มีความปลอดภัยสูง และได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน ใช้เครื่อง DEXA Scan เพื่อวัดความหนาแน่นของกระดูก ทั้งกระดูกแกนกลาง และกระดูกแขน-ขา ป้องกันความเสี่ยงที่สูงของกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกเสื่อม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับกระดูก หรือมีประวัติการใช้ยาที่เสี่ยงต่อกระดูก
รวมค่าตรวจภาวะกระดูกพรุน บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกสะโพก ด้วยการวัดมวลกระดูก (BMD) ตรวจระดับวิตามิน D, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส พร้อมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
การเดินทางด้วยรถสาธารณะ สามารถลงได้ที่ BTS สถานีสนามเป้า ออกทางออกที่ 1 แล้วเดินมาทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประมาณ 150 เมตร
แพ็กเกจอื่นที่คุณอาจสนใจ
รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
🦴 ตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 เป็นบริการสำคัญที่ช่วยให้คุณทราบถึงความแข็งแรงของกระดูกของคุณ! หากคุณรู้สึกว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น มีประวัติการกระดูกหักง่าย หรือมีอายุเกิน 60 ปี บริการนี้จะทำให้คุณมั่นใจในการดูแลสุขภาพกระดูกของคุณได้ดียิ่งขึ้น!
🏥 ทำไมต้องตรวจคัดกรองกระดูก? ภาวะกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่มักจะไม่แสดงอาการจนกว่ากระดูกจะแตกหัก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากขึ้น เช่น การสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตที่ลดลง การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (BMD) ด้วยเครื่อง DEXA Scan จะช่วยให้คุณรู้สถานะกระดูกของคุณและรับการรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงที
🔍 บริการรวม:
- ตรวจวัดมวลกระดูก (BMD) ด้วยเครื่อง DEXA Scan
- ตรวจระดับวิตามินดี
- ตรวจระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส
💡 ใครควรตรวจ? หากคุณเป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ชายที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุเล็กน้อย คุณคือผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต!
อย่ารอให้เวลาผ่านไปจนเกิดปัญหา! จองบริการตรวจคัดกรองกระดูกพรุนกับเราได้ง่ายๆ ผ่าน HDmall.co.th เพื่อความมั่นใจในสุขภาพกระดูกของคุณ 📅
เริ่มต้นดูแลสุขภาพกระดูกของคุณวันนี้!
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจกระดูกพรุน
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจวัดมวลกระดูก (Bone Mineral Density: BMD) ด้วยเครื่องมือรังสีพิเศษ (Dual Energy X-ray Absorptiometer) บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกสะโพก
- ตรวจระดับวิตามินดี
- ตรวจระดับแคลเซียม
- ตรวจระดับฟอสฟอรัส
- ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
หมายเหตุ
- กรณีตรวจพบความผิดปกติ และจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาเพิ่มเติม จะมีค่าใช้จ่ายโดยคิดอัตราค่าบริการเพิ่มตามจริง
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจกระดูกพรุน
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- สามารถทราบผลได้จาก แอพลิเคชั่น Health Up และสามารถส่งผลให้ทางไปรษณีย์ได้
- บริการนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง
- ผู้ชายที่อายุมากกว่า 60 ปี
- ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักแม้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องใช้สเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือ ผู้ป่วยที่ใช้ยาเสริมไทรอยด์ฮอร์โมน
- ผู้ที่มีโรคที่มีพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูง เพราะจะมีการสลายของกระดูกมากขึ้น
- ผู้ที่ขาดวิตามินดี เพราะกระดูกจะเปราะหักง่าย และอาจมีกระดูกพรุนร่วมด้วย ทั้งนี้ระดับวิตามินดีไม่ควรต่ำกว่า 30
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคทางเดินอาหารที่มีผลต่อการดูดซึม หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้ออกมากจนมีผลต่อการดูดซึมสารอาหาร
- ผู้ที่ส่วนสูงลดลงมากกว่า 2 ซม. ต่อปี
- สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย สามารถซื้อแพ็กเกจในราคาคนไทยได้ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติอย่างน้อย 1 ข้อดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ที่ทำงานในประเทศไทย โดยสามารถแสดงรับสิทธิ์ด้วยการแสดงใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- เป็นผู้ที่ศึกษาในประเทศไทย
- เป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย
- เป็นผู้มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)
- เป็นผู้มีคู่สมรสเป็นชาวไทย
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ถอดอุปกรณ์ที่เป็นโลหะออกจากร่างกาย
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจภาวะกระดูกพรุน
- สตรีมีครรภ์ควรตรวจหลังจากคลอดแล้ว
ผู้ที่เหมาะสำหรับบริการนี้
- ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 65 ปี และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
- มีประวัติเคยมีกระดูกสะโพกหัก กระดูกสันหลังหัก หรือกระดูกหักที่ตำแหน่งอื่นๆ จากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่มีส่วนสูงลดลงมากกว่า 3 เซนติเมตรจากความสูงเดิม
- ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่เป็นเบาหวาน เป็นโรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นโรคการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- ผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ และโรคต่อมพาราไทรอยด์
- ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่อาการของภาวะขาดฮอร์โมนเพศชาย
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่เป็นมะเร็งเต้านม และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคไทรอยด์ ยารักษาโรคลมชัก ยารักษามะเร็ง เป็นต้น
สิ่งที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น ใส่เหล็กดามกระดูก ข้อสะโพกเทียม เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
- สงสัยว่ามีการตั้งครรภ์
- มีประวัติการรักษาด้วยการกลืนแร่ หรือฉีดสารทึบแสงเพื่อการวินิจฉัยโรค
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจกระดูกพรุน
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรง แตกหักได้ง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย มักพบในหญิงหมดประจำเดือน และพบได้บ้างในผู้ชาย และเด็ก
อาการ
ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักทราบเมื่อมีอาการออกมาแล้ว แต่ก็มีอาการบ่งชี้ที่สามารถสังเกตเพื่อให้รับการรักษาได้แต่เนิ่นๆ และยังมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่ควรใส่ใจสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาได้ทัน
- กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย แม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง
- หลังค่อม หรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
- ความสูงลดลง
- อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังด้วย
การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก คืออะไร?
การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก เป็นการตรวจสุขภาพของกระดูกว่าอยู่ในระดับปกติดี หรือเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ โดยใช้เครื่องตรวจ DEXA Scan ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน ใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก มีข้อดีอย่างไร?
- ทำให้ทราบว่ากระดูกยังมีความหนาแน่นปกติดี หรือมีภาวะกระดูกพรุน จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือเสริมสร้างกระดูกอย่างไรหรือไม่
- หลังจากตรวจ จะได้ทราบวิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสม หรือสิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
- การตรวจด้วยเครื่อง DEXA Scan ทำได้ง่าย รวดเร็ว รังสีที่ใช้ไม่ตกค้างในร่างกาย และให้ผลแม่นยำ
เครื่อง DEXA Scan
เครื่อง DEXA Scan ใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำ 2 พลังงาน ในการวิเคราะห์ความหนาแน่นของมวลกระดูก ปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมาก มีความปลอดภัย และความแม่นยำสูง ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
เครื่อง DXA Scan แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแกนกลางร่างกาย (Central Device) ใช้ตรวจบริเวณกระดูกสันหลัง และสะโพก ซึ่งวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัย
- เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแขน-ขา (Peripheral Device) ใช้ตรวจบริเวณ ข้อมือ ข้อเท้า ใช้ในการตรวจคัดกรอง
ดูเพิ่มของโรงพยาบาลหรือคลินิกอื่น ตรวจความแข็งแรงกระดูก ตรวจมวลกระดูก ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลพญาไท 2 ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลพญาไท 2 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th