ผ่าตัดไส้ติ่ง (แบบส่องกล้องแผลเดียว)
รีบรักษาก่อนไส้ติ่งแตก อันตรายถึงชีวิต
ผ่าตัดส่องกล้องแผลเดียว แผลซ่อนที่สะดือ มองแทบไม่เห็น
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ปวดท้องไส้ติ่ง ปวดท้องฝั่งขวาล่างของร่างกาย
- ถ้าไส้ติ่งปวดบวม ขาดเลือดนาน ไส้ติ่งจะตาย
- ระยะเวลาของไส้ติ่งอักเสบไปจนถึงไส้ติ่งแตกเกิดได้ภายใน 48-72 ชม.
- ถ้าไม่รักษา ไส้ติ่งจะแตก ทำให้สิ่งอุดตันรั่วไหลไปอวัยวะอื่นๆ ทำให้ติดเชื้อ และอันตรายถึงชีวิต
มีอาการสงสัยว่าเป็นไส้ติ่ง อย่าปล่อยทิ้งไว้
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ด่วนๆ ไม่ควรกินยาแก้ปวด เพราะยาจะทำให้ไม่รู้สึกถึงอาการที่แท้จริง ทำให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ยาก
- ปวดท้องบิดเป็นพักๆ รอบสะดือ คล้ายท้องเสีย แต่ถ่ายไม่ออก แล้วย้ายมาปวดที่ท้องน้อยด้านขวา
- อาการจะเริ่มจากปวดน้อยๆ แล้วค่อยๆ มากขึ้น ถ้ากดตรงที่ปวดแล้วจะยิ่งเจ็บ
- ถ้าปลายไส้ติ่งชี้ไปด้านหลัง อาจมีอาการปวดเสียวที่หลัง เอว หรือปวดซี่โครง
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด มีไข้ ท้องผูก หรือท้องเสีย
เป็นไส้ติ่งอย่าปล่อยทิ้งไว้
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
- ผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้องแผลเดียว อยู่ที่สะดือ แทบมองไม่เห็น ทำได้เฉพาะไส้ติ่งอักเสบแบบไม่ซับซ้อน
- ผ่าตัดไส้ติ่งแบบส่องกล้อง แผลเล็ก 1-2 ซม. ประมาณ 2-3 รูที่หน้าท้อง พักฟื้นประมาณ 1-2 วัน มีภาวะไส้ติ่งจะแตกก็ทำได้
- ผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด มีแผลที่หน้าท้องประมาณ 12-20 ซม. ต้องพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์
รู้จักโรคนี้
ไส้ติ่ง อยู่ตรงไหนของร่างกาย?
ไส้ติ่ง คือ กระเปาะผอมๆ ที่ติดอยู่กับลำไส้ใหญ่ ซึ่งอยู่ในช่องท้องส่วนล่างทางด้านขวา ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อคนเรายังเป็นเด็ก แต่จะหยุดทำหน้าที่นี้ไปเมื่อเราโตขึ้น
ไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งแตก สาเหตุคืออะไร?
ไส้ติ่งอาจเกิดการอักเสบได้จากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือบางครั้งอาจเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมอุดตัน เช่น อุจจาระแข็ง พยาธิ เนื้องอก ไส้ติ่งอักเสบจะมีอาการปวดบวม เลือดไม่ไปเลี้ยง
เมื่อขาดเลือดนานๆ ไส้ติ่งจะเริ่มตายลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเกิดไส้ติ่งแตก ซึ่งจะทำให้สิ่งอุดตันภายในไส้ติ่งรั่วไหลออกไปสู่อวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย
- ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
- ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง เพื่อดูการทำงานของอวัยวะภายใน และตรวจการไหลเวียนเลือด
- ตรวจ CT Scan
- ตรวจ MRI ใช้ในบางกรณีเท่านั้น
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
ไส้ติ่งที่เกิดการอักเสบไปแล้วมีวิธีรักษาเพียงวิธีเดียวเท่านั้นคือผ่าตัดนำไส้ติ่งออกจากร่างกาย
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
ภาวะไส้ติ่งอักเสบถึงไส้ติ่งแตกอาจเกิดขึ้นได้ภายใน 48-72 ชั่วโมง เป็นภาวะที่อันตรายมาก คนไข้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อีอาการสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งจึงควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็ว
ไส้ติ่งอักเสบ อาการเป็นอย่างไร?
- เริ่มจากปวดท้องบิดเป็นพักๆ บริเวณรอบสะดือ คล้ายอาการท้องเสีย แต่ถ่ายไม่ออก แล้วย้ายมาปวดที่ท้องน้อยด้านขวา
- อาการปวดมักเริ่มจากปวดน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ มากขึ้น เมื่อกดตรงที่ปวดแล้วจะยิ่งเจ็บ
- บางกรณี ถ้าปลายไส้ติ่งชี้ไปด้านหลัง คนไข้อาจมีอาการปวดเสียงที่หลัง เอว หรือปวดซี่โครง
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด มีไข้ ท้องผูก หรือท้องเสีย
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ ไม่ควรกินยาแก้ปวด เพราะยาจะส่งผลให้คนไข้ไม่รู้สึกถึงอาการที่แท้จริง อาจทำให้แพทย์วินิจฉัยอาการยากขึ้น หรือวินิจฉัยโรคได้ไม่แม่นยำ
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Appendectomy) ทางเลือกการรักษาแบบไม่ทิ้งแผลเป็น แพทย์จะเปิดแผลเดียวที่สะดือ หลังการผ่าตัดแทบมองไม่เห็นรอยแผลเป็น
การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้องแบบแผลเดียว ทำได้กับภาวะไส้ติ่งอักเสบไม่ซับซ้อน และจำเป็นต้องทำการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียวเท่านั้น
ขั้นตอนการผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้องแผลเดียว
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลที่ผิวหนังเพียงแผลเดียว ขนาดแผลประมาณ 2 ซม. แล้วใส่อุปกรณ์หน้าตาคล้ายท่อ ประกอบด้วยช่องหลายขนาดเพื่อเป็นช่องทางใส่เครื่องมือผ่าตัดต่างๆ และกล้องเข้าไป
- ระหว่างการผ่าตัดจะมีการให้แก๊สคาร์บอกไดออกไซด์ในบริเวณช่องท้อง เพื่อเพิ่มพื้นที่ผ่าตัดและให้มองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน
- แพทย์เข้าไปตัดไส้ติ่งออกพร้อมเย็บปิดแผลให้เรียบร้อย
หลังผ่าเอาชิ้นไส้ติ่งออกไปแล้ว แพทย์จะส่งตรวจชิ้นไส้ติ่งในห้องปฏิบัติการเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโรคหรือเนื้อร้าย
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด
- เป็นการผ่าตัดรักษาแบบดั้งเดิม
- มีแผลที่หน้าท้องขนาดประมาณ 12-20 ซม.
- หลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์
การผ่าตัดไส้ติ่งแบบส่องกล้อง
- เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ ช่วยให้มีแผลผ่าตัดขนาดเล็กประมาณ 1-2 ซม. ประมาณ 2-3 รู
- ผ่าตัดส่องกล้องทำให้เสียเลือดน้อยลง ลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง และคนไข้ใช้เวลาพักฟื้นสั้นกว่า ประมาณ 1-2 วัน
- การผ่าตัดไส้ติ่งแบบส่องกล้อง รักษาคนไข้ภาวะไส้ติ่งแตกได้
การผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้องแผลเดียว
- เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้องแต่เปิดแผลที่ผิวหนังเพียงแผลเดียวที่สะดือ
- ขนาดแผลประมาณ 2 ซม.
- ทำได้กับภาวะไส้ติ่งอักเสบไม่ซับซ้อน
- จำเป็นต้องทำการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียวเท่านั้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผ่าตัดไส้ติ่งแล้ว มีผลกระทบต่อร่างกายหรือไม่?
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเมื่อเรายังอยู่ในวัยเด็กเท่านั้น และจะหยุดทำหน้าที่ดังกล่าวเมื่อเราโตขึ้น ดังนั้นการผ่าตัดไส้ติ่งออกไปจึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ คนไข้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับประทานอาหารหรือการดำเนินชีวิต
หลังผ่าตัด พักผ่อนให้ร่างกายฟื้นตัว รับประทานยาครบรวมถึงปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำจนหายดี คนไข้จะสามารถกลับมาประกอบกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ
ไส้ติ่งอักเสบ เป็นภาวะฉุกเฉิน เมื่อมีอาการน่าสงสัยควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็ว ยิ่งไปตั้งแต่เนิ่นๆ อาการยังไม่รุนแรงจะยิ่งมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกในการผ่าตัด
หากสถานพยาบาลที่คุณเข้าไปรับการตรวจเป็นที่แรกมีทางเลือกในการผ่าตัดไม่มากนัก อาจปรึกษาแพทย์เพื่อให้ส่งตัวไปยังสถานพยาบาลอื่นๆ ที่มีความพร้อมมากกว่า โดยอย่าลืมสอบถามถึงเอกสาร ใบรับรองผลการตรวจที่จำเป็น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดให้ครบถ้วน
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. จิตรภาณุ วงศ์ยงศิลป์ (หมอจี้)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร การส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร สาขาโรคเต้านม
- Certification of Endoscopic and Laparoscopic Surgery, Japanese Red Cross Hospital (Japan)
- Certification of Clinical Fellowship at Department of Gastroenterological Surgery, Tokyo Women's Medical University (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน (Hernia Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง (Advanced Endoscopy)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. อธิวุฒิ บวรวัฒนวานิช (หมอตั้ม)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2563 วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี
- 2565 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2565 Certificate of Fellowship Program in Division of Colorectal Surgery, The Catholic University of Korea (Korea)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง (Endoscopic Thyroidectomy) ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง (Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณธีพัฒน์ เอื้อนิธิเลิศ (หมอตั้ม)
ข้อมูลของแพทย์
- อดีตอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรม ศัลยแพทย์ผ่าตัดประสบการณ์มากกว่า 4 ปี ผ่านเคสผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- โรค/หัตถการที่ชำนาญ การผ่าไส้เลื่อนแบบเปิด, การผ่าตัดริดสีดวง, การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดและแบบรูแผลซ่อนในสะดือ, การส่องกล้องลำไส้และทางเดินอาหาร