
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชาย
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจสุขภาพ 32 รายการ (Platinum Plus) รวมตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) สำหรับผู้ชาย อายุ 41-60 ปี มีรายการตรวจดังนี้
- วัดความดันโลหิต ชีพจร (Blood Pressure, Vital Signs)
- วัดค่าไขมันสะสมในร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง (Body Fat, Weight & Hight)
- ตรวจวัดความสามารถในการมองเห็น (Visual Acuity)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
- ตรวจหาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Triglyceride)
- ตรวจหากรดยูริกในเลือด (Uric Acid)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นสูง (HDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (LDL-Cholesterol)
- ตรวจการทำงานของตับ (Alkaline Phosphatase: ALP)
- ตรวจภาวะการทำงานของตับ (Total Protein)
- ตรวจหน้าที่การทำงานของตับ (AST (SGOT))
- ตรวจหน้าที่การทำงานของตับ (ALT (SGPT))
- ตรวจประเมินการทำงานของไต (Creatinine plus GFR)
- ตรวจหน้าที่การทำงานของไต (BUN)
- ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)
- ตรวจหาเชื้อและภูมิไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag)
- ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (Alpha-Fetoprotine: AFP)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
- ตรวจหามะเร็งตับอ่อน (CA 19-9)
- ตรวจลักษณะทั่วไปของอุจจาระ (Stool Exam)
- ตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Stool Occult Blood)
- ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
- เอกซเรย์ปอดด้วยฟิล์มใหญ่ (Chest: PA)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG)
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
- ตรวจการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (Ankle Brachial Index: ABI)
- ตรวจความหนาแน่นของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง (Bone Dense Lumbar (Lumbar Spines AP & Hip))
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าสมุดรายงานผล
- คูปองอเมซอน มูลค่า 200 บาท
หมายเหตุ
- กรณีพบความผิดปกติ และจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาเพิ่มเติม จะมีค่าใช้จ่ายโดยคิดอัตราค่าแพทย์และค่าบริการเพิ่มตามจริง
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชาย
- ระยะเวลารับบริการรวมฟังผลประมาณ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง สามารถจิบน้ำเปล่าได้
- สงวนสิทธิ์เฉพาะคนไทยและชาวต่างชาติที่เป็น Expat เท่านั้น โดยชาวต่างชาติใช้ใบอนุญาตทำงานและพาสปอร์ตในการยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ก่อนตรวจสุขภาพอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่เป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ
- งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากก่อนการตรวจ เช่น การออกกำลังกาย
- ควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายเหมาะกับการออกกำลังกาย รวมทั้งสวมใส่รองเท้าที่สามารถเดิน หรือวิ่งได้คล่องตัว
- หากผู้ป่วยรับประทานยา หรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- โรคหรืออาการบางอย่างอาจตรวจไม่พบจากการตรวจสุขภาพทั่วไป หากมีความกังวลด้านใดเป็นพิเศษ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบก่อน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยใช้วิธีหรือเครื่องมือเฉพาะ
- หากมีโรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ หรือมีประวัติสุขภาพอื่นๆ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบด้วย
- หากผลการตรวจสุขภาพ ไม่บ่งชี้สัญญาณความผิดปกติใดๆ ก็ควรดูแลสุขภาพให้ดีตามปกติ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจ EST
- ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หากต้องการรับบริการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina)
- ผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอเออร์ติก (Aortic Valve) ตีบอย่างรุนแรง
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผล
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ และ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) ฉีกขาดเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการตรวจ EST เช่น การติดเชื้อต่างๆ โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจ EST อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และพยาบาล จึงไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพหัวใจผิดปกติอาจมีผลข้างเคียง หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- มีอาการเหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อได้
- คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม
- มีอาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
- พบลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
- ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงขณะที่เดินสายพาน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชาย
การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น ในผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรือเริ่มพบสัญญาณความผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อประเมินความเสี่ยงหรือค้นหาโรคที่อาจยังไม่ปรากฏอาการแน่ชัด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
การพบโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความรุนแรง เพิ่มโอกาสในการรักษา และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวได้
เริ่มตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเริ่มตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน บุคคลในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีอาการผิดปกติใดๆ ในร่างกาย อาจเริ่มตรวจสุขภาพหลังจากอายุ 15 ปีก็ได้เช่นกัน
หมายเหตุ
- โปรแกรมตรวจสุขภาพแต่ละโปรแกรม มีรายการตรวจที่แตกต่างกัน ซึ่งเหมาะกับช่วงวัย เพศ หรือประวัติสุขภาพที่แตกต่างกัน ควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียด เพื่อเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST หรือ Exercise Tolerance Test: ETT) ใช้สำหรับตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย โดยดูว่าในขณะที่ร่างกายออกกำลังอย่างหนัก กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่
การตรวจ EST มีเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 2 แบบ คือ สายพานไฟฟ้า (Treadmill) และจักรยาน (Bicycle Ergometer)
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ EST
- ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรืออัมพาต
- นักกีฬา เพราะการวิ่งสายพานจะช่วยให้รู้ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับระดับการเต้นของหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจ EST
- แพทย์ประเมินหาข้อห้ามในการทดสอบ
- ทำการติดเครื่องวัดความดันโลหิต และชีพจรแบบอัตโนมัติ และติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอก
- แพทย์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบ ในท่านอนและท่ายืน
- แพทย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะออกกำลังกาย รวมไปถึงวัดความดันโลหิตและชีพจรเป็นระยะๆ
หมายเหตุ
- ไม่แนะนำผู้ที่มีข้อจำกัดในการวิ่ง เช่น ปวดเข่า เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูก และข้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือมีอาการขาอ่อนแรง
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่รับ ตรวจสุขภาพ ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ @สุขุมวิท 62 ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลรวมใจรักษ์ @สุขุมวิท 62 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 07.00-17.00 น.
-
ใช้รถยนต์ เข้าซอยสุขุมวิท 62 หรือจากถนนสุขุมวิทเส้นทางรถไฟฟ้าสายเก่า ผ่านโรงเรียนพระโขนง หรือใช้ BTS ลงสถานีบางจาก (ทางออก 2) จากนั้นเดินเข้าซอยสุขุมวิท 62 หรือนั่งวินมอเตอร์ไซค์ เข้ามาประมาณ 500 เมตร ศูนย์ตรวจสุขภาพอยู่ชั้น 1
-
จอดรถที่อาคารจอดรถของโรงพยาบาล