ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี (แบบส่องกล้อง)
ถ้าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ยังไงก็ต้องผ่า เป็นวิธีรักษาเดียวที่ได้ผล
ผ่าตัดส่องกล้องเป็นวิธีที่นิยมที่สุดตอนนี้
ปรึกษาทีมหมอ HDcare ฟรีวันนี้! ขอความเห็นได้จากหลายท่านจนมั่นใจ เลือกได้ทั้งแพทย์ประสบการณ์ 2,000+ เคส ทั้งอาจารย์แพทย์
ไม่แน่ใจเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมั้ย? ทักแอดมินหาแพ็กเกจตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนได้เลย
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
นิ่วในถุงน้ำดีหายเองไม่ได้ ต้องผ่าตัดเท่านั้น
- ปวดท้องนิ่ว คือปวดท้องส่วนบนหรือด้านขวา
- รีบรักษา ก่อนแย่ลง ยิ่งรอนาน นิ่วก็สะสมมากขึ้น
- อาการยิ่งแรงขึ้น อาจอักเสบเฉียบพลันหรือติดเชื้อ หรือกลายเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้
- ถ้ามีพังผืดหรืออักเสบมาก อาจต้องผ่าแบบเปิดแแทน
- คนที่มีอาการมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน เลยเลือกกินยาแทน กว่าจะรู้ว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดี อาการก็รุนแรงแล้ว
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
การผ่าตัดส่องกล้องเป็นวิธีที่นิยมที่สุดตอนนี้
- ไม่ทิ้งแผลเป็นยาว 6-7 ซม. ที่หน้าท้องเหมือนการผ่าตัดแบบเปิด
- เป็นการผ่าตัดเล็ก เจ็บน้อยกว่า ร่างกายบอบช้ำน้อยกว่า โอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า และใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
- ผ่าตัดส่องกล้องมีแผล 3-5 จุด ตอนนี้มีการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเดียวที่มีแผล 1 จุด แทบมองไม่เห็น เจ็บน้อยกว่าการส่องกล้องแบบธรรมดา [ดูรายละเอียดคลิกที่นี่]
ไม่มั่นใจ ต้องผ่านิ่วในถุงน้ำดีแบบไหน ปรึกษาทีมแพทย์ HDcare ได้ฟรี!
คำถามที่พบบ่อย
ผ่าตัดถุงน้ำดีออกส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะบริเวณช่องท้อง ลักษณะเป็นกระเปาะวงรีคล้ายผลแพร์ ปริมาตรประมาณ 50 มล. ขนาดประมาณ 4 นิ้ว อยู่ทางขวาบนของช่องท้อง อยู่ติดกับด้านล่างของตับ มีทางเดินติดกับระบบน้ำดีส่วนกลาง โดยปกติแล้วถุงน้ำดีทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีซึ่งสร้างมาจากตับ เมื่ออาหารผ่านกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีจะบีบตัวเพื่อให้มีน้ำดีออกไปผสมคลุกเคล้าอาหารนั้น ช่วยย่อยไขมันให้แตกตัว ผู้ที่ได้รับการวินิจฉันจากแพทย์ว่าควรผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปอาจมีความกังวลว่าจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอื่นที่จะสลายเฉพาะตัวนิ่วและกำจัดออกจากร่างกายได้ ดังนั้นการผ่าตัดทั้งถุงน้ำดีออกไปจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ต้นเหตุ อีกทั้งถุงน้ำดีเป็นที่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น เมื่อตัดถุงน้ำดีออกไปแล้วร่างกายจึงยังย่อยอาหารได้ โดยน้ำดีจากตับจะลงไปที่กระเพาะหรือลำไส้ได้เลยโดยไม่ผ่านตัวกักเก็บ เพียงแต่ช่วงที่เพิ่งผ่าตัดใหม่ๆ ร่างกายอาจจะไม่สามารถย่อยอาหารที่เป็นไขมันได้ดีเท่าที่ควร ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายจะปรับตัวให้เข้ากับการที่ไม่มีถุงน้ำดีได้เอง อย่างไรก็ตาม ผู้ผ่าตัดถุงน้ำดีออกแล้วควรปรับการรับประทานอาหาร โดยลดของมัน รับประทานผักและปลามากขึ้น เพื่อลดโอกาสท้องอืด และทำให้มีสุขภาพดีในระยะยาว
รักษานิ่วถุงน้ำดีทำอย่างไร จำเป็นต้องผ่าตัดเท่านั้นไหม?
นิ่วในถุงน้ำดีไม่สามารถรักษาได้ด้วยการสลายเฉพาะเม็ดนิ่ว เนื่องจากเป็นนิ่วคนละแบบกับนิ่วในไตและนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ การรักษามาตรฐานของนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกทั้งหมด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ตรวจพบนิ่วจะจำเป็นต้องผ่าตัดถุงน้ำดีออกทันที กรณีที่ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ (อาจพบจากการตรวจสุขภาพ) แพทย์อาจแนะนำให้ยังไม่ต้องรักษา แต่ให้มีการตรวจติดตามเป็นระยะ บางคนอาจไม่ต้องรักษาเลยตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่มีอาการผิดปกติซึ่งเกิดจากนิ่วถุงน้ำดีแล้ว จำเป็นต้องรับการผ่าตัดรักษาทุกราย เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ นิ่วที่อุดกั้นท่อต่างๆ อาจเกิดการอักเสบติดเชื้อ สังเกตได้จากอาการปวดท้องรุนแรง มีไข้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
หลังผ่าแล้วต้องพักฟื้นนานไหม
แพทย์อาจให้พักฟื้นใน รพ. 1-2 วัน จากนั้นให้กลับไปดูแลตัวเองต่อที่บ้าน โดยผู้ใช้บริการอาจกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์นะคะ
จริงๆแล้วถุงน้ำดีทำหน้าที่อะไร ถ้าเราตัดออกจะส่งผลกระทบอะไรมั้ย
ถุงน้ำดี มีหน้าที่เก็บน้ำดีที่สร้างจากตับ ซึ่งมีส่วนช่วยในการย่อยไขมัน แต่เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นที่พักของน้ำดีเท่านั้น แม้จะตัดออกไปแล้วตับก็ยังสามารถส่งน้ำดีไปยังกระเพาะหรือลำไส้ได้โดยตรงอยู่ดีค่ะ
รู้จักโรคนี้
นิ่วถุงน้ำดีคืออะไร สาเหตุ อาการเป็นอย่างไร?
นิ่ว เป็นเม็ดแข็งภายในถุงน้ำดี ผู้ที่เป็นนิ่วถุงน้ำดีอาจมีเม็ดนิ่วขนาดเล็กมากประมาณเม็ดทราย ไปจนถึงใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ และเกิดได้ไม่จำกัดจำนวน
สาเหตุของการเกิดนิ่วถุงน้ำดีมาจากสารละลายหลักในถุงน้ำดีเสียสมดุล ซึ่งสารละลายเหล่านั้น ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไขมัน ฟอสเฟต และกรดน้ำดี หินปูนหรือคอเลสเตอรอลจึงตกตะกอนกลายเป็นนิ่วในที่สุด
นิ่วเหล่านี้อาจอุดกั้นการไหลของน้ำดีไม่ให้ออกจากถุงน้ำดีไปเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร หรือบางกรณีอาจไหลออกไปสู่ส่วนอื่นของร่างกายทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น
- ถ้านิ่วไหลไปอุดกั้นท่อถุงน้ำดี จะทำให้ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือปวดท้องบริเวณชายโครงขวาเป็นเวลานานต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมัน
- ถ้านิ่วไหลไปอุดกั้นท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้เกิดอาการซีด่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ร่วมกับอาการปวดท้อง
- ถ้านิ่วขนาดเล็กตกลงไปอุดกั้นท่อตับอ่อน ลำไส้เล็กส่วนตับ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่อย่างรุนแรงจนถึงปวดร้าวลามไปบริเวณหลัง
สิ่งที่อันตรายคือ ผู้ป่วยจำนวนมากมีอาการนิ่วถุงน้ำดี แต่เข้าใจผิดว่านั่นเป็นอาการของโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน จึงบรรเทาอาการด้วยตัวเองโดยการใช้ยา กว่าจะทราบว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดี อาการก็รุนแรงเพิ่มขึ้นแล้ว
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คนที่มีอาการของนิ่วในถุงน้ำดีมักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน เลยเลือกกินยาแทน กว่าจะรู้ว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดี อาการก็รุนแรงแล้ว
- ส่วนใหญ่มีอาการหลังกินอาหารมันๆ หรือช่วงกลางคืน และมักจะเป็นอยู่ 1-2 ชม. ก็หาย
- ถ้าเริ่มมีอาการ ก็มักจะเป็นต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น (เพราะก้อนนิ่วไม่ได้หาย แต่จะสะสมเรื่อยๆ)
ช่วงแรกอาการจะไม่รุนแรง เกิดขึ้นเป็นระยะๆ หลังกินอาหารไขมันสูง เพราะไปกระตุ้นให้บวมตึงในถุงน้ำดี มีอาการที่สังเกตได้ดังนี้
- แน่นท้อง ท้องอืด มีลมมาก
- ปวดจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ และอาจปวดร้าวไปบริเวณสะบักขวา
- อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย
ถ้าเริ่มมีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ก็มีโอกาสเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันได้ตลอด (Acute Cholecystitis) โดยมีอาการดังนี้
- ปวด จุกแน่น 4-6 ชม. ก็ไม่หาย
- ปวดท้องแบบรุนแรง หรือปวดจุกเสียดรุนแรงตรงลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา
- มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปัสสาวะเหลืองเข้ม หรืออุจจาระสีซีด
- เป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น (ร่วมกับอาการอื่นๆ)
- คลื่นไส้ อาเจียน (ร่วมกับอาการอื่นๆ)
นิ่วอาจอุดกั้นการไหลของน้ำดีไม่ให้ไปเข้าระบบย่อยอาหาร หรืออาจไหลออกไปส่วนอื่นของร่างกายทำให้เกิดอาการผิดปกติดังนี้
- ถ้านิ่วไหลไปอุดกั้นท่อถุงน้ำดี จะทำให้แน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือปวดท้องบริเวณชายโครงขวาเป็นเวลานานต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารที่มีไขมัน
- ถ้านิ่วไหลไปอุดกั้นท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้เกิดดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง และปวดท้อง
- ถ้านิ่วขนาดเล็กตกลงไปอุดกั้นท่อตับอ่อน ลำไส้เล็กส่วนตับ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ ทำให้ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่รุนแรงจนถึงปวดร้าวลามไปบริเวณหลัง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- แพทย์จะซักถามอาการ ตรวจร่างกาย และตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีและง่ายในการตรวจนิ่วในถุงน้ำดี
- ตรวจเลือดดูการทำงานของตับ
- ส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde cholangiopancreatography: ERCP) จะทำในกรณีที่สงสัยว่ามีนิ่วในท่อน้ำดี
- ใช้เข็มเจาะผ่านตับเข้าไปในท่อน้ำดี (Percutaneous Transhepatic Cholangiography: PTC) จะทำในกรณีท่อน้ำดีอุดตัน
ส่วนใหญ่โรคนิ่วในถุงน้ำดีมักไม่รู้ตัวในระยะแรกๆ และจะตรวจเจอโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ หรือหลังจากมีอาการแล้วค่อยไปตรวจ แนะนำถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงควรตรวจเชิงป้องกันไว้ก่อน
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
นิ่วในถุงน้ำดี ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น โดยมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
*แพ็กเกจนี้เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
4 อาการนิ่วถุงน้ำดี ที่ควรได้รับการผ่าตัดโดยด่วน
- ปวดท้องด้านขวามากจนร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ในลักษณะปวดบีบๆ ต่อเนื่องยาวนาน
- จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หลังกินอาหาร 2-3 ชม. เป็นประจำ โดยเฉพาะมื้อที่มีอาหารไขมันสูง หรือเป็นอาหารมื้อใหญ่
- จุกแน่นเหมือนเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน
- มีภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
อาการเหล่านี้บ่งบอกว่ามีเม็ดนิ่วอุดกั้นในท่อรอบๆ ถุงน้ำดี และอาจมีภาวะอักเสบ ควรผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกก่อนจะอักเสบรุนแรง หรือก่อนที่จะมีภาวะแทรกซ้อน จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการผ่าตัด เช่น ยังสามารถผ่าตัดส่องกล้องได้ รวมถึงเพิ่มผลสำเร็จให้การผ่าตัดให้สูงขึ้นด้วย
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง หรือภาษาอังกฤษ Laparoscopic Cholecystectomy เป็นเทคนิคการผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบัน
คนที่จะต้องผ่าตัดถุงน้ำดีออกอาจกังวลว่ามีผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอื่นที่สลายเฉพาะนิ่วออกได้ การผ่าตัดถุงน้ำดีออกจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ต้นเหตุ
ถุงน้ำดีเป็นที่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น พอตัดถุงน้ำดีออกไปแล้วร่างกายจึงยังย่อยอาหารได้ โดยน้ำดีจากตับจะลงไปที่กระเพาะหรือลำไส้โดยไม่ผ่านตัวกักเก็บ แต่ช่วงเพิ่งผ่าตัดใหม่ๆ ร่างกายอาจย่อยอาหารที่เป็นไขมันได้ไม่ดี แต่พอผ่านไปสักพักร่างกายก็จะปรับตัวได้
คนที่ผ่าตัดถุงน้ำดีออกแล้วควรปรับการกิน โดยลดของมัน กินผักและปลามากขึ้น เพื่อลดโอกาสท้องอืด และทำให้มีสุขภาพดีในระยะยาว
ข้อดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
- แผลมีขนาดเล็ก ทำให้เจ็บน้อย ร่างกายบอบช้ำน้อย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
ขั้นตอนการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าตัดเจาะรูที่หน้าท้องประมาณ 3-4 จุด ประมาณ 1-2 ซม. ที่หน้าท้องเพื่อสอดอุปกรณ์เข้าไปตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออกจากตับ แล้วใส่ถุงที่ออกแบบพิเศษ ก่อนนำออกตรงรูที่เจาะไว้แล้ว
- ถ้าทิ้งไว้นานจนเกิดพังผืดหรือเกิดการอักเสบมากต้องผ่าตัดแบบเปิด
- ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิด
- แพทย์มองเห็นภาพกว้าง ผ่าง่ายกว่าแบบส่องกล้อง และคลำตรวจอวัยวะโดยรอบได้
- ใช้ในกรณีที่นิ่วเกิดการอักเสบ หรือผ่าตัดแบบส่องกล้องไม่ได้
- มีแผลที่หน้าท้องประมาณ 6-7 ซม.
- ปวดแผลมากกว่าและพักฟื้นนานกว่าแบบส่องกล้อง
ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
- เห็นภาพผ่านกล้องอย่างละเอียด
- แผลที่หน้าท้องประมาณ 1-2 ซม.
- แผลเล็ก เจ็บน้อย ช้ำน้อย ใช้เวลาพักฟื้นน้อย และโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็น้อยกว่าแบบเปิด
- ถ้าทิ้งไว้นานจนเกิดพังผืดหรือเกิดการอักเสบมาก อาจจะทำให้การผ่าตัดส่องกล้องไม่สำเร็จ ต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดแบบเปิดแทน
ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องแผลเดียว [ดูรายละเอียด]
- เปิดแผลเดียวที่สะดือ 1 รู
- เสียเลือดน้อยกว่าผ่าตัดด้วยเทคนิคอื่นมาก
- แทบไม่เห็นแผลหลังผ่าตัด
- ราคาสูงกว่าการผ่าตัดส่องกล้องแบบปกติ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดแบบส่องกล้องต้องพักฟื้นกี่วัน?
ใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 1-2 วัน และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 1 สัปดาห์ (ขึ้นกับแต่ละคน)
หลังผ่าตัดถุงน้ำดี แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- กินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง ดูแลความสะอาดแผล และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- งดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2-3 สัปดาห์
- งดออกกำลังกายและยกของหนัก 4 สัปดาห์
- กินอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวและช่วยในการขับถ่าย
- ลดอาหารที่มีไขมันสักระยะหนึ่ง จนกว่าร่างกายจะปรับตัวได้
- ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ
- เคลื่อนไหวร่างกายแบบเบาๆ ทุกวัน เช่น เดินไปมา เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน
- ค่อยๆ เพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ ทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัว และกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติได้ในที่สุด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
10% ของคนที่ไม่มีถุงน้ำดีอาจท้องเสียจากน้ำดีไหลออกมามากเกินไป
- ถุงน้ำดีเป็นเพียงตัวเก็บพักน้ำดี การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก น้ำดียังคงถูกสร้างจากตับและไหลลงมาตามท่อน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กเพื่อย่อยไขมันตามปกติ แต่อาจไม่เข้มข้นเท่าเดิม
- ผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้องควรทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ตัดโดนท่อน้ำดี ท่อน้ำดีรั่ว หรือท่อน้ำดีตัน
หลังผ่าตัดถุงน้ำดี อาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้น้อย ดังนี้
- ความเสี่ยงของการผ่าตัดโดยทั่วไป เช่น คลื่นไส้อาเจียน เจ็บภายในลำคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ภาวะอักเสบในช่องท้อง ภาวะเป็นฝีในตับ
- อาการปวดหัวไหล่ โดยเฉพาะไหล่ขวา เพราะการผ่าตัดต้องใส่ก๊าซเข้าไปในช่องท้องด้วยแรงดัน ทำให้มีการดึงเหยียดของกระบังลมและระคายเคืองจากก๊าซต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระบังลม ทำให้ปวดหัวไหล่ได้
- ปวดบริเวณแผลผ่าตัด
- มีเลือดหรือน้ำเหลืองคั่งบริเวณแผล
- มีรอยเขียวช้ำบริเวณแผลผ่าตัด
- อาการท้องอืด แน่นท้องหลังผ่าตัด
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ทรรศนะ อุทัยธรรมรัตน์ (หมอไผ่)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางการผ่าตัดมะเร็งตับและตับอ่อนด้วยการส่องกล้อง ผ่าตัดปีละประมาณ 200 เคส
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตร ศัลยศาสตร์ตับ ตับอ่อน ทางเดินน้ำดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์เฉพาะทางการผ่าตัดมะเร็งตับ ตับอ่อน ด้วยการส่องกล้อง (laparoscopic liver and pancreatic resection)
- ประสบการณ์การผ่าตัดถุงน้ำดี ตับ ตับอ่อน ปีละประมาณ 200 เคส ตั้งแต่ปี 2561
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐพล อภิกิจเมธา (หมอณัฐ)
อาจารย์แพทย์ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,500+ เคส
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลชลบุรี
- ผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Minimally invasive surgery) โรงพยาบาลตำรวจ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์แพทย์ ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง
- จบการศึกษาการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูงโดยตรง
- ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ทางช่องปาก ผ่าตัดส่องกล้องไส้เลื่อน ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วถุงน้ำดี ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคเหงื่อออกมือ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักรักษาโรคอ้วน และส่องกล้องทางเดินอาหาร มีประสบการณ์มากกว่า 2,500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. จิตรภาณุ วงศ์ยงศิลป์ (หมอจี้)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร การส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร สาขาโรคเต้านม
- Certification of Endoscopic and Laparoscopic Surgery, Japanese Red Cross Hospital (Japan)
- Certification of Clinical Fellowship at Department of Gastroenterological Surgery, Tokyo Women's Medical University (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน (Hernia Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง (Advanced Endoscopy)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. อธิวุฒิ บวรวัฒนวานิช (หมอตั้ม)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2563 วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี
- 2565 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2565 Certificate of Fellowship Program in Division of Colorectal Surgery, The Catholic University of Korea (Korea)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง (Endoscopic Thyroidectomy) ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง (Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วิบูลย์ ชัยยะมงคล (หมอแบน)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 20+ ปี
ข้อมูลของแพทย์
- 2536 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2540 ศัลยศาสตร์ กรมการแพทย์ราชวิถี
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ทั่วไปประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 20 ปี
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดริดสีดวงทวาร ผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน ผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณธีพัฒน์ เอื้อนิธิเลิศ (หมอตั้ม)
ข้อมูลของแพทย์
- อดีตอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรม ศัลยแพทย์ผ่าตัดประสบการณ์มากกว่า 4 ปี ผ่านเคสผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- โรค/หัตถการที่ชำนาญ การผ่าไส้เลื่อนแบบเปิด, การผ่าตัดริดสีดวง, การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดและแบบรูแผลซ่อนในสะดือ, การส่องกล้องลำไส้และทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. พรรควุธ จันทร์สว่างภูวนะ (หมอโอ๊ค)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ข้อมูลของแพทย์
-วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
-ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้อง
-ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก