ยา Colloidal Silver - ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง
- ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับยา ทั้งชนิดของยา การใช้ยาอย่างเหมาะสม และข้อควรระวังของยา
- เภสัชกรจะถือว่า ประวัติสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้มาเป็นข้อมูลจริง และใช้ข้อมูลนั้นประกอบการให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ระหว่างคุณกับเภสัชกรในหน้าแชทส่วนตัวเท่านั้น
- HDmall.co.th จะติดต่อร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด ให้คุณปรึกษาและใช้บริการจัดส่งยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตโดยตรง
- HDmall.co.th ไม่ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ได้กระทำธุรกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดในหน้านี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น
- 🤝 สนใจเป็นหนึ่งในร้านขายยาที่ช่วยให้คำปรึกษาผู้ใช้ด้านยาหรือไม่? สมัครและใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
รายละเอียด
ข้อมูลภาพรวมของซิลเวอร์คอลลอยด์
ซิลเวอร์คอลลอยด์ (colloidal silver) คือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดทางวิทยาศาสตร์ถึงบทบาทหน้าที่ในร่างกายของมนุษย์แม้จะมีการกล่าวอ้างสรรพคุณมากมายก็ตาม ซิลเวอร์คอลลอยด์ จัดว่าเป็นแร่ธาตุที่ไม่จำเป็น ในอดีตร้านขายยามีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาซิลเวอร์คอลลอยด์มากมาย แต่เมื่อมีข้อมูลออกมาว่าแร่ธาตุตัวนี้ยังไม่ถูกพิจารณาว่าปลอดภัยหรือมีประโยชน์ใด ๆ ทำให้บรรดาสินค้าซิลเวอร์คอลลอยด์ ไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีหลักฐานยืนยันการจ่ายยาชนิดนี้ที่ร้านขายยาทั่วไป แม้ว่าจะยังมีสินค้าอาหารเสริมโภชนาการและการรักษาทางธรรมชาติ (homeopathic remedies) ที่ยังคงใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์อยู่ก็ตาม
ตามโลกอินเตอร์เน็ตมีการกล่าวถึงการผลิตซิลเวอร์คอลลอยด์เองที่บ้าน ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ผลิตเองไม่สามารถประเมินความสะอาดและความเข้มข้นของซิลเวอร์คอลลอยด์ที่ได้ทำให้วิธีดังกล่าวห่างไกลจากคำว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยอย่างมาก
แม้ว่าจะมีความกังขาในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิผลของซิลเวอร์คอลลอยด์ ผู้คนมากมายก็ยังหาซื้อซิลเวอร์คอลลอยด์มาใช้เป็นอาหารเสริมหรือใช้เพื่อรักษาโรคภัยต่าง ๆ กันอยู่
มีการกล่าวอ้างว่าซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาภาวะต่าง ๆ อย่างภาวะติดเชื้อ, มะเร็ง เบาหวาน ข้ออักเสบ และอื่น ๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์นั้นปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพ
ซิลเวอร์คอลลอยด์ ออกฤทธิ์อย่างไร?
ซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถกำจัดเชื้อโรคได้บางประเภทด้วยเข้าจับเกาะและทำลายโปรตีน
วิธีใช้และประสิทธิภาพของซิลเวอร์คอลลอยด์
ภาวะที่ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา
- ภาวะติดเชื้อที่ตา งานวิจัยพบว่าการใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของซิลเวอร์คอลลอยด์หยอดตาทั้งสองข้างของทารกแรกเกิดไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ อีกทั้งการทาสารละลายซิลเวอร์คอลลอยด์บนผิวดวงตาก่อนเข้ารับการผ่าตัดตาก็ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อของตาได้ดีเท่ากับการใช้สารละลาย povidone-iodine
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าซิลเวอร์คอลลอยด์รักษาได้หรือไม่
- หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
- กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome)
- อาหารไม่ย่อย (Digestion)
- ภาวะติดเชื้อที่หู (Ear infections)
- ถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
- อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
- ภาวะติดเชื้อรา (Fungal infections)
- โรคเหงือก (Gum disease)
- HIV/AIDS
- โรคลายม์ (Lyme disease)
- ป้องกันไข้และหวัด
- โรคโรซาเชีย (Rosacea)
- โพรงจมูกอักเสบ (Sinus infections)
- แผลในกระเพาะอาหาร (Stomach ulcers)
- วัณโรค (Tuberculosis)
- ภาวะติดเชื้อยีสต์ (Yeast infections)
- ภาวะอื่น ๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของซิลเวอร์คอลลอยด์เพิ่มเติม
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของซิลเวอร์คอลลอยด์
ซิลเวอร์คอลลอยด์ถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทาน ทาบนผิวหนัง หรือฉีดเข้ากระแสเลือด (intravenously (by IV)) โดยเงิน (silver) ในผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์คอลลอยด์จะเข้าไปสะสมอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ อย่างผิวหนัง ตับ ม้าม ไต กล้ามเนื้อ และสมอง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังมีสีน้ำเงินอ่อนแบบที่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยจะเกิดกับเหงือกก่อนเป็นที่แรก อีกทั้งสารนี้ยังกระตุ้นการผลิตเมลานินบนผิวหนังทำให้สีผิวคล้ำขึ้น โดยผิวหนังบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์จะพบการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ซิลเวอร์คอลลอยด์ถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อต้องทาบนผิวหนังหรือฉีดเข้าร่างกาย โดยเงิน (silver) อาจเข้าไปทางรกและเพิ่มระดับของเงินในครรภ์ได้ ซึ่งนั่นเชื่อมโยงกับความผิดปรกติที่เกิดกับใบหน้า, หู, และคอของทารก อาหารเสริมซิลเวอร์คอลลอยด์ยังอาจทำให้เกิดการสะสมกันของธาตุเงินภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังมีสีน้ำเงินอ่อนแบบที่แก้ไขไม่ได้ (argyria) อีกทั้งเงินยังสามารถเข้าไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ จนทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อตำแหน่งนั้น ๆ ได้อีกด้วย
การใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ร่วมกับยาเหล่านี้
ใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยาปฏิชีวนะ (Quinolone antibiotics) กับซิลเวอร์คอลลอยด์
ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดการดูดซับยาปฏิชีวนะของร่างกายได้ โดยการทานซิลเวอร์คอลลอยด์พร้อมยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะลง
โดย ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจส่งผลกับประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะเหล่านี้ คือ ciprofloxacin (Cipro), enoxacin (Penetrex), norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), sparfloxacin (Zagam), trovafloxacin (Trovan), และ grepafloxacin (Raxar)
- ยาปฏิชีวนะ (tetracycline-lenocin' target='_blank'>Tetracycline antibiotics) กับซิลเวอร์คอลลอยด์
ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดการดูดซับยาปฏิชีวนะของร่างกายได้ โดยการทานซิลเวอร์คอลลอยด์พร้อมยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะลง เพื่อเลี่ยงการตีกันของยาเช่นนี้ควรทานซิลเวอร์คอลลอยด์ก่อนหรือหลังทาน tetracyclines สี่ชั่วโมงโดยยาปฏิชีวนะที่อาจตีกับซิลเวอร์คอลลอยด์คือ demeclocycline (Declomycin), minocycline (Minocin), และ tetracycline (Achromycin)
- Levothyroxine กับซิลเวอร์คอลลอยด์
ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดการดูดซับ levothyroxine ของร่างกาย การทาน levothyroxine พร้อมกับซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดประสิทธิภาพของ thyroxine ลง
- Penicillamine (Cuprimine, Depen) กับซิลเวอร์คอลลอยด์
Penicillamine ถูกใช้รักษาโรควิลสัน (Wilson's disease) และข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดกระบวนการดูดซับยา penicillamine ของร่างกายลง ซึ่งจะเป็นการลดประสิทธิภาพของยา penicillamine เช่นกัน
ปริมาณยาที่ใช้
ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับซิลเวอร์คอลลอยด์นั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ สุขภาพ และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของซิลเวอร์คอลลอยด์ ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ทุกครั้ง