ความแตกต่างของการแพ้วัคซีนโควิด VS ผลข้างเคียง แบบไหนที่เรียกว่า "แพ้" กันแน่


อาการแพ้วัคซีนโควิดต่างจากผลข้างเคียงวัคซีนโควิดอย่างไร-แพ้วัคซีนโควิด 19 เกิดจากอะไร-อาการแพ้วัคซีนโควิด เป็นอย่างไร-ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด คืออะไร-วัคซีนโควิด ใครบ้างที่ห้ามฉีด

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การแพ้วัคซีน ซึ่งหมายถึง ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ซึ่งจะเกิดอาการอย่างเฉียบพลันและรุนแรง พบได้ตั้งแต่ภายใน 15 แรกหลังได้รับวัคซีน จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • อาการข้างเคียงจากวัคซีน ซึ่งหมายถึง ผลที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจากยา หรือฤทธิ์ของยานั่นเอง พบได้ราว 30 นาทีต่อมาหลังฉีดวัคซีน อาการเหล่านี้จะไม่รุนแรง คงอยู่ราว 1 วัน แล้วจะค่อยๆ หายไปเอง
  • อาการแพ้วัคซีนโควิดทั่วโลกที่มีรายงานแล้ว ได้แก่ ผิวหนังเกิดอาการคัน ลมพิษ ผื่นแดง ใบหน้าบวม ตาบวม ลิ้นบวม หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง ความดันโลหิตตก และช็อค 
  • ด้วยสัดส่วนของผู้แพ้วัคซีนรวมถึงผู้ได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนในระดับรุนแรงที่มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ที่ลดน้อยลงอย่างชัดเจนในประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จึงยังคงแนะนำให้ประชาชนทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดตามที่กำหนดและจัดลำดับคิวให้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdmall.support

หลังหลายประเทศเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด หรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 หลากหลายยี่ห้อมาตั้งแต่ช่วงธันวาคม 2563 เราจะได้ข่าวการแพ้วัคซีนโควิด-19 และอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิดอยู่เป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์

ล่าสุดเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์/ สาธารณสุข บุคคลในกลุ่มพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด และเริ่มปรากฏผู้แพ้วัคซีนโควิดแล้วเช่นกัน

ข่าวแพ้วัคซีนโควิด-19 ดังกล่าวอาจสร้างความตกใจให้หลายๆ คน แท้จริงแล้ว อาการแพ้วัคซีนชนิดนี้เป็นอย่างไร แบบไหนที่เรียกว่าแพ้ หรือแบบไหนที่เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนกันแน่ HDmall.co.th มีคำตอบ


เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับอาการแก้วัคซีนโควิดได้ที่นี่

  • แพ้วัคซีนโควิดต่างจากผลข้างเคียงวัคซีนโควิด อย่างไร?
  • แพ้วัคซีนโควิด 19 เกิดจากอะไร?
  • อาการแพ้วัคซีนโควิด เป็นอย่างไร?
  • ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด คืออะไร?
  • วัคซีนโควิด ใครบ้างที่ห้ามฉีด?
  • หากแพ้วัคซีนโควิด หรือมีอาการข้างเคียงรุนแรงต้องทำอย่างไร?

  • แพ้วัคซีนโควิดต่างจากผลข้างเคียงวัคซีนโควิด อย่างไร?

    วัคซีนโควิดที่ผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อ ใช้เทคโนโลยีการผลิตถึง 6 ประเภทด้วยกัน โดยวัคซีนประเภท mRNA Vaccine ซึ่งเป็นการตัดต่อเฉพาะส่วนพันธุกรรมเชื้อไวรัสที่ไม่ก่อโรคมาฉีดกระตุ้น เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่ม นับเป็นวัคซีนโควิดที่ครองแชมป์การนำมาใช้มาที่สุด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีนี้เช่น ไฟเซอร์ โมเดอร์นา

    รองลงมาคือ วัคซีนประเภท Inactivated Vaccine คือ วัคซีนที่ทำให้เชื้อไวรัสอ่อนแรงลงจนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังสามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนั้นๆ ได้ เช่น ซิโนแวค ซึ่งเริ่มฉีดในไทยเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั่นเอง

    นอกจากนี้การผลิตวัคซีนยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้สารประกอบอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของวัคซีน เช่น Aluminum hydroxide ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน Thimerosal และ Formaldehyde เป็นสารกันเสีย Polyethylene glycol (PEG) หรือ polysorbate ซึ่งช่วยส่งเสริมการละลายน้ำในวัคซีน

    ด้วยเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิดและสารประกอบในวัคซีนโควิดที่มีหลายชนิด จึงมีโอกาสทำให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดทุกคนมีโอกาสเกิด “อาการไม่พึงประสงค์” จากวัคซีนตามมาได้ เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนโดยทั่วไป

    ตรวจโควิด RT PCR ราคา

    อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้แก่

    • อาการแพ้วัคซีน ซึ่งหมายถึง ปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีอาการแพ้หรือไม่ กลุ่มนี้พบได้น้อย ราว 5 เปอร์เซ็นต์ แต่จะเกิดอาการอย่างเฉียบพลันและรุนแรง พบได้ตั้งแต่ภายใน 15 แรกหลังได้รับวัคซีน จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
    • อาการข้างเคียงจากวัคซีน ซึ่งหมายถึง ผลที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจากยา หรือฤทธิ์ของยานั่นเอง พบได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ราว 30 นาทีต่อมาหลังฉีดวัคซีน อาการเหล่านี้จะไม่รุนแรง คงอยู่ราว 1 วัน แล้วจะค่อยๆ หายไปเอง

    นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดหลังการฉีดวัคซีนโควิดจึงต้องเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 30 นาที อย่างไรก็ตาม ภาวะแพ้วัคซีนนี้สามารถพบได้ถึง 4 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน

    แพ้วัคซีนโควิด 19 เกิดจากอะไร?

    ปัจจุบันหน่วยงานสาธารณสุขหลายประเทศต่างพยายามหาสาเหตุของการแพ้วัคซีนโควิดที่เกิดขึ้น เบื้องต้นสันนิษฐานว่า หนึ่งในสาเหตุการแพ้วัคซีนโควิดอาจเกิดจากสาร polyethylene glycol (PEG) หรือ polysorbate ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารช่วยส่งเสริมการละลายน้ำในวัคซีน เนื่องจากวัคซีน COVID-19 ไม่มีส่วนประกอบของไข่ไก่ สารกันเสีย หรือลาเทกซ์ (Latex)

    นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนประเภท mRNA Vaccine ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งการแพ้จุลินทร์ที่ก่อให้เกิดโรค 

    ปัจจุบันมีรายงานผู้แพ้วัคซีนโควิดของบริษัทไฟเซอร์จำนวน 11 รายใน 1 ล้านโดส ส่วนวัคซีนโควิดบริษัทโมเดอร์นามีผู้แพ้จำนวน 3.7 รายใน 1 ล้านโดส ส่วนข้อมูลการแพ้ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ยังไม่ปรากฏ เพราะอยู่ระหว่างการเริ่มกระจายวัคซีนเพื่อฉีดให้ประชาชน จึงต้องรอการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป 

    ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด

    อาการแพ้วัคซีนโควิด เป็นอย่างไร?

    สำหรับอาการแพ้วัคซีนโควิดทั่วโลกที่มีรายงานแล้ว ได้แก่

    • อาการทางผิวหนัง หรือเยื่อบุ เช่น ผิวหนังเกิดอาการคัน ลมพิษ ผื่นแดง ใบหน้าบวม ตาบวม ลิ้นบวม
    • อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก ติดขัด หายใจไม่ออก
    • วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
    • ความดันโลหิตตก
    • ช็อค (Anaphylactoid reaction)

    อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

    ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด คืออะไร?

    โดยทั่วไปหลังได้รับวัคซีนไม่ว่าชนิดใดตาม ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อวัคซีน ซึ่งถือเป็นอาการข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์ ดังนี้

    • ปวดแขนบริเวณที่ฉีด
    • ร้อนในบริเวณที่ฉีด
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • มีอาการคล้ายเป็นไข้ ใม่สบายตัว เช่น มีไข้ต่ำ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

    สิ่งสำคัญคือ อาการเหล่านี้จะไม่รุนแรง คงอยู่ราว 1-2 วัน แล้วจะค่อยๆ หายไปเอง หากเกิดผลข้างเคียงตั้งแต่การฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรก ส่วนการฉีดวัคซีนโควิดในเข็มที่สองก็อาจมีอาการมากขึ้นได้เล็กน้อย

    อย่างไรก็ตาม หากระดับของอาการข้างเคียงข้างต้นรุนแรงขึ้นสอดคล้องกับข้อต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    • ไข้สูง
    • แน่นหน้าอก
    • หายใจลำบาก
    • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
    • ปากเบี้ยว
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ผื่นขึ้นทั้งตัว
    • มีจุดแดง คล้ายจุดเลือดออกจำนวนมาก
    • อาเจียนรุนแรง มากกว่า 5 ครั้ง
    • ปวดท้อง
    • ท้องเสีย
    • ชัก / หมดสติ

    วัคซีนโควิด ใครบ้างที่ห้ามฉีด?

    กลุ่มที่ห้ามฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือควรได้รับคำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ ได้แก่

    • ผู้ที่มีประวัติอาการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง
    • ผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน
    • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    • เด็อายุต่ำกว่า 18 ปี
    • หญิงมีครรภ์
    • หญิงที่อยุ่ระหว่างให้นมบุตร

    อย่างไรก็ตาม ก่อนการฉีดวัคซีนโควิดทุกครั้งจะมีแพทย์ประเมินว่า “สามารถรับวัคซีนได้หรือไม่” เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้เข้ารับวัคซีนจะได้รับความปลอดภัยและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

    ส่วนการเข้ารับการตรวจภูมิต้านทานโรคทั้งก่อนและหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด ยังไม่ใช่สิ่งจำเป็นในขณะนี้

    ตรวจโควิด RT PCR ราคา

    หากแพ้วัคซีนโควิด หรือมีอาการข้างเคียงรุนแรงต้องทำอย่างไร?

    สำหรับในเมืองไทย ผู้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว ให้รายงานอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนผ่านทาง Line Official Account “หมอพร้อม” 

    ทั้งนี้ “หมอพร้อม” ให้บริการตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีน แสดงข้อมูลวัคซีนที่ได้รับ แสดงใบยืนยันการได้รับวัคซีน และแจ้งวันนัดฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แต่หากมีอาการผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นให้รีบแจ้งที่หมายเลข “1669” เพื่อให้รถพยาบาลไปรับมายังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

    ด้วยสัดส่วนของผู้แพ้วัคซีนรวมถึงผู้ได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนในระดับรุนแรงที่มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ที่ลดน้อยลงอย่างชัดเจนในประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว หน่วยงานสาธารณสุขจึงยังคงแนะนำให้ประชาชนทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดตามที่กำหนดและจัดลำดับคิวให้

    ส่วนผู้ที่รับวัคซีนโดสแรกไปแล้ว ก็ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ารับวัคซีนโดสที่ 2 ตามกำหนดต่อไป เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ให้ได้มากที่สุด

    อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอรับวัคซีนนั้น หรือแม้กระทั่งผู้ที่รับวัคซีนโควิดเข็มแรกไปแล้ว ก็ยังต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด เพราะวัคซีนเพียงช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคได้หากเกิดการติดเชื้อ แต่ยังไม่มีรายงานแน่ชัดถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบ 100 เปอร์เซ็นต์

    ดังนั้นการสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เว่นระยะห่างทางสัมคม หมั่นล้างมือให้ถูกวิธีบ่อยๆ จึงเป็นวิธีลดโอกาสการติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังคงใช้ได้เสมอ

    หากสนใจเข้ารับการตรวจโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdmall.support โดยจะมีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, การรับมือผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/การรับมือผลข้างเคียงวั/), 5 มีนาคม 2564.
    • Centers of Disease Control and Prevention, Myths & Facts COVID-19, (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/facts.html), 5 March 2021.
    • Harvard Health Publishing, COVID-19 vaccines What you need to know before getting vaccinated (https://www.health.harvard.edu/coronavirus-and-covid-19/covid-19-vaccines), 5 March 2021.
    • Heather Grey, COVID-19 Vaccine Side Effects: What to Know Now (https://www.healthline.com/health-news/covid-19-vaccine-side-effects-what-to-know-now), 5 March 2021.
    • WHO, Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines ( https://www.who.int/news-room/q-a-detail/coronavirus-disease-(covid-19)-vaccines?adgroupsurvey={adgroupsurvey}&gclid=Cj0KCQiAyoeCBhCTARIsAOfpKxg1z2UsPoj4gFr-V1XXVxjgqqBCk7sg4GdLrrpRcLmqfpZ6Is_b7o0aAvsTEALw_wcB), 5 March 2021.
    @‌hdcoth line chat