
การตรวจดูความพร้อมของสุขภาพของพ่อและแม่ ก่อนเริ่มกระบวนการทำ IVF หรือทำ ICSI
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจร่างกาย
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองภาวะมีบุตรยากและเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร สำหรับผู้ชาย 6 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti-HIV)
- ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (Anti-TP)
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจธาลัสซีเมีย (Hb Typing)
- ตรวจวิเคราะห์อสุจิ (Sperm Count)
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
หมายเหตุ
- กรณีที่มีการตรวจหรือรักษานอกเหนือจากในแพ็กเกจ จะคิดค่าบริการเพิ่มเติมตามจริง
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจร่างกาย
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 7-14 วัน โดยพยาบาลจะโทรแจ้งผลทางโทรศัพท์
- แพ็กเกจนี้สำหรับผู้เข้ารับบริการชาวไทยเท่านั้น
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- หากมีการจดบันทึกรอบประจำเดือน 3-6 เดือนที่ผ่านมา ให้นำบันทึกมาให้แพทย์ดูด้วย
- งดใช้ยาสวนล้างช่องคลอดหรือยาเหน็บช่องคลอดก่อนวันมารับบริการประมาณ 2 วัน
- งดมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับบริการประมาณ 24-48 ชั่วโมง
- ควรขับปัสสาวะออกให้หมดก่อนการตรวจภายใน เพื่อการตรวจดูขนาดมดลูกและปีกมดลูกได้อย่างแม่นยำ
- แพทย์อาจให้ผู้เข้ารับบริการชายเก็บตัวอย่างสเปิร์มก่อนวันมารับบริการกับแพทย์ประมาณ 3-7 วัน ผ่านวิธีการช่วยตัวเอง (Masturbation)
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รับประทานยาหรืออาหารเสริม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ถอดออกง่าย
- ไม่ต้องโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ
- ไม่ต้องงดเครื่องดื่มและอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายการตรวจของแต่ละสถานพยาบาล ควรสอบถามอีกครั้งก่อนเข้ารับบริการ
การดูแลหลังรับบริการ
- สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที
- ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพจากแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อม
- แพทย์อาจนัดเข้ามาตรวจสุขภาพเพิ่มเติมอีกครั้งหลังจากระยะเวลาผ่านไปประมาณ 3 เดือน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานภายในร่างกาย และเพื่อพิจารณาว่า สามารถทำ IVF ICSI หรือ IUI ได้แล้วหรือไม่
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- ไม่ควรตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน ควรรับบริการหลังประจำเดือนหมด 7 วัน หรือตามที่แพทย์แนะนำ
- หากผู้เข้ารับบริการมีผลตรวจตรวจสุขภาพมาก่อน ให้นำติดตัวมาด้วยในวันที่เข้ารับการตรวจ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจประเมินก่อนเริ่มทำ - ผู้ที่มีอาการแพ้ยาแก้ปวดหรือยาชา เพราะในขั้นตอนการตรวจบางอย่างอาจต้องมีการจ่ายยาให้เพื่อระงับความรู้สึกเจ็บที่เกิดขึ้น
- ผู้ที่มีอาการอักเสบบริเวณผิวหนัง หรือเป็นโรคติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ควรรักษาให้หายเสียก่อน
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลุกลาม เช่น มะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น - ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกปวด ระคายเคือง หรือหน่วงท้องหลังจากตรวจภายในได้ แต่มักเป็นอาการที่พบได้น้อย
- อาจมีอาการบวมหรือปวด บริเวณที่เจาะเลือด
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจร่างกาย
การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization) หรือเรียกทั่วไปว่า การทำ IVF คือ วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากผ่านการนำไข่มาผสมกับเชื้ออสุจิภายนอกร่างกาย จนเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน จากนั้นแพทย์ก็จะย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป
การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperminjection: ICSI)⠀
คือ วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่คล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้ว เพียงแต่จะแตกต่างกันตรงที่การทำ ICSI จะมีการคัดเลือกเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด แล้วนำมาเจาะผสมกับเนื้อไข่ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นไข่ใบที่ดีที่สุดเช่นกัน
ทั้งการทำ IVF และการทำ ICSI ล้วนต้องอาศัยความพร้อมด้านสุขภาพแทบทุกด้านของคู่รักทั้งหญิงและชาย ไม่ว่าจะเป็น
- ความแข็งแรงและปริมาณของเชื้ออสุจิที่เพียงพอ
- ความสมบูรณ์และจำนวนของไข่
- ความสมบูรณ์ของระบบสืบพันธ์ุ ไม่มีความผิดปกติทั้งหญิงและชาย เช่น ภาวะไข่ไม่ตก โรคถุงน้ำในรังไข่ ภาวะท่อนำไข่ตีบตัน ลูกอัณฑะอักเสบ เป็นต้น
- การทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่และผลิตสเปิร์ม เช่น ฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
- ร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคที่มักส่งผลทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เช่น โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคเอดส์ รวมไปถึงการทำหมันมาก่อนด้วย
ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงจะมีการตรวจประเมินร่างกายอย่างละเอียดก่อนจะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการวางแผนทำ IVF หรือทำ ICSI เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้จะทำในทันทีไม่ได้ แต่ผู้เข้ารับบริการต้องกลับไปเตรียมพร้อมร่างกายให้แข็งแรงเพียงพอเสียก่อน จากนั้นเมื่อแพทย์ตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งและเห็นว่า ร่างกายของผู้เข้ารับบริการพร้อมแล้ว จึงจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากได้
ขั้นตอนการตรวจประเมินการทำ IVF และ ICSI
โดยการตรวจประเมินสุขภาพก่อนเริ่มกระบวนการทำ IVF หรือทำ ICSI ส่วนใหญ่จะมี 4 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่
1.⠀การตรวจสุขภาพทั่วไป
เป็นการตรวจเช็กดูความสมบูรณ์ทั่วไปของร่างกาย เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ตรวจความแข็งแรงของระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการตรวจสุขภาพทั่วไป แพทย์ยังมีการซักประวัติด้านสุขภาพรวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย เช่น การมาของประจำเดือน การคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ การทำแท้ง การผ่าตัด การฉีดวัคซีน ประวัติการใช้สารเสพติด การใช้ยาประจำตัว การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การนอนหลับพักผ่อน
2.⠀การตรวจเลือด
การตรวจเลือดเป็นการตรวจที่สามารถดูความเสี่ยงของโรคร้ายต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรืออาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้มากมาย เช่น ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โรคทางพันธุกรรมแฝงต่างๆ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis) โรคเอดส์ (Acquired Immunol Deficiency Syndrome: AIDS) การติดเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus)
การตรวจเลือดยังเป็นการตรวจเพื่อดูความแข็งแรงและระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ด้วย เช่น ฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติง (Follicle Stimulating Hormone) ฮอร์โมนลูทิไนซิง ฮอร์โมนอีสตราไดออล (Oestradiol Hormone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
3.⠀การตรวจภายใน
เป็นการตรวจเพื่อดูความสมบูรณ์ของอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อให้มั่นใจว่า มีความพร้อมต่อการตั้งครรภ์และไม่เสี่ยงเป็นโรคร้ายที่อาจมีผลประทบต่อการทำ IVF หรือทำ ICSI ในภายหลัง เช่น อุ้งเชิงกราน ช่องคลอด รังไข่ ท่อนำไข่
ในผู้เข้ารับบริการบางราย แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องด้วย เพื่อดูความเสี่ยงโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)
4. การเก็บตัวอย่างเชื้อสเปิร์ม
มีจุดมุ่งหมายเพื่อดูความสมบูรณ์ของสเปิร์ม ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ รูปร่าง ความเข้มข้น ความสามารถในการเคลื่อนไหว และหากมีความบกพร่องเกิดขึ้น แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลตนเองที่เหมาะสมเพื่อให้สเปิร์มของผู้เข้ารับบริการชายสมบูรณ์พอที่จะผสมกับไข่ให้มากที่สุด
หมายเหตุ
- รายการตรวจอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณา

โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่มีบริการ ฝากไข่ รักษามีบุตรยา ทำเด็กหลอดแก้ว ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-16.00 น.
-
จอดรถที่อาคารจอดของโรงพยาบาล