ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี โรคนี้ระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ หากพบก้อนขนาดใหญ่ หรือมีเลือด น้ำเหลืองไหลจากหัวนม ก็มักเป็นระยะที่มะเร็งเต้านมได้ลุกลาม และแพร่กระจายแล้ว
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้มีพฤติกรรมบริโภคไขมันสูง
- ผู้มีภาวะอ้วน
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
- ผู้ไม่ออกกำลังกาย
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมคืออะไร?
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม (Digital Mammography) เป็นการตรวจเต้านมด้วยเครื่องที่ใช้รังสีเอกซเรย์ปริมาณรังสีต่ำ (Low-Dose X-Ray) แล้วฉายออกมาเป็นภาพดิจิทัล ให้เห็นลักษณะความเข้ม-ทึบ ที่ต่างกันของเนื้อเยื่อในเต้านมแต่ละชนิด เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูน หรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมระยะแรก รวมถึงก้อนเนื้องอก ช่วยให้พบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
ดิจิทัลแมมโมแกรม VS แมมโมแกรม
การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมแบบเดิมจะบันทึกภาพลงบนฟิล์มเอกซเรย์ แต่ดิจิทัลแมมโมแกรมจะบันทึกภาพลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
- นักรังสีเทคนิคจะจัดท่าทางของคุณให้พร้อมสำหรับเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม โดยจะให้เต้านมอยู่ระหว่างแผ่นพลาสติกใส 2 แผ่น
- นักรังสีเทคนิคควบคุมเครื่องให้ค่อยๆ บีบเนื้อเต้านมผู้รับการตรวจเข้าหากัน แล้วบันทึกภาพถ่ายรังสีด้านบน 1 รูป ด้านข้าง 1 รูป
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการอ่านผลอ่านตรวจโดยแพทย์ โดยอาจมีการตรวจเพิ่มเติมหากพบจุดที่ผิดปกติแต่ยังเห็นไม่ชัด
ข้อดี
- สามารถบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพคมชัด ทำให้ตรวจความผิดปกติได้ตรวจได้ค่อนข้างละเอียด แม่นยำ
- ใช้รังสีปริมาณต่ำ ลดปริมาณรังสีลงประมาณ 25% เมื่อเทียบกับการตรวจโดยใช้รังสีเอกซเรย์ทั่วไป
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่