รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า 1 เข็ม สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- โปรแกรมฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เป็นกรณีที่ป้องกันการติดเชื้อก่อนสัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า (ก่อนโดนกัด) หากลูกค้าเพิ่งได้รับเชื้อ (ถูกกัดจากสัตว์เลี้ยง) แนะนำให้พบแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ
- โปรแกรมฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 2 เข็ม โดยฉีดครั้งละ 1 เข็ม ในวันที่ 0 และ 7 (กรณีก่อนสัมผัสเชื้อพิษสุนัขบ้า)
- ราคาดังกล่าวเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
- ไม่สามารถระบุแพทย์ได้
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- หากฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค จะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ก่อนมีความเสี่ยงประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงถึงระดับที่ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้
- หากถูกสัตว์กัดมาแล้ว ควรล้างบาดแผลให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำทันที และรีบไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาการฉีดวัคซีนให้
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- มีอาการบวมแดง หรือรู้สึกปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
- มีอาการเหนื่อย หรืออ่อนแรงมากผิดปกติ
ข้อห้ามใช้สำหรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
- ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน หรือส่วนประกอบของวัคซีนพิษสุนัขบ้า
- ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารจำพวกโปรตีนไข่ ผลิตภัณฑ์จากไข่ ยานีโอไมซิน (Neomycin) ยาคลอเททราไซคลิน (Chlortetracycline) หรือยาแอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B)
- สตรีมีครรภ์ หรือวางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- สตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องรับการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- ผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome: GBS) ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
- หากมีอาการไข้ ไข้หวัด อาการติดเชื้ออื่นๆ หรือมีอาการป่วย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับวัคซีน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสแรบีส์ (Rabies) ที่อยู่ในน้ำลายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นโรค ติดต่อสู่คนได้โดยผ่านการสัมผัสกับน้ำลายสัตว์ที่มีเชื้อ จากการถูกข่วน กัด เลียบริเวณที่มีบาดแผล ผิวหนังถลอก หรือบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เยื่อบุตา หรือปาก เป็นต้น รวมถึงการรับประทานเนื้อดิบจากสัตว์ที่มีเชื้อก็สามารถทำให้ติดโรคได้
สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า
ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าส่วนหนึ่งเกิดจากถูกสุนัขกัดแล้วไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีน เนื่องจากไม่คิดว่าสัตว์ที่กัดเป็นโรค และกว่า 70% ของสัตว์ที่เป็นต้นเหตุนี้เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของ
ในปัจจุบัน สัตว์ที่ตรวจพบเชื้อพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นสุนัข รองลงมาเป็นแมว และการฉีดวัคซีนให้กับสุนัขในประเทศไทย ยังมีไม่ถึง 80% ของสุนัขทั้งหมด (ข้อมูลล่าสุด ปี 2562)
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ป้องกันโรคจากสุนัขเท่านั้นหรือไม่?
วัคซีนจะสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งจากสุนัข และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่เป็นพาหะนำโรค ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า เช่น แมว ค้างคาว เป็นต้น เนื่องจากเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน
ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อไร?
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
- การฉีดแบบล่วงหน้า เป็นการฉีดวัคซีนก่อนถูกกัด หรือก่อนสัมผัสกับเชื้อ เหมาะกับคนที่มีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับเชื้อได้ง่าย เช่น คนที่เลี้ยงสัตว์ คนที่ทำงานที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโดยตรง
- เวลาที่ฉีด ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน ในวันที่ 0 และ 7 หรือ ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0 และ 7
- หมายเหตุ สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีแผนการฉีดวัคซีนต่างออกไป
- การฉีดหลังถูกสัตว์กัด (หลังสัมผัสกับเชื้อแล้ว) เป็นการฉีดวัคซีนหลังจากที่ได้สัมผัสกับน้ำลายสัตว์แล้ว ผ่านทางบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน หรือถูกเลีย แล้วน้ำลายสัตว์ถูกเยื่อบุตา ปาก จมูก
- เวลาที่ฉีด ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 30 หรือฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน 2 ข้าง ข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0, 3, 7 และ 30
จะสังเกตได้ว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถฉีดวัคซีนหลังถูกกัดเพื่อป้องกันโรคได้ แต่จำเป็นต้องไปฉีดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลายครั้งกว่าการฉีดแบบล่วงหน้า เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่วมกับการป้องกันบาดทะยัก
อาการหลังรับวัคซีนที่ต้องรีบพบแพทย์ด่วน
- มีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือเหน็บชา
- กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง
- มีไข้ หนาวสั่น
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีอาการชัก
- มีแผลฟกช้ำ ปวด หรือบวมบริเวณที่ได้รับวัคซีน
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
- หายใจถี่ หรือหายใจมีเสียงหวีด
- คอติด หรือมีอาการแขน และขาบวม
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- การมองเห็นผิดปกติ
หมายเหตุ
- หากสงสัยว่าสุนัข หรือแมวของท่านเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ให้กักขังสัตว์ไว้ แต่ถ้าหากแสดงอาการดุมาก อาจต้องติดต่อเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เพื่อจับ หรือวางยาสลบ
- ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าจะสามารถป้องกันได้นานกว่า 5 ปี แต่เนื่องจากประเทศไทยยังเป็นถิ่นที่มีการระบาดอยู่จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนทุกปีจึงจะปลอดภัย
- เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาว และติดเชื้อได้ทุกฤดู จึงควรฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยงที่มีความเสี่ยงทุกตัว
- ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ก่อนฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อใช้เอง หรือยาตามใบสั่งแพทย์ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลต่อวัคซีนได้ เช่น ยาป้องกันโรคมาลาเรีย ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นต้น
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่รับฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ติดต่อคลินิกอายุรกรรม
-
ใช้ BTS ลงสถานีสะพานควาย (ทางออก 2) เดินต่ออีก 100 เมตร โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน อยู่ติดกับบิ๊กซี สะพานควาย ศูนย์วัคซีนอยู่อาคาร 1 ชั้น 3
-
จอดรถที่อาคารจอดของโรงพยาบาล