ยา Bromelain - ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง
- ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับยา ทั้งชนิดของยา การใช้ยาอย่างเหมาะสม และข้อควรระวังของยา
- เภสัชกรจะถือว่า ประวัติสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้มาเป็นข้อมูลจริง และใช้ข้อมูลนั้นประกอบการให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ระหว่างคุณกับเภสัชกรในหน้าแชทส่วนตัวเท่านั้น
- HDmall.co.th จะติดต่อร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด ให้คุณปรึกษาและใช้บริการจัดส่งยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตโดยตรง
- HDmall.co.th ไม่ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ได้กระทำธุรกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดในหน้านี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น
- 🤝 สนใจเป็นหนึ่งในร้านขายยาที่ช่วยให้คำปรึกษาผู้ใช้ด้านยาหรือไม่? สมัครและใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
รายละเอียด
ข้อมูลภาพรวมของโบรมีเลน
โบรมีเลน (Bromelain) คือเอนไซม์ที่พบในน้ำสัปปะรดและหน่อสัปปะรดที่สามารถนำไปทำยาได้
โบรมีเลนถูกใช้เพื่อลดอาการบวม (อักเสบ) โดยเฉพาะที่จมูกและโพรงจมูกหลังจากการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บ อีกทั้งยังถูกใช้รักษาโรคไข้ละอองฟาง (hay fever), รักษาภาวะที่ลำไส้ใหญ่ที่รวมทั้งอาการบวมและแผลที่ลำไส้ใหญ่ (ulcerative colitis), กำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายและตายจากการถูกเผา (การเล็มแผล (debridement)), ป้องกันการสะสมกันของน้ำในปอด (ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)), คลายกล้ามเนื้อ, กระตุ้นการรัดตัวของกล้ามเนื้อ, ชะลอลิ่มเลือด, เร่งกระบวนการดูดซึมยาปฏิชีวนะ, ป้องกันมะเร็ง, ร่นระยะเวลาการคลอดบุตร, และช่วยให้ร่างกายกำจัดไขมัน
โบรมีเลนยังถูกใช้เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง ซึ่งได้มีรายงานและหลักฐานมาแย้งว่าโบรมีเลนไม่ได้มีประโยชน์เช่นนี้แต่อย่างใด
โบรมีเลนออกฤทธิ์อย่างไร?
โบรมีเลนอาจทำให้ร่างกายผลิตสารที่ช่วยต่อสู้กับความเจ็บปวดและอาการบวม (อักเสบ) อีกทั้งโบรมีเลนยังประกอบด้วยสารเคมีที่เข้ารบกวนการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกและชะลอการเกิดลิ่มเลือดอีกด้วย
วิธีใช้และประสิทธิภาพของโบรมีเลน
ภาวะที่โบรมีเลนอาจไม่สามารถรักษาได้
- อาการปวดกล้ามเนื้อ (myalgia) หลังการออกกำลังกาย การกินโบรมีเลนทันทีหลังการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงไม่อาจชะลอการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้และไม่มีผลต่อความเจ็บปวด, ความยืดหยุ่น, หรือความอ่อนล้าของกระดูกที่เกิดขึ้นได้
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้โบรมีเลนรักษาได้หรือไม่
- แผลไหม้รุนแรง งานวิจัยพบว่าการทาเจลที่มีส่วนประกอบของเอนไซม์โบรมีเลนก่อนปิดแผลจะช่วยกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกจากแผลไหม้ระดับสองและสามได้
- ปวดเข่า งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าการกินโบรมีเลนอาจช่วยลดอาการปวดเข่าชนิดไม่รุนแรงได้
- ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) การกินโบรมีเลนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยอาการปวดจากข้ออักเสบได้ แต่หากกินร่วมกับ trypsin, และ rutin อาจจะช่วยลดอาการปวดจากข้อเสื่อมได้เทียบเท่ากับการใช้ยาต้านอักเสบ diclofenac อาหารเสริมอีกตัวที่ชื่อ devil's claw กับ turmeric เองก็อาจสามารถลดอาการปวดจากข้อเสื่อมได้เช่นกัน (ทั้งสองมีส่วนประกอบของโบรมีเลนอยู่)
- ภาวะผิวหนังที่เรียกว่า pityriasis lichenoides chronica (PLC) งานวิจัยพบว่าโบรมีเลนสามารถรักษาอาการจาก PLC ได้
- ความเจ็บปวดหลังการทำฟัน งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการกินโบรมีเลนหลังถอนฟันคุดจะช่วยลดอาการบวมและความเจ็บปวดได้ อีกทั้งยังมีรายงานว่าการทานโบรมีเลนพร้อมกับยาสเตียรอยด์ก็สามารถลดความเจ็บปวดและอาการบวมได้ดีกว่าการใช้ยาสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียว กระนั้นข้อมูลจากงานวิจัยนอกเหนือจากนี้ไม่พบประโยชน์ใด ๆ ในประเด็นนี้
- ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด งานวิจัยพบว่าการกินโบรมีเลนอาจช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวมหลังผ่าตัดได้ อีกทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของโบรมีเลนและสารอื่น ๆ (Tenosan, Agave) ก็อาจจะช่วยลดอาการปวดหัวไหล่หลังการผ่าตัดได้ แต่ไม่อาจช่วยฟื้นฟูการทำงานของไหล่แต่อย่างใด
- โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่โบรมีเลนสามารถลดอาการข้อบวมของผู้ป่วยโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ได้ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยนี้ยังคงนับว่าไม่น่าเชื่อถืออยู่
- ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) งานวิจัยพบว่าการกินโบรมีเลนพร้อมกับยาหดหลอดเลือด (decongestants), ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines), หรือยาปฏิชีวนะ (antibiotics) สามารถช่วยลดอาการบวมในโพรงจมูกได้ อย่างไรก็ตามผลการวิจัยนี้ยังคงนับว่าไม่น่าเชื่อถืออยู่
- เอ็นบาดเจ็บ (tendinopathy) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกินอาหารเสริมที่มีโบรมีเลนสามารถช่วยการทำงานและความเจ็บปวดของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เส้นเอ็นอคิลเลสได้
- โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis) งานวิจัยพบว่าโบรมีเลนสามารถบรรเทาอาการของโรคลำไส้ใหญ่ชนิดเป็นแผลได้หากผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษาตามปรกติแล้วก็ตาม
- ภาวะระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (Urinary tract infections (UTIs)) มีรายงานกล่าวว่าการกินโบรมีเลนร่วมกับ trypsin ไม่ส่งผลต่อภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะแต่อย่างใด
- ไข้ละอองฟาง (Hay fever)
- เพิ่มการดูดซับยาปฏิชีวนะ
- การอักเสบ
- ป้องกันมะเร็ง
- ลดระยะเวลาการคลอด
- ภาวะสุขภาพอื่น ๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโบรมีเลนเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโบรมีเลน
โบรมีเลนมีความปลอดภัยกับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อกินเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสม โบรมีเลนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างเช่น หัวใจเต้นเร็ว ท้องร่วงและปวดท้องกับลำไส้ ประจำเดือนมีปัญหา อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้กับบางคนอีกด้วย โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ (allergies) ชนิดอื่น ๆ อยู่ก่อน หากคุณเป็นภูมิแพ้ ควรตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณก่อนใช้โบรมีเลน
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้โบรมีเลนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ยาชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย
ภูมิแพ้: หากคุณเป็นภูมิแพ้สับปะรด, ยางไม้, ข้าวสาลี, เซลารี, ปาเปน (papain), แครอท, เฟนเนล (fennel), เกสรไซเปรส, หรือเกสรจากหญ้า คุณอาจจะมีอาการแพ้โบรมีเลนได้เช่นกัน
การผ่าตัด: โบรมีเลนอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเลือดออกระหว่างและหลังจากผ่าตัดได้ ควรหยุดใช้โบรมีเลนก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
การใช้โบรมีเลนร่วมกับยาชนิดอื่น
ควรใช้โบรมีเลนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยาปฏิชีวนะ Amoxicillin กับโบรมีเลน
การกินโบรมีเลนจะเพิ่มปริมาณ amoxicillin ในร่างกายขึ้น อีกทั้งการกินโบรมีเลนพร้อมกับ amoxicillin จะเพิ่มฤทธิ์ของยาขึ้นและทำให้เกิดผลข้างเคียงจาก amoxicillin มากขึ้น
- ยาปฏิชีวนะ Tetracycline กับโบรมีเลน
โบรมีเลนที่กินเข้าไปจะเพิ่มปริมาณยาปฏิชีวนะ กลุ่ม tetracyclines ที่ร่างกายดูดซึม โดยยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ demeclocycline, minocycline, และ tetracycline
- ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) กับโบรมีเลน
โบรมีเลนอาจชะลอกระบวนการเกิดลิ่มเลือดขึ้น ทำให้การกินโบรมีเลนพร้อมยากลุ่มนี้จะทำให้คุณเลือดออกและฟกช้ำง่ายขึ้น ตัวอย่างยาที่ชะลอการเกิดลิ่มมีดังนี้ aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, others), ibuprofen (Advil, Motrin, others), naproxen (Anaprox, Naprosyn, others), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), และอื่น ๆ
ปริมาณยาที่ใช้
ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
รับประทาน:
- สำหรับข้อเสื่อม: ผลิตภัณฑ์ยารวมที่มี rutin 100 mg, trypsin 48 mg, และโบรมีเลน 90 mg ควรถูกให้เป็นยาแผง 2 ชุดที่ต้องใช้ 3 ครั้งต่อวัน