cetirizine

Cetirizine (เซทิริซีน)

Cetirizine (เซทิริซีน) อยู่ในกลุ่มยาต้านอาการแพ้ (Antihistamine) เป็นยาแก้แพ้ มีชื่อยาสามัญว่า Cetirizine hydrochloride (เซทิริซีน ไฮโดรคลอไรด์)

Cetirizine มี 2 รูปแบบที่นิยมใช้ ได้แก่ รูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน ประกอบด้วย Cetirizine ขนาด 10 มิลลิกรัม และรูปแบบน้ำเชื่อม (Syrup) ประกอบด้วย Cetirizine ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร

Cetirizine ใช้รักษาโรคอะไร  

กลไกการออกฤทธิ์ของ Cetirizine 

Cetirizine จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสารไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine) เข้ายับยั้งการทำงานของตัวรับฮีสตามีน H1 บนเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ ทำให้ไม่เกิดกลไกที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากกระบวนการแพ้หรือโรคภูมิแพ้

ปริมาณการใช้ยา Cetirizine 

Cetirizine ใช้รักษาอาการแพ้ต่าง ๆ ได้แก่ อาการคันตาจากการแพ้ ภูมิแพ้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากสารก่อการแพ้ ผื่นคัน และอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน

Cetirizine รูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ 

  • เด็กอายุ 6–23 เดือน: ขนาดยา 2.5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง โดยมีขนาดยาสูงสุด 2.5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
  • เด็กอายุ 2–5 ปี: ขนาดยา 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือขนาดยา 2.5 มิลลิกรัม แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง 
  • เด็กอายุมากกว่า 6 ปี: ขนาดยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือขนาดยา 2.5 มิลลิกรัม แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง 
  • ผู้ใหญ่: ขนาดยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หรือขนาดยา 5 มิลลิกรัม แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง โดยมีขนาดยาสูงสุด 10 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • ผู้สูงอายุ: ขนาดยาเริ่มต้น 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

ผลข้างเคียงจากยา Cetirizine 

Cetirizine อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ง่วงซึม นอนไม่หลับ เมื่อยล้า มึนงง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ไอ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ถ้าผลข้างเคียงไม่รุนแรง ก็จะไม่สร้างอันตรายใด ๆ ยกเว้นบางกรณีที่อาจต้องหยุดยาหรือไปพบแพทย์  

อาการทั่วไปที่ไม่ต้องหยุดยา แต่หากรุนแรง ควรไปพบแพทย์

  • ง่วงซึม นอนไม่หลับ
  • เวียนหัว ปวดหัว
  • ปากแห้ง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย
  • ผิวหนังไวต่อแสง

อาการที่ต้องหยุดยาและไปพบแพทย์

  • บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีาก เป็นลมพิษ
  • ผื่นแดง ผิวหนังหลุดลอก
  • แน่นอก หายใจลำบาก
  • มีรอยจ้ำเลือดหรือรอยฟกช้ำบริเวณผิวหนัง เลือดออกผิดปกติ
  • หน้ามืด เป็นลม 
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง อุจจาระมีสีซีด
  • เหนื่อย อ่อนเพลียผิดปกติ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ
  • สับสน อารมณ์แปรปรวน ชัก
  • มีปัญหาในการมองเห็น หรือได้ยินเสียงผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะลำบาก

ข้อควรระวังในการใช้ยา Cetirizine 

  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการชัก หรือผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ
  • ระวังการใช้ยาในผู้มีครรภ์ และผู้ที่ให้นมบุตร

การใช้ยา Cetirizine ในผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร

ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม Category B คือ ยาค่อนข้างปลอดภัยต่อการใช้ในผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร

ถ้าลืมกินยา Cetirizine ต้องทำอย่างไร

  • ถ้าลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้ตามจำนวนปกติ (เช่น ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ก็รับประทานเท่าเดิม ไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เม็ด)
  • กรณีที่เพิ่งนึกได้ตอนใกล้รับประทานมื้อใหม่ ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรอรับประทานมื้อถัดไปได้เลย ในจำนวนปกติเช่นกัน ไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

คำถามที่พบบ่อย

Cetirizine 10 มิลลิกรัม รับประทานทุกวันได้หรือไม่ ?

Cetirizine (เซทิริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ ใช้บรรเทาอาการแพ้ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา และผื่นคัน ในกรณีที่จำเป็นและได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

ยา Cetirizine สามารถรับประทานทุกวันได้ ตามที่แพทย์สั่ง ทั้งนี้ การใช้ยา Cetirizine ทุกวัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เนื่องจากการใช้ยาในกลุ่มยาแก้แพ้ เป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ หรืออาจมีทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษาอาการแพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยกว่าในระยะยาว

หากมีอาการแพ้เรื้อรัง หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมที่สุด

Cetirizine Hydrochloride กับ Cetirizine ต่างกันอย่างไร ?

Cetirizine Hydrochloride เป็นรูปแบบทางเคมีของ Cetirizine ที่มีความเสถียรและใช้ในยาสำเร็จรูป ทั้งสองชื่อมักใช้สลับกันได้ในบริบททั่วไป แต่ในเชิงเคมีและเภสัชศาสตร์จะถือว่า Cetirizine Hydrochloride เป็นชื่อที่ระบุถึงสารประกอบอย่างครบถ้วนมากกว่า

ชนิดเม็ด สามารถทานแก้ไอแบบมีเสลดได้ไหม ?

ตัวยา Cetirizine 10 mg เป็นยาแก้แพ้ หากคนไข้จะเอาไปกินเพื่อบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ อาจจะไม่ตรงจุดเท่าไร ยกเว้นกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าอาการไอมีเสมหะนั้นเกิดจากภูมิแพ้ ก็อาจจะได้ประโยชน์บ้างครับ

ผมแนะนำว่าให้จิบน้ำเยอะ ๆ ถ้าเป็นน้ำอุ่นยิ่งดีครับ น้ำจะช่วยละลายเสมหะและทำให้ขับออกมาง่ายขึ้น หากคนไข้ไม่มีประวัติแพ้ยาอะไร สามารถซื้อยาดังนี้ได้:

  • Acetylcysteine ชนิดผงละลายน้ำ 200 mg ชงกับน้ำดื่ม มากสุดวันละ 3 ครั้ง
  • Ambroxol 30 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารวันละ 3 ครั้ง
  • Bromhexine 8 mg ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารวันละ 3 ครั้ง

ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะได้ครับ

หากอาการไอมีเสมหะไม่ดีขึ้นหลังจากกินยาไปแล้วประมาณ 5 วัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมนะครับ

ตอบโดย ภก. ตรัย ธารพานิช

Scroll to Top