ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ (แบบเปิด)
มะเร็งลำไส้ใหญ่ รีบผ่าตัดก่อนจะลุกลามไปส่วนอื่น
ถ้ามะเร็งลุกลามไปที่ทวารหนัก จำเป็นต้องตัดออก และทำทวารเทียมที่หน้าท้อง
ผ่าตัดแบบเปิด ทำได้กับมะเร็งทุกขนาด หรือมะเร็งที่กินเนื้อเยื่อข้างเคียงเยอะ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
อายุ 45 ปี ขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เป็นประจำ
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ให้คุณวันนี้
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่คือ การผ่าตัดลำไส้และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆ ความผิดปกติ
- ผ่าตัดแบบเปิด มีแผลยาวที่หน้าท้องประมาณ 20-30 ซม. เหมาะกับมะเร็งก้อนใหญ่หรือติดเนื้อเยื่อข้างเคียงเยอะ
- ผ่าตัดแบบส่องกล้อง เจาะรูเล็กๆ 3-4 รู ประมาณ 0.5-1 ซม. สอดกล้องพร้อมอุปกรณ์เข้าไปตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าตัดแบบเปิด
อาการแบบไหนก็ผ่าตัดได้ รีบผ่าตัดก่อนมะเร็งลุกลาม
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
คำถามที่พบบ่อย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ผ่าตัดแล้วจะมีโอกาสหายขาดไหม?
โรคมะเร็งลำใหญ่สามารถรักษาได้ แต่จะหายขาดหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบที่ระยะโรคใด หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และสามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้หมดก็จะมีโอกาสรักษาหายขาดสูงถึง 90%
ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กี่วันถึงจะสามารถกลับมารับประทานอาหารได้?
ในช่วงแรกหลังผ่าตัด แพทย์จะให้งดอาหารก่อน เพื่อให้แผลในลำไส้ต่อกันดี โดยจะให้น้ำเกลือ 5-6 วัน และหลังจากนั้นก็จะให้อาหารทางสายยางประมาณ 2 วัน จึงงะค่อยให้เริ่มกลับมารับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้
รู้จักโรคนี้
“มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก” โรคมะเร็งอันดับที่ 3 ของไทย
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นชนิดของมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 3 ของไทย มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะรู้ตัวจากการที่มีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายมีมูกเลือด ท้องผูก ต้องเบ่งถ่ายตลอดเวลา และอุจจาระเล็กลง แล้วไปพบแพทย์
อาการเหล่านี้มักเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในระยะท้ายๆ ทำให้รักษาได้ยาก และมีโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูง
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ท้องอืดเรื้อรัง ท้องอืดไม่ทราบสาเหตุ
- ท้องผูกสลับท้องเสีย
- อุจจาระมีเลือดเจือปน
- รู้สึกถ่ายไม่สุด
- น้ำหนักลดผิดปกติ อ่อนเพลีย
- คลำเจอก้อนในท้อง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้เห็นภาพในลำไส้ใหญ่ได้ชัด และเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจความผิดปกติได้เลย [ดูรายละเอียดการตรวจที่นี่]
- ตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fecal Immunochemical Test: FIT) เป็นการตรวจว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือไม่
- ตรวจโดยใช้เครื่องมือซฺกมอยด์โดสโคป (Sigmoidoscopy) เป็นการตรวจหาเนื้องอก มะเร็ง และสิ่งผิดปกติต่างๆ สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจความผิดปกติได้เลย
- ใช้สารทึบแสงแบบเรียมร่วมกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง สุขภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยทั่วไปการรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ที่มีเนื้อร้ายออก การให้เคมีบำบัด และการฉายรังสี
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบเปิด (Open Colectomy) แพทย์จะผ่าตัดเปิดแผลทางหน้าท้อง เพื่อเอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆ ความผิดปกติออกไปให้หมด การผ่าตัดแบบเปิดเหมาะกับมะเร็งก้อนใหญ่ หรือมะเร็งที่ติดเนื้อเยื่อข้างเคียงเยอะ
ถ้ามะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอยู่ติดกับทวารหนัก อาจต้องทำทวารเทียมด้วยการเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออกแทน
ขั้นตอนการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบเปิด
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาด 20-30 ซม. ขึ้นกับขนาดของก้อนมะเร็ง
- แพทย์ตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก
- เย็บปิดแผล
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบเปิด
- เปิดแผลยาวที่หน้าท้องประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นกับขนาดของก้อนมะเร็ง
- เหมาะกับมะเร็งก้อนใหญ่หรือติดเนื้อเยื่อข้างเคียงเยอะ
ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบบส่องกล้อง
- เปิดแผลเล็ก 3-4 รู ประมาณ 0.5-1 ซม.
- แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- ดูรายละเอียดการผ่าตัดแบบส่องกล้องที่นี่
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- เข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อประเมินสุขภาพโดยรวม
- ในกรณีที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ เพิ่มเติม แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมโรคให้ดีก่อน
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะต้องทำให้ลำไส้สะอาดด้วยการงดอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก และผลไม้ และรับประทานอาหารน้ำที่ใสก่อนวันผ่าตัด
- กินยาถ่ายในวันผ่าตัด เพื่อที่จะได้ไม่มีอะไรตกค้างในลำไส้
- งดรับประมาณอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- ในกรณีที่กำลังรับประทานยารักษาโรค อาหารเสริม หรือวิตามิน จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- ในกรณีที่ผ่าตัดแบบเปิดแผลหน้าท้อง จะต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก และยกของหนัก 3-4 เดือนแรกหลังผ่าตัด
- ในกรณีที่ผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก และยกของหนัก 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- เข้ารับการตรวจติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงปีแรก แพทย์อาจให้ไปตรวจทุก 2 เดือน และหลังจากครบ 2-3 ปีแล้ว ก็จะมีระยะห่างขึ้น เป็น 2-3 เดือนต่อครั้ง ไปจนถึงทุก 6 เดือน
- หากหลังจากรักษาแล้ว มีอาการปวดแผล มีไข้ แผลผ่าตัดบวมแดงร้อน มีน้ำเหลือง หรือหนองซึมจากแผล ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอนัดหมาย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เจ็บและปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดให้
- อาจเกิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน (พบได้น้อย) เช่น รอยต่อลำไส้รั่ว อวัยวะข้างเคียงได้รับการบาดเจ็บ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อไต
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. วรัญญู จิรามริทธิ์ (หมอเต้ย)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจ
-วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ: การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง, การส่องกล้องทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณธีพัฒน์ เอื้อนิธิเลิศ (หมอตั้ม)
ข้อมูลของแพทย์
- อดีตอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรม ศัลยแพทย์ผ่าตัดประสบการณ์มากกว่า 4 ปี ผ่านเคสผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- โรค/หัตถการที่ชำนาญ การผ่าไส้เลื่อนแบบเปิด, การผ่าตัดริดสีดวง, การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดและแบบรูแผลซ่อนในสะดือ, การส่องกล้องลำไส้และทางเดินอาหาร