ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก 3 วัน 2 คืน (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
กินคลีน ทำ IF ทำคีโต หรือจะออกกำลังกายยังไง น้ำหนักก็ยังไม่ลงจนท้อ และเริ่มมีโรคและอาการต่างๆ ตามมา เหนื่อยง่าย ปวดเข่า นอนกรน จนเริ่มกลัว อยากกลับมาสุขภาพดี มีแรงใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาจช่วยได้
แต่ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ลองศึกษาและปรึกษาคุณหมอดูก่อน ทีมแพทย์และ HDcare พร้อมดูแลให้ข้อมูลคุณทุกขั้นตอน
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ให้แอดมินคำนวณค่า BMI ให้คุณ [คลิกที่นี่]
ผ่าตัดกระเพาะหรือใส่บอลลูนดี?
- ทั้งผ่าตัดกระเพาะและใส่บอลลูน เป็นวิธีที่ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลงเหมือนกัน
- ใส่บอลลูน เหมาะกับคนที่หนักไม่มาก ใส่บอลลูนแค่ 12 เดือนแล้วเอาออก ข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด แต่หลายคนกลัวอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงร่างกายปรับตัว และกลัวน้ำหนักขึ้นหลังเอาบอลลูนออก
- ผ่าตัดกระเพาะ ทำให้กินได้น้อยลง ลดฮอร์โมนความหิว ทำให้ไม่โหยและไม่ทรมาน อิ่มเร็วและอิ่มนาน เห็นผลดีกว่า
ผ่าตัดกระเพาะแต่ละเทคนิคต่างกันยังไง?
- ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy: SG) เอากระเพาะออกประมาณ 80% เป็นวิธีไม่ซับซ้อน มีความเสี่ยงน้อย
- ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y Gastric Bypass) เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงเล็กๆ แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผ่าตัดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะออกแล้วทำบายพาส (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass) ผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลง แล้วต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
ผ่าตัดกระเพาะแล้ว น้ำหนักจะลดเท่าไหร่?
นัดคิวปรึกษาหมอเบิ้ลวันนี้!
ผ่าตัดกระเพาะ เบิกประกันได้มั้ย?
- ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ให้ HDcare เช็กความคุ้มครองให้ได้ ทักเราเลย!
- ถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เลือกผ่อน 0% ด้วยบัตรเครดิตกับ HDcare ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด คำนวณค่า BMI ด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ปรับพฤติกรรมด้วยตัวเอง ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน
- ควบคุมน้ำหนักโดยใช้ยา โดยจะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้
- ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ทำในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีข้อบ่งชี้ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถตัดกระเพาะได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟพลัสบายพาส ชื่อภาษาอังกฤษ Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass เป็นเทคนิคที่รวมประโยชน์ของการผ่าตัดแบบสลีฟ และผ่าตัดแบบบายพาสเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดกระเพาะแบบอื่นๆ
ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมคืออะไร?
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบาสพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม คือการผ่าตัดส่วนกระพุ้งกระเพาะ (Fundus) ออก เพื่อทำให้ขนาดกระเพาะเล็กลง จากนั้นตัด-ต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
การผ่าตัดนี้มักทำในโรงพยาบาล ระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัดด้วยยาสลบ (General Anesthesia)
ขั้นตอนการผ่าตัด
- หลังจากแพทย์วางยาสลบ (General anesthesia) ให้คนไข้ และยาสลบออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะเปิดแผลด้วยการเจาะรูเล็กๆ 5 รู ที่หน้าท้องคนไข้ ตามด้วยใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเพื่อให้ช่องท้องเป่งออก เห็นกระเพาะอาหาร เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในอย่างชัดเจน
- จากนั้นแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลาย และเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องมือปกป้องตับ เครื่องมือผ่าตัด ผ่านรูที่หน้าท้องเข้าไปในช่องท้อง แล้วตัดกระเพาะอาหารส่วนกระพุ้ง ซึ่งมีความจุประมาณ 85% ออก จากนั้นทำการบายพาสลำไส้เล็กเจจูนัมส่วนต้นความยาวประมาณ 250 ซม. แล้วจึงนำมาต่อกับลำไส้เล็กส่วนที่ห่างจากจุดรอยต่อของลำไส้เล็กดูโอดีนัมและเจจูนัม 30 ซม.
- เมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะเป่าลมเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้ของคนไข้ รวมทั้งใช้กล้องส่องตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีรูรั่วจากการตัดเย็บ หลังสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสิ้นก็จะดึงเครื่องมือและกล้องออก ตามด้วยเย็บปิดแผล
หลังผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยาแผ่นเล็กและให้กลับบ้านได้
ผ่าตัดลดใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องพักฟื้นกี่วัน?
โดยทั่วไปแล้วใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง พักฟื้น 2-3 วัน
การผ่าตัดนี้เหมาะกับใคร?
จุดประสงค์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ มักเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินอย่างมาก หรือมีภาวะสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะน้ำหนักเกิน โดยไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีทั่วไปอย่างควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายได้
มักพิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ โดยสำหรับชาวเอเชียจะใช้เกณฑ์ดังนี้
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ผู้รับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ควรมีอายุอยู่ระหว่าง 16-65 ปี กรณีอายุน้อยหรือมากกว่านั้น ต้องคุยกับแพทย์ถึงความจำเป็นและความเสี่ยงของการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญคือ เพื่อให้การผ่าตัดเสร็จสิ้นอย่างปลอดภัย และมีผลลัพธ์ที่ดี ลดน้ำหนักได้จริง คนไข้ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัด และมีความสามารถที่จะดูแลตัวเองหลังผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพได้
ข้อดีของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก หรือผ่าตัดกระเพาะแล้วทำบายพาส การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม เป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่า ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการผ่าตัดอีกแบบที่เรียกว่า Duodenal Switch การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมยังมีโอกาสเกิดความซับซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดน้อยกว่า รวมถึงส่วนของลำไส้เล็กที่เหลือยาวว่าจะช่วยได้สามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุได้มากกว่า ทำให้โอกาสขาดวิตามินและสารอาหารลดน้อยกว่าด้วย
ถ้าคนไข้เคยรับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก มาก่อนแล้ว แต่ผลการลดน้ำหนักยังไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือน้ำหนักกลับมาเพิ่มอีกเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี สามารถรับการผ่าตัดทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมต่อได้
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
มีผลการศึกษาที่สรุปว่า การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ทำให้คนไข้ลดน้ำหนักได้มากกว่าการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก และผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบผ่าตัดกระเพาะส่วนบนมาต่อกับลำไส้เล็ก โดยอาจลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 89-90% หลังผ่าตัด
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก เพื่อให้กระเพาะเล็กลงและหิวน้อยลง
- เปิดแผลเล็กๆ เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปผ่าเอากระเพาะออกประมาณ 80%
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2 วัน
- ซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าลดกระเพาะเทคนิคอื่น
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 40-50% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงขนาดเล็ก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-3 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 70% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟพลัสบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เป็นเทคนิคที่รวมการตัดกระเพาะแบบสลีฟ และแบบบายพาสเข้าไว้ด้วยกัน
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2-3 วัน
- ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าเทคนิคอื่น ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
- อาจลดน้ำหนักได้ 80-90% ภายใน 2 ปี
ใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร [คลิกดูรายละเอียด]
- ใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัว เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา
- กระเพาะอาหารมีขนาดเท่าเดิม หลังเอาบอลลูนออก ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นอีกได้
- เหมาะกับคนที่มี BMI เกิน 30 (หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หยุดหายใจขณะหลับ)
- ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที และพักฟื้นที่ รพ. 1 วัน
- ใส่บอลลูน 6-12 เดือน ลดน้ำหนักได้ประมาณ 20 กก. ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพปอด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง ในบางคน แพทย์อาจพิจารณาให้ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารก่อน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 7-14 วันก่อนผ่าตัด
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- ก่อนผ่าตัด 8 ชั่วโมง พยาบาลจะฉีดยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ควรปฏิบัติดังนี้
- หายใจเข้าลึกๆ 5-10 ครั้ง แล้วกลั้นไว้ระยะหนึ่ง ทุกๆ ชั่วโมง เพื่อเป็นการบริหารปอดและทรวงอก
- ใส่ปลอกสวมขาป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำตามที่แพทย์แนะนำ และไม่ควรนอนอย่างเดียว ควรลุกนั่งบ้าง ถ้าไม่มีอาการปวดศีรษะให้ขยับและเดินไปรอบๆ เตียงหรือพยายามฝึกทำกิจกรรมตามปกติโดยเร็วที่สุดเพื่อปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- ลุกขึ้นเดินวันละ 5-6 ครั้งเพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้
- หมั่นสังเกตอาการของตัวเอง เช่น อาการปวด คลื่นไส้อาเจียน ปวดบิดในท้อง ท้องอืด หรือความผิดปกติของแผลผ่าตัด เช่น บวม แดง ร้อน หากมีอาการเหล่านี้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- ควรรับประทานอาหารตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น หลังผ่าตัดสัปดาห์แรกอาจรับประทานได้เฉพาะอาหารเหลว ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย อย่างซุปใส น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรองกากใย และไม่ใส่น้ำตาล โยเกิร์ต เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 3 หลังผ่าตัดจึงค่อยรับประทานอาหารชิ้นเล็กๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหารประมาณ 15-30 นาที เพื่อเตรียมปรับสู่การรับประทานอาหารปกติ โดยควรเริ่มจากรับประทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน แล้วค่อยปรับเป็นรับประทานปกติ
- ด้านการออกกำลังกาย สามารถเริ่มออกกำลังเบาๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังผ่าตัด และงดยกของหนักเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม มีความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- เกิดการรั่วซึมของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
- เกิดโพรงฝีในช่องท้อง (Intraabdominal Abscess) สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้และกระเพาะอาหาร ซึ่งหากคนไข้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้มากขึ้น
- เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เกิดจากการที่คนไข้ไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานานขณะผ่าตัด หรือขณะผ่ามีการบาดเจ็บของเส้นเลือด ทำให้ร่างกายสร้างลิ่มเลือดขึ้นมา ลิ่มเลือดนี้สามารถหลุดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์จะป้องกันไว้ก่อนด้วยการใส่ปลอกกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ขาทั้งสองข้างของคนไข้
- เลือดออกหลังผ่าตัด
- ติดเชื้อ
- เกิดกรดไหลย้อน ซึ่งมาจากขนาดกระเพาะอาหารที่เล็กแคบลง ทำให้แรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น กรดในกระเพาะอาหารจึงมีโอกาสไหลท้นไปยังหลอดอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโรคกรดไหลย้อนอยู่เดิม จะมีโอกาสเป็นกรดไหลย้อนซ้ำเพิ่มขึ้นได้
- เกิดภาวะทางเดินอาหารอุดกั้น สามารถเกิดได้ทันทีหลังผ่าตัด เนื่องจากแผลผ่าตัดที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ลำไส้บวมขึ้น หรืออาจเกิดหลังจากผ่าตัดไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากร่างกายสร้างเนื้อเยื่อพังผืดขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมแผลที่กระเพาะอาหารมากเกินไป
- มีภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เนื่องจากพื้นที่ดูดซึมสารอาหารมีน้อยลง ดังนั้นหลังผ่าตัดคนไข้จึงต้องปรับพฤติกรรมการกินและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ เนื่องจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมเป็นเทคนิคใหม่ จึงทำให้ยังไม่มีการศึกษาผลข้างเคียงในระยะยาวเกิน 5 ปี ดังนั้นก่อนรับการผ่าตัดจึงควรปรึกษาแพทย์และสอบถามถึงความกังวลต่างๆ ให้ครบถ้วน
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. สุทธิเกียรติ จรดล (หมอเบิ้ล)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ผู้ก่อตั้งและดำเนินการคลินิกรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี