การตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ เป็นการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อวินิจฉัยและเตรียมการป้องกันต่อไป
รายละเอียด
รายละเอียด
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ Thyroid Screening A 3 รายการ ประกอบด้วย
- ตรวจ Free T4
- ตรวจ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ตรวจ Free T3
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าคูปองอาหารว่าง
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์
- ระยะเวลาในการรับบริการประมาณ 30 นาที
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งผลให้ทราบ
- สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย สามารถซื้อแพ็กเกจในราคาคนไทยได้ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติอย่างน้อย 1 ข้อดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ที่ทำงานในประเทศไทย โดยสามารถแสดงรับสิทธิ์ด้วยการแสดงใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- เป็นผู้ที่ศึกษาในประเทศไทย
- เป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย
- เป็นผู้มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)
- เป็นผู้มีคู่สมรสเป็นชาวไทย
ก่อนตัดสินใจ
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากอยู่ในระหว่างรับประทานยาหรืออาหารเสริม เนื่องจากยาและอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลต่อระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์มาก่อน
- ผู้ที่มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์มาก่อน เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกลืนแร่ไอโอดีน เป็นต้น
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
- ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก
- ผู้ที่มีอาการคอพอกหรือคลำเจอก้อนที่คอ
- ผู้ที่น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น 3 กิโลกรัมโดยไม่มีสาเหตุ ภายในช่วงเวลา 1 เดือน
ข้อมูลทั่วไป
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณหน้ากล่องเสียง ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง
ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์⠀มีความสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง รวมถึงควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร อุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ
การตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ คืออะไร?
การตรวจคัดกรองเป็นการประเมินการทำงานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของต่อมไทรอยด์ โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมน 3 ชนิด ที่ทำหน้าที่ควบคุมซึ่งกันและกันเพื่อให้ฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ ได้แก่
- ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
- ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine: Free T3)
- ฮอร์โมนไทรอกซีน (Thyroxine: Free T4)
นอกจากนี้ในการตรวจคัดกรอง หากตรวจอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย จะช่วยให้วิเคราะห์ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ได้ชัดเจนขึ้น
โรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
โรคของต่อมไทรอยด์มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีดังนี้
- โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายเผาผลาญมากผิดปกติ ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ร้อนง่าย และมีอารมณ์ฉุนเฉียว
- โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติ มักเกิดหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์หรือรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนมาก่อน ส่งผลให้รู้สึกเฉื่อยชา หายใจไม่เต็มที่ คิดช้า พูดช้า หนาวง่าย และน้ำหนักเพิ่มขึ้น
- โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดอักเสบกึ่งเฉียบพลันและชนิดอักเสบเรื้อรัง โดยชนิดกึ่งเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือภาวะต่อมไทรอยด์โต ทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อคลำที่ก้อน ส่วนชนิดเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน มักมีอาการคอโตแต่กดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ
- โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ (Thyroid nodule) คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิดต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว และต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน โดยทั้งสองอาจส่งผลให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้
- โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer) มีทั้งชนิดที่มีความรุนแรงน้อย สามารถรักษาให้หายขาดได้ และชนิดรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น
หมายเหตุ
- โดยทั่วไปการตรวจฮอร์โมนไทรอยด์อาจตรวจฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิดพร้อมกัน หรือตรวจเฉพาะ TSH เบื้องต้นก่อน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ และอาการของผู้รับบริการ
- การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ ควรตรวจเมื่อมีอาการของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง หรือต่ำ จากสภาวะบางอย่างที่ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนไป
- ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติหรือความเสี่ยงใดๆ จะมีประโยชน์กว่าการไม่ตรวจ
วิธีชำระและใช้งาน
จองและจ่ายเงินที่ HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดทันที (มีสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน*)
- กด 'ชำระเงินออนไลน์' แล้วกรอกข้อมูลให้ครบ
- ชำระเงิน สามารถเลือกวิธีโอน จ่ายบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต โดยจ่ายบัตรเครดิตได้เมื่อมียอดชำระ 300 บาทขึ้นไป ผ่อนได้เมื่อมียอดชำระตั้งแต่ 3,000 บาท
- รอรับคูปองทางอีเมล (จะออกภายใน 24 ชั่วโมงหลังแอดมินตรวจสอบการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว) คูปองมีอายุ 60 วัน
- นำคูปองไปยื่นที่โรงพยาบาลเพื่อรับบริการ
จองผ่าน HDmall.co.th แล้วไปจ่ายเงินที่โรงพยาบาล รับแคชแบ็กหลังรับบริการ
- กด 'สอบถามข้อมูล' แล้วแจ้งชื่อและข้อมูลสำหรับจองแพ็กเกจกับแอดมิน
- รับคูปองทางอีเมล คูปองมีอายุ 30 วัน
- นำคูปองไปยื่นที่โรงพยาบาลเพื่อรับบริการ และชำระค่าแพ็กเกจราคาเต็ม
- ภายใน 30 วันนับจากชำระเงิน กรุณาส่งหลักฐานดังนี้ให้แอดมินทางไลน์ @hdcoth เพื่อรับแคชแบ็ก
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบเสร็จของโรงพยาบาล
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี
- หน้าคูปอง
- รอรับแคชแบ็กภายใน 7-14 วัน (ตัดรอบโอนเงินทุกวันจันทร์ เวลา 15.00 น. เงินจะเข้าบัญชีของคุณภายในวันศุกร์)
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลพญาไท 2 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th