๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ เช่น ที่เปิด-ประตู แผงสวิทช์ไฟ รีโมทต่างๆ โต๊ะรับประทานอาหาร ครัว ห้องน้ำ พื้นบ้าน

นอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ท้องเสีย เข้าข่ายอาการโควิด-19 ให้เริ่มแยกตัวเองออกมาจากคนในบ้านเพื่อกักตัวสังเกตอาการ

ทำอย่างไร หากสงสัยว่า ติดเชื้อโควิด-19?

หลังเริ่มแยกตัวเองออกมาจากคนในบ้านเพื่อกักตัวสังเกตอาการ ควรให้บุคคลใกล้ชิดหาซื้อชุดตรวจ Rapid Antigen Kits ที่มีขายตามโรงพยาบาล คลินิกเวชกรรม หรือเทคนิคการแพทย์ สถานที่ขายยาปัจจุบันที่มีเภสัชกรประจำ เลือกชุดตรวจที่มีใบอนุญาต 

หรือเช็กรายชื่อชุดตรวจ Rapid Antigen Kits ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพียงกดที่นี่

หากผลตรวจเป็น “สองขีด หรือผลบวก” อาจหมายความติดเชื้อ จำเป็นต้องติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อเข้ารับการตรวจยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้ง หรือติดต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก่อน 

ด้วยการโทร.1330 แล้วกด 14 เพื่อทำการลงทะเบียน และเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่

หากแพทย์พิจารณาแล้วว่า เป็นผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว) อายุไม่เกิน 60 ปี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือมีข้อบ่งชี้สุขภาพ

แพทย์จะพิจาณาให้เข้าสู่กระบวนการ Home isolation แยกกักตัวที่บ้านได้โดยจับคู่กับคลินิกชุมชนอบอุ่นดูแลที่บ้าน ทางเจ้าหน้าที่จะส่งอุปกรณ์และดำเนินตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • แจกเครื่องวัดไข้ วัดออกซิเจนในเลือด ยาฟ้าทะลายโจร ส่งอาหาร 3 มื้อ
  • วิดีโอคอล หรือโทรติดต่อ เพื่อติดตามอาการ วันละ 2 ครั้ง
  • ส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอเตียง พร้อมจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อประคับประคองอาการระหว่างรอ

จากนั้นขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อประคองอาการให้ดีที่สุดระหว่างรอการประสานเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, อย่าละเลย ทำ ทันที เมื่อกลับถึงบ้าน (https://m.facebook.com/กรมควบคุมโรค-กระทรวงสาธารณสุข-470988516420706/), 30 กรกฎาคม 2564.

CDC, How to Protect Yourself & Others (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/prevention.html), 30 July 2021.

Harvard Health, Preventing the spread of the coronavirus (https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/preventing-the-spread-of-the-coronavirus), 30 July 2021.

WHO, COVID-19 transmission and protective measures (https://www.who.int/westernpacific/emergencies/covid-19/information/transmission-protective-measures), 30 July 2021.

@‌hdcoth line chat