ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง
ยิ่งผ่าไว ยิ่งดี! ลดความเสี่ยงก้อนกลายเป็นมะเร็งหรือก้อนใหญ่จนต้องผ่าแบบเปิด รีบปรึกษาหมอวันนี้
แบบส่องกล้อง ผ่าแล้วไม่มีแผลเป็นที่คอ แบบเปิด ผ่าแล้วมีแผล 5-8 ซม.
ฟื้นตัวเร็ว นอน รพ. แค่ 1-2 วัน
หมอเฉพาะทางผ่าตัดไทรอยด์และพาราไทรอยด์มาแล้วกว่า 2,000+ เคส
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
มีก้อนที่คอ ไม่แน่ใจว่าใช่ไทรอยด์รึเปล่า
ดูวิธีเช็กก้อนที่คอได้ที่นี่เลย!
ไม่เจอก้อน แต่ถ้ามีอาการแบบนี้ ควรตรวจไทรอยด์
- น้ำหนักลด/ขึ้นผิดปกติ ประจำเดือนผิดปกติ
- ขี้ร้อน กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น
- ขี้หนาว ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย หน้าบวม หนังตาบวม
- เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เชื่องช้า ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า
- ผมร่วง ตาโปน ท้องเสีย/ท้องผูก
ถึงมีก้อน ก็ไม่ต้องกังวล!
- ไม่จำเป็นต้องผ่าทุกครั้ง
- ถ้าเป็นมะเร็ง หลังผ่าแล้วกลืนแร่และฮอร์โมนไทรอยด์เสริม มีโอกาสหายขาดถึง 95%
- อยากหมดกังวลเรื่องผ่าหรือไม่ต้องผ่า หรือเป็นมะเร็งมั้ย รีบปรึกษาหมอเลย
อย่าปล่อยไว้จนเป็นมะเร็งหรือเป็นก้อนใหญ่ รีบรักษาวันนี้
- ถ้าก้อนใหญ่เกิน 6 ซม. ขึ้นไป หรือเป็นมะเร็งไทรอยด์แล้ว ต้องผ่าตัดแบบเปิดเท่านั้น
- ผ่าตัดแบบส่องกล้องเจ็บน้อยกว่า เพราะแผลเล็กกว่า ไม่มีแผลเป็นที่คอ ไม่เสียความมั่นใจ
- ผ่าตัดแบบส่องกล้องโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
รีบตรวจ! รีบผ่า!
เพราะชีวิตที่สบายใจ ไม่ต้องกังวลกับก้อนที่ไทรอยด์อีกต่อไปรอคุณอยู่
ไม่แน่ใจคุณต้องผ่ามั้ย? ปรึกษาทีมหมอของ HDcare เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น
และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
ต่อมไทรอยด์คืออะไร
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่ออยู่บริเวณกลางลำคอส่วนหน้า ใต้ลูกกระเดือก มีลักษณะคล้ายกับปีกผีเสื้อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระบบการเผาผลาญ ถ้าเกิดความผิดปกติขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลาย ๆ ระบบ
อาการผิดปกติหรือโรคที่เกี่ยวกับไทรอยด์
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์
คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้นผิดปกติ เวลาคลำคอจะเจอก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะเห็นได้ค่อนข้างง่าย เพราะตอนกลืนน้ำลาย ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะขยับขึ้นลง
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์นี้ มีทั้งก้อนเดี่ยวและหลายก้อน และยังแบ่งได้เป็นก้อนเนื้อปกติและที่เป็นมะเร็ง
- ก้อนเนื้อปกติ แบ่งออกเป็นก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ มีของเหลวอยู่ข้างใน และเนื้องอกชนิดธรรมดา
- ก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็งหรือเรียกว่ามะเร็งไทรอยด์ เจอได้ประมาณ 7-15% ของผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ทั้งหมด จะเริ่มโตขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ หรือเซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด และ กระดูกได้
โรคไทรอยด์เป็นพิษ
คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น น้ำหนักลดลงผิดปกติ กระสับกระส่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ผมร่วง หัวใจเต้นเร็ว ท้องเสีย มือสั่น ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต ประจำเดือนผิดปกติ
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ อาการจึงมักตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย ทำอะไรเชื่องช้า ขี้หนาว ท้องผูก เบื่ออาหาร หน้าบวม หนังตาบวม ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ประจำเดือนผิดปกติ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบตรวจไทรอยด์ด่วนๆ
- อาการเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ น้ำหนักลดผิดปกติ กระสับกระส่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ผมร่วง หัวใจเต้นเร็ว ท้องเสีย มือสั่น ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต ประจำเดือนผิดปกติ
- อาการเสี่ยงต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย ทำอะไรเชื่องช้า ขี้หนาว ท้องผูก เบื่ออาหาร หน้าบวม หนังตาบวม ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ประจำเดือนผิดปกติ
วิธีตรวจดูความผิดปกติของก้อนต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเอง [ดูวิดีโอสอนตรวจที่นี่]
- ยืนตัวตรงส่องกระจก ยืดลำคอ แล้วหันทางซ้ายและทางขวาช้าๆ เพื่อสังเกตลำคอว่ามีก้อนบวมผิดปกติหรือไม่
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้าง ค่อยๆ กดคลำตรงลำคอพร้อมๆ กันของแต่ละข้าง จากบนลงล่าง และจากด้านหลังไปด้านหน้า
- ขณะที่กำลังคลำอยู่ คอยสังเกตว่ามีเจอก้อนเนื้อที่ลำคอหรือไม่
หากมีอาการเหล่านี้ หรือสังเกตเห็นก้อนผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์หรือลำคอ คอนูนผิดปกติ กลืนอาหารลำบาก ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ตรวจหาก้อนต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเอง
1. ยืนตัวตรงส่องกระจก ยืดคอ แล้วหันซ้ายและขวาช้า ๆ สังเกตว่ามีก้อนบวมผิดปกติหรือไม่
2. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองข้าง ค่อย ๆ คลำตรงคอแต่ละข้างพร้อม ๆ กัน จากบนลงล่าง และจากด้านหลังไปด้านหน้า สังเกตว่าเจอก้อนเนื้อหรือไม่
ถ้าเจอก้อน หรือมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยด่วน
- น้ำหนักลด/ขึ้นผิดปกติ ประจำเดือนผิดปกติ
- ขี้ร้อน กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว มือสั่น
- ขี้หนาว ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย หน้าบวม หนังตาบวม
- เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เชื่องช้า ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า
- ผมร่วง ตาโปน ท้องเสีย/ท้องผูก
อยากชัวร์กว่านี้ ต้องตรวจคัดกรองไทรอยด์
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาไทรอยด์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการวินิจฉัยของหมอ ซึ่งส่วนใหญ่การผ่าตัดไทรอยด์จะเป็นทางเลือกสุดท้าย
ก้อนไทรอยด์ที่ไม่เป็นมะเร็ง
- เฝ้าระวัง ตรวจการทำงานและขนาดของต่อมไทรอยด์ตามนัดทุกครั้ง
- ผ่าตัด ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และไปอุดก้อนหลอดลม หลอดอาหาร หรือหมอสงสัยว่าเป็นมะเร็ง
ก้อนไทรอยด์ที่เป็นมะเร็ง
- ผ่าก้อนที่ไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมด
- หลังผ่าตัดต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน และรักษามะเร็งไทรอยด์ตามที่หมอวางแผนการรักษา
ก้อนไทรอยด์ที่เกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
- กลืนแร่
- กินยาต้านไทรอยด์
- ผ่าตัด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
หมอมักจะเลือกรักษาไทรอยด์ด้วยการผ่าตัด หลังจากที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ยา รังสีบำบัด ไม่ได้ผล
ความผิดปกติของไทรอยด์ที่ต้องผ่าตัด
- โรคไทรอยด์เป็นพิษที่กินยาหรือกลืนแร่แล้วไม่ดีขึ้น
- ต่อมไทรอยด์หรือก้อนต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดใหญ่จนทำให้หายใจหรือกลืนลำบาก
- ก้อนต่อมไทรอยด์ยื่นลงไปในช่องอก
- ก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยอยากเอาก้อนออก เพราะกังวลเรื่องความสวยงาม
- ก้อนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง
- โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
ไม่แน่ใจคุณต้องผ่ามั้ย
ปรึกษาหมอวันนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้เลย
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง จะมีแผลแค่ 3 จุดเล็กๆ ไม่เกิน 1 ซม. ตรงปากล่างและเหงือก ทำให้ไม่มีแผลที่ด้านนอกเลย ต่างกับการผ่าแบบเปิดที่จะมีแผลเป็นกลางคอขนาด 4-8 ซม.
ข้อดี
- แผลเล็กมากและหายค่อนข้างเร็ว
- ไม่มีแผลบริเวณผิวหนังด้านนอกเลย ไม่ต้องกังวลเรื่องแผลเป็นที่อาจกระทบความมั่นใจ
- โอกาสเสียงแหบหลังผ่าตัดน้อย เพราะกล้องมีความละเอียดสูง ทำให้หมอมองเห็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียงได้ชัดเจน
- ระยะพักฟื้นน้อย นอน รพ. 1-2 วัน พักฟื้นที่บ้านประมาณ 2-3 วัน แผลเริ่มหายเจ็บประมาณวันที่ 3
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
เปรียบเทียบการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องกับแบบเปิด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติการผ่าตัดเสริมคางหรือฉีดฟิลเลอร์คาง ยา วิตามิน และอาหารเสริมที่กินประจำ
- ตรวจสุขภาพเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดตามคำแนะนำของหมอ
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ก่อนผ่าตัด
- ต้องพาคนใกล้ชิดมาด้วยในวันผ่าตัด เพราะอาจมึนงงจากยาสลบ
- ถอดหรือล้างเล็บเจล เพราะระหว่างผ่าตัดต้องสวมเครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว
การดูแลหลังผ่าตัด
- งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ 1-2 อาทิตย์หลังผ่าตัด
- กินยาตามที่หมอสั่ง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ด้วยการส่องกล้องเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสค่อนข้างน้อย เช่น
- แผลผ่าตัดติดเชื้อ
- เสียงแหบแห้งหรือเสียงหาย
- ไอ สำลักง่าย ส่วนใหญ่จะหายเองใน 6 เดือน
- อาการชา รักษาได้ด้วยการกินแคลเซียม
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล (หมอแมค)
คุณหมอเฉพาะทางไทรอยด์ ประสบการณ์ผ่าตัดมากว่า 10+ ปี ผ่าตัดคุณแม่และภรรยาเองด้วย
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ศัลยศาสตร์ต่อมไร้ท่อ (ไทรอยด์และพาราไทรอยด์) Yale University (USA)
- ศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ เต้านม โรงพยาบาลศิริราช
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลตำรวจ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์มีประสบการณ์ผ่าตัดมากว่า 10 ปี ผ่าริดสีดวงมาแล้วกว่า 200 เคส
- ผ่าตัดไทรอยด์ พาราไทรอยด์ มาแล้วกว่า 2,000 เคสรวมถึงผ่าตัดคุณแม่และภรรยาเองด้วย
- เป็นผู้บุกเบิกการรักษาโรคเนื้องอกต่อมไทรอยด์โดยไม่ต้องผ่าตัดโดยการรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Thyroid Microwave Ablation)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐพล อภิกิจเมธา (หมอณัฐ)
อาจารย์แพทย์ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,500+ เคส
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลชลบุรี
- ผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Minimally invasive surgery) โรงพยาบาลตำรวจ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์แพทย์ ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง
- จบการศึกษาการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูงโดยตรง
- ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ทางช่องปาก ผ่าตัดส่องกล้องไส้เลื่อน ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วถุงน้ำดี ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคเหงื่อออกมือ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักรักษาโรคอ้วน และส่องกล้องทางเดินอาหาร มีประสบการณ์มากกว่า 2,500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. อธิวุฒิ บวรวัฒนวานิช (หมอตั้ม)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2563 วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี
- 2565 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2565 Certificate of Fellowship Program in Division of Colorectal Surgery, The Catholic University of Korea (Korea)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง (Endoscopic Thyroidectomy) ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง (Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)