ผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออก
ท่อนำไข่ อาจเรียกว่าปีกมดลูกได้
ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เหมาะกับเนื้องอกขนาดใหญ่มากกว่า 15 ซม.
ผ่าตัดเนื้องอกได้ทุกขนาด แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติของอวัยวะข้างเคียงได้อย่างชัดเจน
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออก ช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อนำไข่ ในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ หรือผู้หญิงที่เป็นพาหะของยีน BRCA ได้
- ถ้าเจอความผิดปกติของรังไข่ แพทย์อาจเลาะซีสต์ที่รังไข่ หรือตัดรังไข่ออก ซึ่งอาจจะตัดข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ขึ้นกับความผิดปกติ อายุ และความต้องการของคนไข้
- ภาวะผิดปกติของท่อนำไข่ที่ต้องผ่าตัดคือ Hydrosalpinx คือการที่ท่อนำไข่บวม และมีของเหลวข้างใน มักเกิดจากการติดเชื้อ
ผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่แบบส่องกล้องเป็นที่นิยม เพราะแผลเล็กประมาณ 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุด เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นาน
- แต่ถ้ามีเนื้องอกขนาดใหญ่มากกว่า 15 ซม. ต้องผ่าตัดแบบเปิด
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ตรวจเจอปัญหาแต่เนิ่นๆ อาจไม่ต้องตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกก็ได้!
- คนที่อายุ 21-65 ปีควรตรวจภายในทุกปี
- ควรตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ทุก 3 ปี
- แพทย์จะพิจารณาประวัติสุขภาพ ประวัติครอบครัวว่าเคยเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่หรือไม่ เพื่อประเมินว่าควรตรวจภายในบ่อยแค่ไหน
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจภายในให้คุณวันนี้
รู้จักโรคนี้
รังไข่ (Ovary) เป็นหนึ่งในอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของเพศหญิง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเทอโรน (Progesterone) และสะสมไข่ซึ่งเป็นเซลสืบพันธุ์เพศหญิงภายในเพื่อใช้ในการมีบุตร
ส่วนท่อนำไข่ (Fallopian Tube) เป็นท่อที่อยู่บริเวณซ้ายและขวาของมดลูก เชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก เป็นตำแหน่งที่ไข่และอสุจิจะมาผสมกัน และนำไข่ที่ผสมแล้วกลับสู่โพรงมดลูกเพื่อใหเกิดการฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก
เมื่อเกิดความผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดรังไข่และ/หรือท่อนำไข่เพื่อรักษาอาการผิดปกตินั้นๆ และสามารถผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อนำไข่ในอนาคต
ตัวอย่างโรคที่ต้องผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่
- ถุงน้ำรังไข่ชนิด Functional Cyst เกิดจากการที่รังไข่ทำงานเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธ์ุฝ่ายหญิง สามารถยุบเองได้ แต่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง และถ้าแตกอาจมีการตกเลือดภายในช่องท้อง โดยเฉพาะ Cyst ที่มีขนาดใหญ่
- เนื้องอกรังไข่ เป็นรังไข่ที่มีเซลล์เจริญเติบโตและแบ่งตัวผิดปกติจนเกิดเป็นเนื้องอก มีทั้งแบบเนื้องอกตันและเนื้องอกที่มีของเหลวอยู่ข้าง ที่พบได้บ่อยคือ ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) และถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) มักจะไม่ยุบเอง อาจแตกและบิดขั้วทำให้เกิดอันตรายได้
- มะเร็งรังไข่ เป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดที่เป็นเนื้อร้าย เซลล์จะมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติ และแพร่กระจายไปที่อวัยวะข้างเคียง แพทย์มักจะแนะนำให้ผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกเพื่อลดความเสี่ยง
- คนที่เป็นพาหะของยีน BRCA มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อนำไข่มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เป็นพาหะ 10 เท่า
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ผู้หญิงทุกคนควรเข้าตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพราะอาจมีความผิดปกติเป็นอันตรายได้ เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ เนื้องอกรังไข่ หรือเนื้องอกในมดลูก จะมีทั้งแบบไม่แสดงอาการ และแสดงอาการ
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจภายในให้คุณวันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดท้องน้อย ท้องอืด แน่นท้อง ปวดหน่วงท้องน้อย ซึ่งอาจเกี่ยวกับประจำเดือนหรือไม่ก็ได้
- ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือไม่มาเลย
- มีอาการปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ปัสสาวะบ่อย
- ปวดท้องน้อยฉับพลันรุนแรง ปวดบิด
- คลื่นไส้ อาเจียน
- คลำพบก้อนที่ท้องน้อย หรือท้องขยายขึ้น
- กินอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น
- สิวขึ้นเยอะ
ถ้าหากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายได้
แพทย์จะเป็นผู้ประเมินวิธีเข้ารับการรักษา ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ตรวจภายใน หาความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน รวมถึงช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ท่อนําไข่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนัก
การตรวจภายในช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน ตกขาว ปัญหาทางระบบทางเดินปัสสาวะ และตรวจหาสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคทางเพศสัมพันธ์ ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกในมดลูก และมะเร็งได้แต่เนิ่นๆ
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
การผ่าตัดรังไข่ส่วนมากจะทำในกรณีที่ตรวจเจอความผิดปกติของรังไข่ อาจทำโดยการเลาะ Cyst รังไข่หรือตัดรังไข่ออก ซึ่งจะตัดรังไข่ข้างเดียวหรือทั้งสองข้างต้องดูความเหมาะสมเป็นรายบุคคล ขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่ตรวจพบ อายุและความต้องการของคนไข้
ภาวะผิดปกติของท่อนำไข่ที่ต้องผ่าตัด คือ Hydrosalpinx เป็นการตรวจพบท่อนำไข่บวมและมีของเหลวข้างใน มักเกิดจากการติดเชื้อ มีผลกระทบต่อความสามารถการมีบุตร
ในกรณีอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดรังไข่หรือมดลูกออก หากแพทย์พิจารณาแล้วว่ามีความผิดปกติของท่อนำไข่หรือไม่ต้องการมีบุตรแล้วก็พิจารณาตัดท่อนำไข่ออกได้ในการผ่าตัดนั้นๆ
การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออก ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อนำไข่ ในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ หรือผู้หญิงที่เป็นพาหะของยีน BRCA ได้ในอนาคต
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่แบบเปิด สามารถผ่าตัดเนื้องอกได้ทุกขนาด และแพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติของอวัยวะข้างเคียงได้อย่างชัดเจน
ขั้นตอนการผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่
- วิสัญญีแพทย์จะทำการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบหรือบล็อกหลัง
- แพทย์เปิดแผลที่หน้าท้องประมาณ 15-20 ซม. อาจเป็นแนวตั้งหรือแนวนอน ขึ้นกับโรคที่ผ่าตัด ขนาดของมดลูก และการประเมินของแพทย์
- แพทย์เข้าไปตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออก จากนั้นเย็บแผลให้เรียบร้อย
ระยะเวลาการผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่แบบเปิดอยู่ที่ประมาณ 1 ชม. ขึ้นกับปัญหาของแต่ละคน
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่แบบเปิด
- เปิดแผลที่หน้าท้องประมาณ 15-20 ซม. อาจเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ ขึ้นกับการประเมินของแพทย์
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์
ผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่แบบส่องกล้อง
- เจาะรูขนาดเล็กประมาณ 0.5-1 ซม. จำนวน 2-4 รู ที่หน้าท้อง เพื่อสอดเครื่องมือเข้าไปผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออก
- พักฟื้นที่รพ. 2 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่แบบเปิดจะต้องพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
- ทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- หากวัสดุที่ปิดแผลเป็นแบบกันน้ำ สามารถอาบน้ำได้ แต่หลีกเลี่ยงการนอนแช่อ่าง หรือแม่น้ำลำคลอง แต่ถ้าไม่ได้ปิดพลาสเตอร์กันน้ำ ห้ามให้แผลโดนน้ำโดยเด็ดขาด
- งดการว่ายน้ำ แช่อ่างอาบน้ำ ออกกำลังกายหนัก ยกสิ่งของหนัก และขับรถ อย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายดี ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ หรือตามที่แพทย์สั่ง
- หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ และลุกเดินบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดพังผืดในช่องท้องจากแผลผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคั่ง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาระงับความรู้สึก เช่น อาการคันตามตัว คันตามใบหน้า คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องอืด โดยอาการจะเป็นมากในวันแรก หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นจนกลับเป็นปกติ
- อาจมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ หงุดหงิด หรือใจสั่นได้ ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนเพศหญิง หากมีอาการเหล่านี้สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนได้
- อาจมีเลือดออกจางๆ ได้ในช่วงเดือนแรก ถ้ามีเลือดออกมากเหมือนประจำเดือน หรือมีตกขาวที่มีกลิ่นเหม็น จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
- หากมีอาการแผลอักเสบ บวมแดง ไข้สูง มีเลือดออกจำนวนมาก หรือหนองออกจากช่องคลอด ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันนัดหมาย
ในกรณีที่คนไข้อายุน้อยและมีความจำเป็นต้องผ่าตัดนำรังไข่ทั้งสองข้างออก คนไข้จะเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนกำหนด ทำให้ไม่มีประจำเดือน และอาจเกิดผลข้างเคียงจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ผิวแห้ง ช่องคลอดแห้ง หรือมีภาวะกระดูกบางก่อนวัย แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปร
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- 2540 สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- 2541 สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 2556 Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- 2557 Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
- โรคและหัตถการที่ชำนาญ สูตินรีเวชทั่วไป, โรคนรีเวชทางเดินปัสสาวะ, กระบังลมหย่อน (มดลูกหย่อน), การควบคุมปัสสาวะผิดปกติ, ปัสสาวะเล็ด, ผ่าตัดโรคกระบังลมหย่อน, ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง, ผ่าตัดรักษาโรคกระบังลมหย่อนทางช่องคลอดโดยการใช้ตาข่ายช่วยยึด, ผ่าตัดโรคปัสสาวะเล็ดโดยการใช้ตาข่ายยกท่อปัสสาวะ
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.พญ. พัทยา เฮงรัศมี (หมอไต๊)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2542 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2543 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 วุฒิบัตร สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 แพทย์ประจำบ้าน สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2552 Fellowship Training in Gynecology Endoscopy and Urogynecology, Monash Medical Centre (Australia)
- 2558 Fellowship Training in Advanced Laparoscopic Surgery, Centre for Advanced Reproductive Endosurgery, (Australia)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน สูติ/นรีเวช และ นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เทปพยุงใต้ท่อปัสสาวะ, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดโดยการส่องกล้องทางหน้าท้อง, ผ่าตัดแก้ไขผนังช่องคลอด, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดผ่านทางช่องคลอด, ผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อเลาะตัดรอยโรคช็อกโกแลตซีสต์ชนิดกินลึก
-สมาชิกแพทยสภา
-ราชวิทยาลัยสูติ/นรีแพทย์แห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ทางเดินปัสสาวะแห่งประเทศไทย
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา