ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก (Laparoscopic Roux En Y Gastric Bypass)
ลดน้ำหนักที่ต้นเหตุ หิวน้อยลง อิ่มไวขึ้น ไม่โหย ไม่ทรมาน
คุณน่าจะลดได้เท่าไหร่? ปรึกษาคุณหมอฟรีวันนี้! (ส่วนใหญ่ลดประมาณ 50% ใน 2 ปี)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
กินคลีน ทำ IF ทำคีโต หรือจะออกกำลังกายยังไง น้ำหนักก็ยังไม่ลงจนท้อ และเริ่มมีโรคและอาการต่างๆ ตามมา เหนื่อยง่าย ปวดเข่า นอนกรน จนเริ่มกลัว อยากกลับมาสุขภาพดี มีแรงใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาจช่วยได้
แต่ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ลองศึกษาและปรึกษาคุณหมอดูก่อน ทีมแพทย์และ HDcare พร้อมดูแลให้ข้อมูลคุณทุกขั้นตอน
**น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI **
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ให้แอดมินคำนวณค่า BMI ให้คุณ [คลิกที่นี่]
ผ่าตัดกระเพาะหรือใส่บอลลูนดี?
- ทั้งผ่าตัดกระเพาะและใส่บอลลูน เป็นวิธีที่ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลงเหมือนกัน
- ใส่บอลลูน เหมาะกับคนที่หนักไม่มาก ใส่บอลลูนแค่ 12 เดือนแล้วเอาออก ข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด แต่หลายคนกลัวอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงร่างกายปรับตัว และกลัวน้ำหนักขึ้นหลังเอาบอลลูนออก
- ผ่าตัดกระเพาะ ทำให้กินได้น้อยลง ลดฮอร์โมนความหิว ทำให้ไม่โหยและไม่ทรมาน อิ่มเร็วและอิ่มนาน เห็นผลดีกว่า
ผ่าตัดกระเพาะแต่ละเทคนิคต่างกันยังไง?
- ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy: SG) เอากระเพาะออกประมาณ 80% เป็นวิธีไม่ซับซ้อน มีความเสี่ยงน้อย
- ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y Gastric Bypass) เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงเล็กๆ แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผ่าตัดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะออกแล้วทำบายพาส (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass) ผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลง แล้วต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
ผ่าตัดกระเพาะแล้ว น้ำหนักจะลดเท่าไหร่?
นัดคิวปรึกษาหมอเบิ้ลวันนี้!
ผ่าตัดกระเพาะ เบิกประกันได้มั้ย?
- ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ให้ HDcare เช็กความคุ้มครองให้ได้ ทักเราเลย!
- ถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เลือกผ่อน 0% ด้วยบัตรเครดิตกับ HDcare ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด คำนวณค่า BMI ด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- **ปรับพฤติกรรมด้วยตัวเอง **ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน
- **ควบคุมน้ำหนักโดยใช้ยา **โดยจะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้
- ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ทำในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีข้อบ่งชี้ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถตัดกระเพาะได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
**น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI **
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Roux En Y Gastric Bypass หรือ RYGB จะผ่าตัดเย็บกระเพาะส่วนต้นให้เป็นถุงขนาดเล็ก แล้วทำทางเดินอาหารใหม่ เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก
ส่วนของกระเพาะที่ผ่าตัดแล้วต่อกับลําไส้เล็กมีรูปร่างคล้ายตัว Y เป็นที่มาของชื่อการผ่าตัด Roux-en-Y
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบบายพาส (RYGB) จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ และหลังผ่าตัดต้องติดตามผลเป็นระยะ ผู้รับบริการต้องเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ชีวิต การกินอาหารเพื่อให้การลดน้ำหนักประสบความสำเร็จ
ขั้นตอนผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส (RYGB)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เจาะรู้เล็กๆ 4-5 รู ขนาดประมาณ 1-2 ซม. เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องเข้าไปทางหน้าท้อง
- แพทย์เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงขนาดเล็กประมาณไข่ไก่ แล้วตัดลำไส้เล็กเย็บเชื่อมกับถุงกระเพาะขนาดเล็กที่ทำไว้เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร จากปกติที่กระเพาะจะรับอาหารได้ประมาณครึ่งลิตร เปลี่ยนเป็นรับอาหารได้ประมาณ 30 มล. เท่านั้น
- อาหารจะเข้าสู่กระเพาะขนาดเล็ก แล้วเข้าสู่ลำไส้ส่วนกลาง โดยข้ามลำไส้ส่วนต้นไปซึ่งเป็นส่วนที่ดูดซึมอาหารได้มากที่สุด
- หลังผ่าตัด ทีมแพทย์จะดูแลให้คนไข้ฟื้นจากยาสลบอย่างปลอดภัย และนัดตรวจติดตามผลเป็นระยะ
ระยะเวลาในการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส (RYGB)
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส (RYGB) ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 2 ชม.
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส (RYGB)
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) ช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารและพลังงานได้น้อยลง เป็นวิธีลดน้ำหนักระยะยาว
ช่วยให้น้ำหนักตัวที่เกินลดลงประมาณ 70% ภายในระยะ เวลา 2 ปี โดยปีแรกจะเป็นช่วงที่น้ำหนักลดเร็วที่สุด จากนั้นจะค่อยๆ ลดช้าลงและคงที่ในที่สุด
นอกจากช่วยให้น้ำหนักลดแล้ว การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) ยังช่วยให้ปัญหาสุขภาพดีขึ้น
หลังผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ จะกินอาหารได้น้อยลง ดูดซึมอาหารน้อยลง จนน้ำหนักลดลงแล้ว ยังทำกิจวัตรประจําวันต่างๆ ได้ดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่จะได้รับสารอาหารและวิตามินน้อยลงไปด้วย
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก เพื่อให้กระเพาะเล็กลงและหิวน้อยลง
- เปิดแผลเล็กๆ เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปผ่าเอากระเพาะออกประมาณ 80%
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2 วัน
- ซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าลดกระเพาะเทคนิคอื่น
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 40-50% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก
- เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงขนาดเล็ก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-3 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 70% ภายใน 2 ปี
**ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟพลัสบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก **[คลิกดูรายละเอียด]
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เป็นเทคนิคที่รวมการตัดกระเพาะแบบสลีฟ และแบบบายพาสเข้าไว้ด้วยกัน
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2-3 วัน
- ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าเทคนิคอื่น ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
- อาจลดน้ำหนักได้ 80-90% ภายใน 2 ปี
**ใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร **[คลิกดูรายละเอียด]
- ใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัว เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา
- กระเพาะอาหารมีขนาดเท่าเดิม หลังเอาบอลลูนออก ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นอีกได้
- เหมาะกับคนที่มี BMI เกิน 30 (หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หยุดหายใจขณะหลับ)
- ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที และพักฟื้นที่ รพ. 1 วัน
- ใส่บอลลูน 6-12 เดือน ลดน้ำหนักได้ประมาณ 20 กก. ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพปอด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง ในบางคน แพทย์อาจพิจารณาให้ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารก่อน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 7-14 วันก่อนผ่าตัด
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- ก่อนผ่าตัด 8 ชั่วโมง พยาบาลจะฉีดยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) ต้องกินวิตามินอะไรบ้าง?
กาผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) ทําให้รับวิตามินและแร่ธาตุลดลง แพทย์อาจแนะนำให้รับวิตามินเสริมทดแทน เช่น
- วิตามินรวม
- แคลเซียม
- วิตามินบี 12
- วิตามินดี
- ธาตุเหล็ก
นอกจากการตรวจติดตามแผลผ่าตัด ยังต้องตรวจระดับวิตามินในร่างกายทุก 6 เดือน เพื่อปรับเพิ่ม-ลดวิตามินเสริมให้เหมาะสม หลังผ่าตัดประมาณ 1 ปี กระเพาะส่วนต้นที่ถูกเย็บไว้จะขยายออก
ช่วงปีแรกหลังตัดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) ควรเป็นช่วงเวลาที่คนไข้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เช่น การเลือกและควบคุมอาหาร การออกกําลังกาย เพื่อให้การลดน้ำหนักได้ผลและไม่กลับมาเพิ่มอีก
หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาต้องพักฟื้นกี่วัน?
ใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-5 วัน ขึ้นกับแต่ละคน
หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- งดออกกำลังกายหนัก 2 สัปดาห์ และงดยกของหนัก 1 เดือน
- เปิดพลาสเตอร์ปิดแผลออกได้หลังจากผ่าตัดครบ 7 วัน
หลังผ่าตัดกระเพาะ แนะนำให้ปรับพฤติกรรมการกินดังนี้
- ควรจิบน้ำเปล่าระหว่างวันบ่อยๆ แต่ไม่ควรดื่มน้ำก่อนและหลังอาหาร 30-45 นาที
- หยุดกินทันทีที่รู้สึกอิ่ม
- ตัดอาหารชิ้นเล็ก เคี้ยวให้ละเอียดจนเหลวก่อนกลืน โดยทั่วไปคาดหวังว่าจะเคี้ยงอย่างน้อย 30 ครั้งก่อนกลืน
- เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง โดยจำกัดปริมาณน้ำตาล 15 กรัม หรือน้อยกว่าต่อ 1 มื้ออาหาร
- ควรกินอาหารประเภทโปรตีน 60-90 กรัมต่อวัน
- เลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน
- กินวิตามินและแร่ธาตุเสริม ตามคำแนะนำของแพทย์
หลังผ่าตัดกระเพาะ กินอะไรได้บ้าง?
- สัปดาห์ที่ 1-2 อาหารเหลว เช่น น้ำซุปใส น้ำผัก น้ำผลไม้ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นโจ๊ก
- สัปดาห์ที่ 3 อาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ไข่ตุ๋น ข้าวต้ม
- สัปดาห์ที่ 4 อาหารธรรมดา แต่เน้นปรุงสุกและเน้นโปรตีนสูง
- สัปดาห์ที่ 5 กินอาหารได้ตามปกติ แต่ควรกินในปริมาณน้อย และเคี้ยวให้ละเอียด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลังผ่าตัดกระเพาะ พื้นที่กระเพาะอาหารที่เหลือน้อยอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ในช่วงเดือนแรกที่ยังปรับตัวไม่ได้ ส่วนอาการแทรกซ้อนอื่นๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ดังนี้
- มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
- ติดเชื้อ
- แผลผ่าตัดรั่ว
- อวัยวะภายในบาดเจ็บ
- ลำไส้อุดตัน
- ลิ่มเลือดอุดตัน
ในกรณีที่การผ่าตัดมีปัญหา อาจต้องทำการผ่าตัดซ้ำ แต่โอกาสเกิดน้อยประมาณ 1%
หลังจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) ช่วง 3-6 เดือนแรก ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงเพราะน้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจทําให้มีอาการเหล่านี้
- รู้สึกปวดเมื่อยเนื้อตัว
- รู้สึกเหนื่อย เหมือนเป็นไข้หวัด
- รู้สึกหนาวเย็น
- ผิวแห้ง
- ผมบางลงหรือมีผมร่วง
- อารมณ์แปรปรวน
ผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจเกิดได้หลังผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบบายพาส (RYGB) เช่น
- เป็นลําไส้อุดตัน
- เป็น Dumping Syndrome หรืออาการที่เกิดจากการระบายอาหารออกจากกระเพาะสู่ลําไส้เล็กรวดเร็วเกินไปจนลําไส้โป่งพอง อาจมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- เกิดนิ่วในถุงน้ำดี
- ไส้เลื่อน
- นํ้าตาลในเลือดตํ่า
- ขาดสารอาหาร
- กระเพาะทะลุ
- เกิดแผลในทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. สุทธิเกียรติ จรดล (หมอเบิ้ล)
คุณหมอเฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน ผู้ก่อตั้งคลินิกรักษาโรคอ้วน รพ. พระนั่งเกล้า
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ผู้ก่อตั้งและดำเนินการคลินิกรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี