
รายละเอียด
HDcare สรุปให้

HDmall สรุปให้ สายตาแบบไหนทำได้บ้าง
สายตาสั้นต่ำกว่า 1,200 ทำได้ทั้ง
- สายตาสั้นทั้งแบบแต่กำเนิดและตามอายุ
- สายตาสั้นและเอียง
- สายตาสั้นและเอียงและยาวทั้งแบบแต่กำเนิดและตามอายุ
- สายตาสั้นมากแต่ไม่เกิน 1,200 แนะนำให้ทำ Femto Lasik หรือ SBK Lasik ขึ้นกับความหนาของกระจกตา
- สายตาสั้นเกิน 1,200 ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
สายตายาวแต่กำเนิดไม่เกิน 300 ทำได้ทั้ง
- สายตายาวแต่กำเนิดอย่างเดียว
- สายตายาวแต่กำเนิดและเอียง
- สายตายาวแต่กำเนิดและเอียงและสั้น
- สายตายาวกว่า 300 ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
สายตายาวตามอายุ ต้องมีสายตาสั้นร่วมด้วย จึงสามารถปรับค่าสายตาแบบ Monovision ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ถ้าอายุมากกว่า 52 ปี ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีความผิดปกติของสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
- ผู้ที่มีปัญหาการใส่แว่น หรือรู้สึกไม่สะดวกเมื่อต้องใช้แว่นหรือคอนแทคเลนส์
- ผู้ที่มีข้อจำกัดบางอย่างทำไม่สามารถรักษาด้วยการทำเลสิก เช่น กระจกตาบาง มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย มีภาวะตาแห้งผิดปกติ ผู้ที่ต้องการสอบเป็นนักบิน
- ผู้ที่ต้องการความสะดวกขณะออกกำลังกาย
- ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง
- มีความเข้าใจและความคาดหวังที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำ PRK
รู้จักการผ่าตัดนี้
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการทำ Trans PRK LASIK
Tran PRK (Transepithelial Photorefractive Keratectomy) คือ การใช้ Excimer Laser ลอกเอาผิวกระจกตาออก แล้วปรับความโค้งกระจกตาในขั้นตอนเดียว โดยไม่มีเครื่องมือมาสัมผัสดวงตา เป็นวิธีที่พัฒนามาจาก PRK รูปแบบเดิมที่ต้องใช้อุปกรณ์ในการขูดผิวกระจกตาออก สามารถรักษาได้ทั้งสายตาสั้น ยาว และเอียง
ทำ Trans PRK แก้ปัญหาสายตาอะไรได้บ้าง?
การทำ Trans PRK แก้ได้ทั้งปัญหาสายตาสั้น ยาว และเอียง แต่อาจจะทำได้ในค่าสายตาที่น้อยกว่าการทำ LASIK รายละเอียดดังนี้
- ภาวะสายตาสั้น มักเกิดจากลูกตามีรูปทรงยาว หรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้มองเห็นภาพใกล้ชัดเจน แต่มองภาพไกลไม่ชัด การทำ Trans PRK มักให้ผลดีกับผู้ที่สายตาสั้นไม่เกิน 1,000 (ในขณะที่การทำ LASIK มักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตาสั้นไม่เกิน 1,200)
- ภาวะสายตายาว มักเกิดจากลูกตาสั้น หรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้มองภาพใกล้ไม่ค่อยชัดเจน การทำ Trans PRK มักให้ผลดีกับผู้ที่สายตายาวไม่เกิน 300 (ในขณะที่การทำ LASIK มักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตายาวไม่เกิน 600)
- ภาวะสายตาเอียง เกิดจากกระจกตามีความโค้งที่ไม่สมมาตร หรือกระจกตาเบี้ยว ทำให้มองไม่ชัดทั้งใกล้และไกล การทำ Trans PRK มักให้ผลดีกับผู้ที่สายตาเอียงไม่เกิน 600 (การทำ LASIK มักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตาเอียงไม่เกิน 600 เช่นเดียวกัน)
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีใด ก็จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อแพทย์กับคนไข้จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพตาของแต่ละคน โดยอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากค่าสายตาด้วย
การทำ Trans PRK มีข้อดีอย่างไร?
- Trans PRK มีจุดเด่นที่ใช้เพียงเลเซอร์ตั้งแต่การลอกผิวกระจกตาไปจนถึงปรับแต่งความโค้งกระจกตา ไม่มีการใช้อุปกรณ์อื่นมาสัมผัสกระจกตาเลย ทำให้หลังปรับค่าสายตาแล้วกระจกตาบอบช้ำน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า แผลหายเร็วกว่าทำ PRK แบบดั้งเดิม
- สามารถทำได้ในผู้ที่ตาเล็กหรือตาตี่มากๆ เกินกว่าจะใส่เครื่องมือล็อกดวงตาเพื่อผ่าตัดปรับค่าสายตาด้วยวิธีอื่นๆ ด้วย
- เปรียบเทียบกับการผ่าตัดแก้ปัญหาค่าสายตาด้วยการทำ LASIK การทำ Trans PRK มีข้อดี เช่น คนที่กระจกตาบางจนไม่สามารถทำเลสิก ก็อาจทำ PRK ได้ เพราะไม่ต้องเผื่อความหนากระจกตาไว้สำหรับแยกชั้นก่อนปรับความโค้งกระจกตาอย่างทำเลสิกหรือ ReLEx SMILE (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาคนไข้แต่ละราย)
- การทำ Trans PRK ที่ไม่ได้แยกชั้นกระจกตา เมื่อแผลหายแล้ว โครงสร้างกระจกตาแข็งแรงกว่าทำเลสิก และไม่ต้องกังวลกับเรื่องชั้นกระจกตาเคลื่อนหรือพับระหว่างฟื้นตัวและในระยะยาว
- เป็นการรักษาสายตาผิดปกติ ปรับค่าสายตาให้เป็น 0 ณ วันที่ทำ
- อาการระคายเคืองตาหลังทำน้อยกว่า PRK แผลหายเร็วขึ้น ลดโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้ดีขึ้น
- ไม่ต้องฉีดยาชา เพียงแต่ใช้ยาชาหยอดตา และไม่มีการเย็บแผล
- กลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด
นอกจากนี้ การทำ Trans PRK ยังไม่อยู่ในข้อห้ามในการประกอบอาชีพนักบินหรือนักเรียนนายร้อยอีกด้วย
ควรทำ PRK ในกรณีใด?
- กระจกตาบาง
- มีประวัติกระจกตาถลอกง่าย หรือมี Recurrent Erosion
- มีภาวะตาแห้งกว่าปกติและรักษายาก
- ต้องการสอบเป็นนักบิน เนื่องจากการรักษาแบบ Trans PRK และ PRK เป็นวิธีที่อนุญาตสำหรับผู้ที่จะสอบเป็นนักบิน
- ผู้ที่เป็นโรคต้อหินในบางราย ซึ่งแพทย์เฉพาะทางต้อหินพิจารณาแล้วว่าสามารถรักษาสายตาผิดปกติได้
- ผู้ที่มีความโค้งกระจกตาผิดรูปไม่เหมาะที่จะแยกชั้นกระจกตา
ระยะเวลาพักฟื้น
ระยะเวลาฟื้นตัวและการหายของแผลสำหรับวิธี Trans PRK จะนานกว่าวิธีเลสิก หลังผ่าตัดจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาที่มีสารในกลุ่มสเตียรอยด์ จึงต้องติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนการทำ Trans PRK

- ขั้นตอนการทำ Trans PRK เริ่มจาก พยาบาลใช้วัสดุปราศจากเชื้อคลุมหน้าคนไข้ เปิดเหลือเฉพาะดวงตาไว้ แล้วหยอดยาชาลงบนดวงตาข้างที่จะผ่าตัด
- เมื่อยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะให้คนไข้มองค้างไปยังแสงไฟสีเขียวของเครื่องทำ Trans PRK เครื่องจะปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาลอกผิวกระจกตาและปรับแต่งความโค้งกระจกตาคนไข้จนได้ระดับเหมาะสม หลังจากนั้นแพทย์จะปิดแผลกระจกตาคนไข้ด้วยคอนแทคเลนส์ เป็นอันเสร็จ
- หลังเลเซอร์ปรับค่าสายตา หรือทำ Trans PRK ผิวกระจกตาคนไข้จะซ่อมแซมตัวเองภายในระยะเวลาประมาณ 3-5 วัน โดยคนไข้จะสังเกตได้ว่าตัวเองค่อยๆ มองเห็นภาพคมชัดขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นการมองเห็นจะฟื้นตัวเต็มที่ภายในประมาณ 3 เดือน
ทำ Trans PRK ใช้เวลานานเท่าไหร่ ทำเสร็จกลับบ้านได้เลยไหม?
การทำ Trans PRK นั้นใช้เวลาสั้นมาก เนื่องจากสามารถลอกผิวกระจกตาพร้อมกับปรับแต่งความโค้งได้ในขั้นตอนเดียว ทำ Trans PRK ที่ตาข้างหนึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้น โดยทั่วไปเมื่อทำเสร็จแล้วจะมองเห็นได้เลย (แต่ยังไม่คมชัด) และสามารถกลับบ้านได้เลย
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าปรับค่าสายตา ด้วยการทำ Trans PRK LASIK สำหรับตา 2 ข้าง
- ค่าแพทย์ผ่าตัด
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าตรวจติดตามผลหลังการผ่าตัด 1, 7, 30, 120 และ 160 วัน
- ค่ายากลับบ้าน 1 ชุด
- ค่าพบแพทย์และตรวจสุขภาพตาก่อนทำเลสิก
หมายเหตุ
- แพ็กเกจนี้สำหรับชาวไทยเท่านั้น
- รายการต่อไปนี้ไม่รวมอยู่ในราคาแพ็กเกจ หากแพทย์พิจารณาว่าต้องทำ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม (ยาหลังการผ่าตัด, การรักษาอื่นเพิ่มเติม, การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ทำ Trans PRK LASIK
- ระยะเวลาตรวจประเมินก่อนรักษาอย่างละเอียดประมาณ 3-4 ชั่วโมง
- ต้องเข้ารับการประเมินจากแพทย์ก่อนผ่าตัดว่า สามารถผ่าตัดได้
ข้อห้ามสำหรับการทำ Trans PRK
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม
- ผู้ที่เป็นโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) โรคหลอดเลือดที่ยังควบคุมไม่ได้
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยา หรือการรักษาที่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
1. Femto LASIK
- แยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ (Femtosecond) จากนั้นใช้ Excimer Laser เพื่อปรับค่าสายตา เสร็จแล้วปิดฝากลับเข้าที่เดิม
- ข้อดีคือสามารถแยกชั้นกระจกตาได้บาง ขอบแผลเรียบ หลังผ่าตัดผิวกระจกตาสมานตัวเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย ลดผลข้างเคียงจากการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,200
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 วัน โดยระหว่างนี้ห้ามขยี้ตาหรือทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระทบกระเทือนดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝากระจกตาเกิดรอยยับในช่วง 15-30 วันแรกหลังผ่าตัด
2. SBK LASIK
- แยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีดชนิดพิเศษ (Sub Bowman keratomileusis : SBK) จากนั้นใช้ Excimer Laser เพื่อปรับค่าสายตา เสร็จแล้วปิดฝากลับเข้าที่เดิม
- ข้อดีคือ ให้ความแม่นยำใกล้เคียงกับการทำเลสิกไร้ใบมีด และราคาย่อมเยากว่า
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,200
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 วัน โดยระหว่างนี้ห้ามขยี้ตาหรือทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระทบกระเทือนดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝากระจกตาเกิดรอยยับในช่วง 15-30 วันแรกหลังผ่าตัด
3. Trans PRK LASIK
- ใช้ Excimer Laser ลอกผิวกระจกตา แล้วปรับค่าสายตาในขั้นตอนเดียว โดยไม่มีการสัมผัส ตัด ขูดดวงตาในทุกขั้น (ต่างจาก PRK แบบเดิม ที่ต้องใช้อุปกรณ์ขูดผิวกระจกตาออก)
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,000
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 10-15 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 3-4 วัน ในช่วงนี้ต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากมีแผลที่บริเวณกระจกตา
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรถอดคอนแทคเลนส์ล่วงหน้าก่อนรับการประเมิน คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มอย่างน้อย 7 วัน คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งอย่างน้อย 3 สัปดาห์
- งดการรับประทานยารักษาสิวกลุ่ม Roaccutane, Acnotin อย่างน้อย 1 เดือน
- นำประวัติการตรวจและการรักษาที่เกี่ยวข้องมาด้วย เช่น ค่าสายตา หรือยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ไม่ควรขับรถมาเองในวันตรวจ เพราะการหยอดยาขยายม่านตาจะทำให้สายตาพร่ามัวชั่วคราว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนตรวจ
- อาบน้ำ สระผม ให้เรียบร้อย
- งดการใส่น้ำหอม โรลออน หรือเจลใส่ผมที่มีกลิ่นหอม
- งดแต่งหน้ารวมถึงบริเวณรอบดวงตา
- ใส่เสื้อคอกว้าง มีกระดุม ที่ถอดเปลี่ยนง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
การดูแลหลังรับบริการ
- งดว่ายน้ำ 2 สัปดาห์
- งดดำน้ำ 1 เดือน
- หากมีน้ำตาไหลมาก หรือคันบริเวณรอบๆ ตา ไม่ควรแกะฝาครอบตาออกโดยเด็ดขาด อาจใช้สำลีซับน้ำตารอบๆ ฝาครอบตาได้
- ควรพักผ่อนมากๆ พยายามอย่าทดสอบการมองเห็นหลังการผ่าตัดโดยการดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ
- ระมัดระวังไม่ให้น้ำหรือฝุ่นเข้าตา และไม่ควรขยี้ตาโดยเด็ดขาด
- ปิดฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเผลอขยี้ตาระหว่างนอนหลับ
- หยอดยาปฏิชีวนะและน้ำตาเทียมตามคำแนะนำของแพทย์
- ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันฝุ่นและลมเข้าตา
- งดการแต่งหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบๆ ดวงตา
- ควรสวมแว่นกันแดด เมื่อต้องทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีแสงจ้า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- มีอาการตาแห้ง ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการหยอดน้ำตาเทียม แต่โดยส่วนมากจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 เดือน
- ในวันแรกอาจมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด วิงเวียนศีรษะ จึงควรใส่แว่นตากันแดด และไม่ขับรถเอง
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-17.00 น.
-
ศูนย์เลสิกอยู่ชั้น 6 อาคารโรงพยาบาลปิยะเวท
-
มีที่จอดรถในอาคาร