รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจคัดกรองต้อหิน
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองต้อหิน ต้อกระจก ด้วยเทคโนโลยี OCT 2 จุด และตรวจจอประสาทตา ขั้วประสาทตาด้วยเครื่อง Fundus Camera
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
สิ่งที่ต้องจ่ายเพิ่ม
- ค่าตรวจ ATK ราคา 69 บาท (ราคาพิเศษเฉพาะลูกค้าที่เข้าทำหัตถการนี้)
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจคัดกรองต้อหิน
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- แพ็กเกจนี้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
- ไม่สามารถระบุแพทย์ได้
- ควรตรวจเป็นประจำทุกปี
- งดเว้นการทาเครื่องสำอางบริเวณดวงตาก่อนตรวจ
- ดูภาวะความผิดปกติของต้อหิน ต้อกระจก และภาวะตาแห้ง
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ผู้ที่เหมาะสำหรับบริการนี้
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- ผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน
- ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมากๆ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอความพิวเตอร์เป็นเวลานาน
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
- ผู้ที่ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ทั้งชนิดหยอด รับประทาน และยาฉีด
- ผู้ที่เคยเข้ารับการผ่าตัดตา ประสบอุบัติเหตุทางตา เคยติดเชื้อ หรือเกิดการอักเสบในดวงตา
- ผู้ที่เป็นโรคดวงตาอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก
ข้อห้ามสำหรับบริการนี้
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตาดำ เช่น ม่านตาขยายไม่ได้เต็มที่
- ผู้ป่วยต้อกระจกที่มีเนื้อเยื่อยึดแก้วตาอ่อนแอผิดปกติ การผ่าตัดอาจทำให้แก้วตาตกลงไปในส่วนล่างของตา ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงตามมา
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ตาอักเสบหรือติดเชื้อ
- มีเลือดออกภายในตา
- เป็นโรคต้อหิน
- หนังตาตก
- จอประสาทตาลอก
- กระจกตาบวม
- มีสารน้ำสะสมอยู่ภายในจอประสาทตา
- สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมด
- เห็นภาพซ้อน หรืออาจเกิดปัญหาจากเลนส์เทียมที่ใส่เข้าไป เช่น เลนส์หลุดออกจากที่ หรือการเกิดต้อกระจกขึ้นใหม่ (Secondary cataract)
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองต้อหิน
โรคต้อหิน (Glaucoma)⠀เป็นโรคของดวงตาที่พบได้บ่อย เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากการมีความดันในลูกตาสูง โดยอาจเพิ่มขึ้นเองตามธรรมชาติจากการเสื่อมข้างในดวงตา หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือการผ่าตัดก็ได้ โดยมีอาการร่วมกับการมีขั้วประสาทตาผิดปกติ และการสูญเสียของลานสายตา
โรคต้อหินแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ต้อหินชนิดมุมตาเปิด ต้อหินชนิดมุมตาปิด และต้อหินในเด็ก (ต้อหินแต่กำเนิด) โดยสามารถเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
ผู้ที่เป็นโรคต้อหินจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ลานสายตา หรือความกว้างของการมองเห็นแคบเข้าเรื่อยๆ จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดถาวรได้ในที่สุด
⠀
⠀อาการของโรคต้อหิน
- ผู้ที่เป็นต้อหินที่เกิดแบบเฉียบพลันจะมีอาการปวดตามาก ปวดศีรษะ ตาสู้แสงไม่ได้ ตาแดงฉับพลันภายใน 30-60 นาที ตามัวลงคล้ายหมอกมาบัง ตามัวมากจนเกือบมองไม่เห็นอะไรเลย หรือมองเห็นแสงสีรุ้งรอบๆ ดวงไฟ
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับอาการปวดตา
- ผู้ที่เป็นต้อหินแบบเรื้อรังมักจะไม่มีอาการแสดงอะไร อาจจะรู้สึกเพียงมึนศีรษะ เพลียตา หรือตาพร่าเวลาอ่านหนังสือเท่านั้น แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงของลานสายตา ค่อยๆ แคบเข้ามาเรื่อยๆ เป็นรูปแบบที่มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจดวงตาประจำปี
แนวทางการรักษาโรคต้อหิน
- การใช้ยาหยอดตา เป็นวีธีรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด เพราะสะดวก และปลอดภัย แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องหยอดตาทุกวันไปตลอดชีวิต
- การใช้ยารับประทานหรือยาฉีด ใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง
- การใช้แสงเลเซอร์ ใช้รักษาโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน หรือใช้เพื่อลดความดันตาในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตา
- การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการใช้ยาและเลเซอร์
วิธีป้องกันโรคต้อหิน
- ควรตรวจคัดกรองโรคต้อหิน หรือตรวจดวงตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหิน ผู้ที่มีสายตายาว และผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ไม่ควรซื้อยาหยอดตาใช้เอง เพราะการใช้ยาหยอดตาที่ผสมสเตียรอยด์เป็นเวลานานจะทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นได้ หรือการใช้ยาที่ทำให้รูม่านตาขยาย อาจทำให้เกิดต้อหินชนิดมุมปิดแบบเฉียบพลันได้
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุรอบดวงตา
- เมื่อมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น ปวดตา ตาแดง สายตามัวลงเร็ว หรือปวดศีรษะร่วมด้วย ควรไปตรวจดวงตากับจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมทันที
โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นภาวะความผิดปกติของตาที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นจากเลนส์แก้วตาที่เสื่อมสภาพจนสูญเสียสภาพความโปร่งแสง เกิดการขุ่นมัวภายในแก้วตา มักพบมากในผู้สูงอายุ โดยส่งผลให้การมองเห็นแย่ลง มีอาการตามัวลงช้าๆ
สาเหตุของโรคต้อกระจก
ส่วนใหญ่ต้อกระจกจะเกิดจากการเสื่อมของเลนส์แก้วตาตามอายุ แต่อาจมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการเสื่อมของตาได้ตั้งแต่อายุไม่มาก เช่น
- เคยประสบอุบัติเหตุเกิดแรงกระแทกที่ตามาก่อน
- เป็นโรคภายในตาเรื้อรัง
- ใช้ยาสเตียรอยด์มาเป็นเวลานาน
- ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดดมากเกินไป
- เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่
- ดื่มแอลกอฮอล์
- มีภาวะอ้วน
- เคยผ่าตัดตามาก่อน
อาการ
- สายตามัวลง เริ่มจากมัวน้อยๆ เหมือนมีหมอกหรือกระจกฝ้ามาบัง และเริ่มมัวมากขึ้นจนมองไม่เห็น แต่ไม่มีอาการปวดตา
- ตาจะมัวเมื่ออยู่ในที่สว่างจ้า ซึ่งเกิดจากรูม่านตาหด
- การมองเห็นดีขึ้นเมื่ออยู่ในที่ร่ม
- เห็นภาพซ้อน (Diplopia) ในตาข้างที่เป็น
- มีอาการกลัวแสง (Photophobia)
- สายตาอาจสั้นลงในระยะแรกที่เป็นต้อกระจก เนื่องจากแก้วตามีความนูนเพิ่มขึ้น
การรักษาโรคต้อกระจก
โรคต้อกระจกสามารถรักษาได้ 2 วิธี คือ
- การผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออก (Extracapsular cataract extraction: ECCE) เป็นการผ่าตัดนำเลนส์ออกพร้อมทั้งเปลือกหุ้มเลนส์ โดยใช้ความเย็นแตะที่เลนส์แล้วค่อยๆ ดึงออกมา หลังจากผ่าตัดจะต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 7-10 วัน และต้องระมัดระวังการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งต้องใส่แว่นตาต้อกระจกที่จะทำให้มองเห็นภาพได้โตขึ้น แต่จะมองไม่เห็นด้านข้าง
- การใส่เลนส์เทียมแทนที่ (Intraocular Lens: IOL) แพทย์จะใช้การอัลตราซาวด์เข้ามาช่วยสลายแก้วตาแล้วดูดออก การใส่เลนส์เทียมจะช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น แต่เมื่อไม่ได้ใส่เลนส์เทียมก็จะต้องใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตาแทน
หมายเหตุ
- โดยทั่วไปสามารถกลับบ้านได้เลยภายหลังผ่าตัด และต้องมาพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้นเพื่อติดตามผลการรักษา ยกเว้นผู้ป่วยรายที่มีปัญหาซับซ้อนหรือเดินทางไม่สะดวก จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 วันคือ ก่อนผ่าตัด 1 วัน และหลังผ่าตัด 1 วัน
- ต้องมาตรวจตาตามแพทย์นัดทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ปวดตา ตาแดง หรือมีขี้ตามาก ให้มาพบแพทย์ก่อนนัด อย่าปล่อยให้อาการเรื้อรังไว้เด็ดขาด
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจตา รักษาโรคตา ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่, โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-17.00 น.
-
ใช้ BTS ลงสถานีสะพานควาย (ทางออก 2) เดินต่ออีก 100 เมตร โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน อยู่ติดกับบิ๊กซี สะพานควาย ศูนย์ตาอยู่อาคาร 1 ชั้น 13
-
จอดรถที่อาคารจอดของโรงพยาบาล