ยา Benzonatate - ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง
- ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับยา ทั้งชนิดของยา การใช้ยาอย่างเหมาะสม และข้อควรระวังของยา
- เภสัชกรจะถือว่า ประวัติสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้มาเป็นข้อมูลจริง และใช้ข้อมูลนั้นประกอบการให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ระหว่างคุณกับเภสัชกรในหน้าแชทส่วนตัวเท่านั้น
- HDmall.co.th จะติดต่อร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด ให้คุณปรึกษาและใช้บริการจัดส่งยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตโดยตรง
- HDmall.co.th ไม่ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ได้กระทำธุรกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดในหน้านี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น
- 🤝 สนใจเป็นหนึ่งในร้านขายยาที่ช่วยให้คำปรึกษาผู้ใช้ด้านยาหรือไม่? สมัครและใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
รายละเอียด
(ยานี้ปัจจุบันไม่มีขายในประเทศไทย - ณ เดือน ก.ค. 2561)
Benzonatate เป็นชื่อสามัญของยาที่มีชื่อทางการค้าว่า Tessalon (ลักษณะ Gelcap เรียกกันว่า Tessalon Perles) เป็นยากลุ่มแก้ไอไม่เสพติด
Benzonatate ควบคุมอาการไอโดยกดหรือทำให้หลอดลมและปอดมีอาการชา Benzonatate จะมีโครงสร้างเหมือนยาชาบางตัว เช่น procaine, tetracaine และ lidocaine ซึ่งทำให้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และฟันมีอาการชาก่อนการผ่าตัด . Tessalon ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายโดย USFDA ในปี ค.ศ. 1958 โดยยาตัวนี้ผลิตโดยบริษัท Pfizer
ข้อควรระวังของ Benzonatate
มีข้อกำหนดโดย FDA ว่าให้วางห่างจากมือเด็กเพื่อป้องกันภาวะได้รับยาเกินขนาดและเสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากลักษณะแคปซูลที่มีสีสันสวยงาม มีผู้พบอาการแพ้ยาคือเกิดอาการเกร็งที่ลำคอ ทำให้หายใจลำบาก และความดันลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่ควรเคี้ยวหรือดูด Benzonatate เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ Benzonatate อาจทำให้เกิดอาการสับสน เห็นภาพหลอน หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ
การใช้ Benzonatate ในหญิงตั้งครรภ์
Benzonatate จัดเป็นยาหมวด Pregnancy Category C ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ในหญิงมีครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาเรื่องระดับยาในน้ำนม จึงไม่แน่ใจว่าสามารถใช้ยาในหญิงให้นมบุตรได้หรือไม่ ?
อาการข้างเคียงทั่วไปของ Benzonatate
แจ้งให้แพทย์ทราบหากพบผลข้างเคียงใด ๆ ต่อไปนี้
- ง่วงนอน
- คลื่นไส้และอาเจียน
- อาการท้องผูก
- ผื่น
- มีอาการคันที่ผิวหนัง
- ภาวะกรดไหลย้อน/ปวดท้อง
- คัดจมูก
ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงและปฏิกิริยาต่อยาอื่น
ปรึกษาแพทย์ทันทีถ้าคุณพบอาการใด ๆ ต่อไปนี้
- เหนื่อยมากหรือง่วงซึม
- เวียนหัว
- กระวนกระวาย
- ตัวสั่น
- สับสน
- ปวดหัว
- รู้สึกหนาว
- เริ่มเห็นภาพหลอน
- มีภาวะหลอดอาหารสั่นผิดปกติ ทำให้มีปัญหาในการกลืนกินโดยเฉพาะการกลืนยาที่มีขนาดใหญ่กว่า 200 มิลลิกรัม
- หายใจลำบาก
- เจ็บและชาหน้าอก
- แสบตา
ปฏิกิริยาต่อยาอื่นของ Benzonatate
ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนถึงปฏิกิริยาต่อยาอื่นของBenzonatate แต่มีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีปฏิกิริยารุนแรงกับยาแก้ปวดและยาชาบางตัว ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมที่คุณใช้ประจำ
การใช้ Benzonatate ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Benzonatate อาจมีผลต่อระบบประสาทและทำให้เกิดอาการง่วงนอน ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่มีการใช้ยาตัวนี้
ขนาดการใช้ยา Benzonatate
รูปแบบยา
- แคปซูล 100 มิลลิกรัม และ 200 มิลลิกรัม กิน 1-3 ครั้งต่อวัน
- กลืนทั้งแคปซูลตามด้วยน้ำสะอาด 1 แก้ว ไม่ควรเคี้ยว ดูด หรือบดแคปซูล
- หากแพทย์กำหนดให้กินขนาด 200 มิลลิกรัม แต่คุณมีปัญหาในการกลืนแคปซูลขนาดใหญ่ อาจเปลี่ยนเป็นกินขนาด 100 มิลลิกรัม 2 เม็ดแทน และควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
- ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
การได้รับยา Benzonatate เกินขนาด
การได้รับยา benzonatate เกินขนาดอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้อย่างเฉียบพลันทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก จึงควรพบแพทย์ฉุกเฉินทันที อาการที่เกิดจากการได้รับยาเกินขนาดอาจเกิดขึ้นภายใน 15 ถึง 20 นาที และอาจถึงแก่ชีวิต อาการที่เกิดจากยาเกินขนาดอาจรวมถึง
- กระวนกระวาย
- สูญเสียหรือมีการเปลี่ยนแปลง
- การมองเห็น
- สูญเสียความจำ
- เวียนหัว
- ตัวสั่นหรือชัก
- เดินไม่ได้
- มีความลำบากในการพูด
- ภาวะหมดสติ
- อาการมึนงง ชัก หรือโคม่า
- หัวใจวาย
- ชาหรือรู้สึกเสียวตามใบหน้า ลิ้น ปาก หรือลำคอ
- มีอาการตึงหรือปวดคอ
- คลื่นไส้อาเจียน
- หายใจผิดปกติ
หากคุณมีอาการชาหรือรู้สึกเสียวตามใบหน้า ลิ้น ปากหรือลำคอ คุณไม่ควรดื่มหรือกินเพื่อให้อาการชาหายไป และควรรีบไปพบแพทย์ฉุกเฉินทันที
กรณีลืมกินยา Benzonatate
ควรกินยา benzonatate ตามกำหนด หากลืมกิน benzonatate ให้รอกินยามื้อต่อไปในปริมาณปกติ ไม่ควรกินยาสองเท่าของปริมาณปกติ
การใช้ยาแก้ไอในประเทศไทย
ยาแก้ไอที่มีใช้กันทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม ได้แก่
- ยาแก้ไอที่กดการไอที่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น dextromethorphan และ codeine
- ยาแก้ไอที่ออกฤทธิ์บริเวณทางเดินหายใจ เช่น benzonatate
- ยาละลายเสมหะ เช่น guaifenesin นอกจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบรรเทาอาการระคายคอ เช่น เมนทอลและน้ำผึ้ง
ถึงแม้ว่ายาและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะถูกใช้อย่างแพร่หลาย แต่มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น เช่น การศึกษาการใช้ Dextromethorphan ในเด็กเมื่อเปรียบเทียบการใช้ Dextromethorphan กับการใช้ยาหลอก ไม่พบความแตกต่างทางคลินิกในการบรรเทาอาการไอ
รวมถึงการศึกษาโดยการเพิ่มขนาดยาก็ไม่พบความแตกต่างทางคลินิกเช่นกัน และการศึกษาในผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างก็ไม่พบประโยชน์ของการรับประทาน dextromethorphan หรือ codeine
ส่วนการศึกษาการใช้ Benzonatate พบว่าช่วยบรรเทาอาการไอได้เฉพาะกลุ่มคนไข้มะเร็งเท่านั้น การใช้ Benzonatate จึงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักสำหรับการบรรเทาอาการไอทั่ว ๆ ไป ในขณะที่การศึกษาเรื่องการใช้ guaifenesin บรรเทาอาการไอที่มีเสมหะ พบว่าสามารถลดปริมาณเสมหะและความเหนียวของเสมหะได้อย่างมีนัยสำคัญ
ส่วนเมนทอลชนิดพ่นแก้ไอช่วยลดอาการระคายคอโดยให้ความรู้สึกเย็น จากการศึกษาเรื่องใช้เมนทอลชนิดพ่นในคนไข้พบว่า มีประสิทธิภาพช่วยลดอาการระคายคอได้ ส่วนเมนทอลในรูปแบบอื่น ได้แก่ ยาอม ขี้ผึ้ง และ ครีมยังไม่มีการศึกษาด้านประสิทธิภาพ
นอกจากการใช้ยาแก้ไอแล้ว ยังมีน้ำผึ้งที่ช่วยบรรเทาอาการไอได้ การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มพบว่าการใช้น้ำผึ้งสามารถบรรเทาอาการไอได้ดีกว่าการใช้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ แต่ The American Academy of Pediatrics ไม่แนะนำให้ใช้น้ำผึ้งบรรเทาอาการไอในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโบทูลินัม (botulinum toxin) ได้มาก
จากข้อมูลการศึกษาเรื่องการใช้ยาแก้ไอในปัจจุบันที่มีอย่างจำกัดและยังไม่มีความชัดเจนในด้านประสิทธิภาพ จึงควรแนะนำให้คนไข้ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ อาการไอจะสามารถหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
นอกจากมีอาการไอร่วมกับเสมหะข้นหนืดสีเขียวเหลืองหรือมีเลือดปน มีไข้สูง เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักตัวลดอย่างไม่มีสาเหตุ หรืออาการไอรุนแรงขึ้นหลังจากได้รับการรักษาไปแล้ว 1 สัปดาห์ อาการเหล่านี้เป็นอาการของโรคระบบทางเดินหายใจติดเชื้อรุนแรง ต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างทันท่วงที