คัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบ ThinPrep จะเก็บตัวอย่างเซลล์ในของเหลว หาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้แม่นยำขึ้น
รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
🌸 ตรวจเช็คความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า! คุณรู้หรือไม่ว่าโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมคือสาเหตุหลักที่ผู้หญิงในประเทศไทยต้องเผชิญ? การตรวจมะเร็งอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีโอกาสตรวจพบปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ และเพิ่มโอกาสในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ!
🏥 บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิค ThinPrep และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ ที่ โรงพยาบาลพิษณุเวช มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ ที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในผลการตรวจอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
💡 ทำไมถึงต้องตรวจ?
- การตรวจมะเร็งปากมดลูกช่วยให้คุณสามารถตรวจพบเซลล์ผิดปกติก่อนที่จะแปรเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้
- ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรมช่วยให้สามารถมองเห็นความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
🩺 บริการรวม:
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วย ThinPrep
- ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรม
- ตรวจอัลตราซาวด์เต้านม
อย่าปล่อยให้ความกังวลรบกวนชีวิตของคุณ! จองบริการ กับเราได้ง่าย ๆ ที่ HDmall.co.th และเริ่มต้นการดูแลสุขภาพที่คุณคู่ควรวันนี้ 📅
ให้การตรวจสุขภาพเป็นก้าวแรกในการสร้างอนาคตที่สดใสของคุณ!
รายละเอียด
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจมะเร็งปากมดลูก (ThinPrep)
- ค่าตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม
- ค่าตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
หมายเหตุ
- กรณีพบผลตรวจผิดปกติ มีค่าพบแพทย์และค่าบริการเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแพทย์ประเมิน
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 7-14 วัน แพทย์จะนัดมาฟังผลตรวจในภายหลังอีกครั้ง และแพทย์จะเป็นผู้แจ้งผลให้ทราบ
- กรณีซื้อผ่าน HDmall.co.th ในวันที่เข้ารับบริการลูกค้าจะได้ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เท่านั้นไม่สามารถออกใบเสร็จได้
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด 48 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
- ไม่มีการตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง
- ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ
- ห้ามมีเพศสัมพันธ์ 48 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายตัว เพื่อความสะดวกในการตรวจ ซึ่งควรเป็นเสื้อผ้าที่เป็นชุดคนละท่อน และไม่สวมเสื้อชั้นในแบบเต็มตัว
- หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรตรวจก่อน/หลังประจำเดือนหมดอย่างน้อย 7 วัน
ก่อนตัดสินใจ
การตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบ ThinPrep
ข้อห้ามสำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบ ThinPrep
- ผู้ที่มีประจำเดือน ควรตรวจหลังประจำเดือนหมดประมาณ 7 วัน
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะหากนานกว่า 5 ปีเพราะมีความเสี่ยงสูง)
- ผู้หญิงที่มีผ่านการตั้งครรภ์และคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง
- ผู้หญิงที่มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่
- ผู้หญิงที่ขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงที่ขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานผักและผลไม้น้อย
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์
- ระหว่างตรวจอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย เนื่องจากหน้าอกจะถูกกด แต่ไม่ได้เป็นอันตราย
- หากพบจุดที่สงสัยว่าอาจผิดปกติ แต่ไม่ชัด อาจต้องตรวจซ้ำ
- แม้การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมจะค่อนข้างแม่นยำมาก แต่ยังควรตรวจเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทางร่วมด้วย เนื่องจากบางความผิดปกติ เช่น มีผื่นแพ้ มีของเพลวไหนออกจากหัวนม หรือก้อนเนื้ออยู่ ณ ตำแหน่งด้านในมากๆ หรืออยู่บริเวณขอบของฐานเต้านมมากๆ ก็อาจตรวจไม่พบด้วยเครื่อง
- ลำพังการอัลตราซาวด์แค่อย่างเดียว ไม่สามารถประเมินได้ว่าก้อนเนื้อที่พบเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ หากเห็นความผิดปกติจากการอัลตราซาวด์ แพทย์อาจส่งตรวจ MRI เพิ่ม หรือแนะนำให้ตัดส่งชิ้นเนื้อไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านม
- อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ เพราะอาจได้รับผลกระทบจากรังสีเอกซเรย์
สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- การตั้งครรภ์
- การเสริมหน้าอก
ข้อมูลทั่วไป
การตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบ ThinPrep
การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test)⠀เป็นวิธีคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากบริเวณปากมดลูกไปตรวจว่ามีเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ผิดปกติที่กำลังกลายเป็นมะเร็งหรือไม่
การตรวจแปปสเมียร์สำคัญอย่างไร?
- ดูความเป็นไปได้ที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก
- สามารถตรวจพบเซลล์ที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้
- ทำให้มีโอกาสตรวจพบเซลล์ผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
การตรวจแปปสเมียร์ทำอย่างไร?
ผู้ป่วยต้องนอนหงาย ขึ้นขาหยั่ง แล้วแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากบริเวณปากมดลูก ซึ่งการเก็บตัวอย่างสามารถทำได้ภายในคราวเดียวกันกับการตรวจภายใน
จากนั้นตัวอย่างเนื้อเยื่อจะถูกนำไปทดสอบได้ 2 วิธีการ
วิธีที่ 1 เป็นวิธีดั้งเดิม โดยการป้ายเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้ลงบนแผ่นกระจก หลังจากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจด้วยกล้องขยาย เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์
วิธีที่ 2 เป็นการนำเนื้อเยื่อที่ได้ไปใส่ในสารละลาย (liquid) แล้วนำไปผ่านกระบวนการกรองและปั่นต่างๆ จนได้เซลล์ซึ่งปราศจากสิ่งเจือปนอื่น หลังจากนั้นนำเซลล์ที่ได้มาป้ายบนแผ่นสไลด์ย้อมสีตรวจดูด้วยกล้องขยายเช่นเดียวกับวิธีแรก
สิ่งที่สามารถตรวจได้จากแปปสเมียร์
- เซลล์ที่มีความผิดปกติ หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง
- การอักเสบ ซื่งอาจจะสามารถบอกได้ว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา หรือพยาธิบางชนิด
- ความผิดปกติจากการติดเชื้อ HPV
การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ด้วยวิธี ThinPrep
การตรวจด้วย ThinPrep ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เก็บมาจะถูกนำไปใส่ในสารละลาย แล้วนำไปผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้เซลล์ที่ไม่มีสิ่งเจือปนอย่างมูกหรือเลือด ทำให้สามารถตรวจเห็นเซลล์ได้ชัดเจนภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ข้อดีคือผลที่ได้มีความน่าเชื่อถือกว่าการตรวจแปปสเมียร์ด้วยวิธีดั้งเดิม ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายในการตรวจอาจสูงกว่า
ควรตรวจแปปสเมียร์เมื่อไหร่?
แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี ปีละ 1 ครั้ง หรืออาจเปลี่ยนเป็นตรวจทุก 3 ปีได้ แล้วแต่ประวัติผลการตรวจและความเสี่ยงในแต่ละคน สามารถรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากแพทย์ที่ทำการตรวจ
หมายเหตุ
- การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจคัดกรองเท่านั้น หากตรวจพบเซลล์ผิดปกติไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก และจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
- อายุและความถี่ในการตรวจแปปสเมียร์อาจแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม (Digital mammography)⠀เป็นการตรวจเต้านมด้วยเครื่องที่ใช้รังสีเอกซเรย์ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose X-ray) แล้วฉายออกมาเป็นภาพดิจิทัล ให้เห็นลักษณะความเข้ม-ทึบ ที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ในเต้านม เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูนหรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมระยะแรก รวมถึงก้อนเนื้องอก ช่วยให้พบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
ดิจิทัลแมมโมแกรม VS แมมโมแกรม
การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมแบบเดิมจะบันทึกภาพลงบนฟิล์มเอกซเรย์ แต่ดิจิทัลแมมโมแกรมจะบันทึกภาพลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
- นักรังสีเทคนิคจะจัดท่าทางของคุณให้พร้อมสำหรับเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม โดยจะให้เต้านมอยู่ระหว่างแผ่นพลาสติกใส 2 แผ่น
- นักรังสีเทคนิคควบคุมเครื่องให้ค่อยๆ บีบเนื้อเต้านมผู้รับการตรวจเข้าหากัน แล้วบันทึกภาพถ่ายรังสีด้านบน 1 รูป ด้านข้าง 1 รูป
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการอ่านผลอ่านตรวจโดยแพทย์ โดยอาจมีการตรวจเพิ่มเติมหากพบจุดที่ผิดปกติแต่ยังเห็นไม่ชัด
ระยะเวลาในการตรวจ
สำหรับเต้านมทั้ง 2 ข้าง กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที
ข้อดี
- สามารถบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพคมชัด ทำให้ตรวจความผิดปกติได้ตรวจได้ค่อนข้างละเอียด แม่นยำ
- ใช้รังสีปริมาณต่ำ ลดปริมาณรังสีลงประมาณ 25% เมื่อเทียบกับการตรวจโดยใช้รังสีเอกซเรย์ทั่วไป
ผู้ที่ควรรับการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่ได้รับยาฮอร์โมนทดแทน
การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)⠀เป็นเทคนิคการตรวจเพื่อให้ได้ภาพสำหรับคัดกรองความผิดปกติหรือค้นหาเนื้องอกในเต้านม โดยใช้หลักการสร้างภาพจากคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เห็นเนื้อเยื่อภายในว่าส่วนไหนเป็นเนื้อเยื่อปกติ ส่วนไหนเป็นก้อนเนื้อ และแยกแยะได้ด้วยว่าก้อนเนื้อนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำหรือเนื้อ
การอัลตราซาวด์ต่างจากการเอกซเรย์หรือทำ CT Scan ตรงที่ไม่มีการใช้รังสี จึงปลอดภัยกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์
- แพทย์ทำการตรวจสอบเต้านม จากนั้นให้ผู้รับการตรวจถอดเครื่องแต่งกายแล้วนอนบนบริเวณที่เตรียมไว้
- แพทย์ทาเจลลงบนหน้าอกผู้รับการตรวจ เพื่อให้คลื่นเสียงสามารถทะลุผ่านผิวหนังได้
- แพทย์ใช้หัวตรวจซึ่งเรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ เคลื่อนไปมาเหนือเต้านมผู้รับการตรวจ อุปกรณ์นี้จะส่งและรับคลื่นเสียงความถี่สูง แล้วส่งภาพไปยังจอมอนิเตอร์ หากพบบริเวณน่าสงสัย แพทย์จะทำการบันทึกภาพไว้
- เมื่อได้ภาพเรียบร้อย แพทย์จะเช็ดเจลออกแล้วให้ผู้รับการตรวจสวมใส่เสื้อผ้าตามเดิม
ข้อดี
- เป็นเทคนิคการตรวจที่ไม่ต้องใช้รังสี ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงต่ำ
อัลตราซาวด์ VS แมมโมแกรม
การตรวจอัลตราซาวด์กับแมมโมแกรมเป็นวิธีตรวจความผิดปกติของเต้านมที่นิยมกันมาก แต่ละวิธีมีข้อเด่นคนละอย่าง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจได้อย่างเหมาะสม
อัลตราซาวด์มีข้อเด่นที่มีข้อจำกัดน้อย ผู้ที่อายุยังน้อยหรือตั้งครรภ์อยู่ก็รับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้ ตรวจหาก้อนเนื้อได้ดี ระหว่างทำไม่เจ็บ แต่อาจตรวจไม่พบก้อนเนื้อหรือถุงน้ำที่มีขนาดเล็กมากๆ และอาจให้ผลไม่แม่นยำนักในผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือขนาดหน้าอกใหญ่มาก
ส่วนแมมโมแกรมมีข้อเด่นที่หาจุดหินปูนซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งของมะเร็งเต้านมได้ มักใช้ได้ดีในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก ตรวจแล้วเห็นภาพชัด ขณะทำต้องมีการบีบเนื้อเต้านม ทำให้อาจรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัว
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th