เป็นการตรวจขณะเดิน หรือวิ่งบนสายพาน ช่วยประเมินความแข็งแรงของหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเสี่ยงหัวใจตีบ ประเมินว่าออกกำลังกายได้หนักแค่ไหน
แพ็กเกจอื่นที่คุณอาจสนใจ
รายละเอียด
รายละเอียด
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าโปรแกรมตรวจสุขภาพตามช่วงอายุ 61 รายการ รวมตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) สำหรับผู้หญิงอายุ 60-69 ปี มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ (Physical Examination)
- วัดความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง (Vital Signs)
- เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG)
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test: EST)
- ตรวจการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง (Ankle Brachial index: ABI)
- ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
- ตรวจอัลตราซาวด์ไทรอยด์ (Ultrasound Neck & Thyroid)
- ตรวจภาวะกระดูกพรุน (Bone Densitometry)
- ตรวจเอกซเรย์ และอัลตราซาวด์เต้านมด้วยเครื่องดิจิทัล (Digital Mammography)
- พบแพทย์เฉพาะทางรักษ์เต้านม (Breast Physical Examination)
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจภายในสตรี (PV & ThinPrep PAP Test)
- พบแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช (Physical Examination by OB - GYN)
- ตรวจปัสสาวะ (Urine Examination: UA)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar: FBS)
- ตรวจติดตามควบคุมเบาหวาน (HbA1c)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของไต (BUN)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (SGOT)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (SGPT)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Alk Phosphatase)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Total Protain)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Albumin)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Total Bilirubin)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Direct Bilirubin)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Gamma GT: GGT)
- ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับอ่อน (Amlase (P-Amylase))
- ตรวจหาสารบ่งชี้การอักเสบของหลอดเลือดแดง (C-Reactive Protein: hsCRP)
- ตรวจปริมาณเกลือแร่ในเลือด (Sodium)
- ตรวจปริมาณเกลือแร่ในเลือด (Potassium)
- ตรวจปริมาณเกลือแร่ในเลือด (Cholride)
- ตรวจปริมาณเกลือแร่ในเลือด (CO2)
- ตรวจปริมาณไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด (Total Cholesterol)
- ตรวจปริมาณไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (Triglyceride)
- ตรวจปริมาณไขมันดีในเลือด (HDL-Cholesterol)
- ตรวจปริมาณไขมันไม่ดีในเลือด (LDL-Cholesterol)
- ตรวจระดับกรดยูริก (Uric Acid)
- ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
- ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (FT3)
- ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (FT4)
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง (Estradiol: E2)
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง (Progesterone)
- ตรวจระดับฮอร์โมน (Luteinizing Hormone: LH)
- ตรวจระดับฮอร์โมน (Follicle Stimulation Hormone)
- ตรวจระดับฮอร์โมนต้านความเครียด (DHEAs)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (Alpha Fetoprotein: AFP)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (CA19-9)
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA125)
- ตรวจระดับกรดโฟลิก (Folic Acid (Serum) - NHS 3 วัน)
- ตรวจวิตามินบี 12 (Vitamin B12 - NHS 3 วัน)
- ตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D)
- ตรวจวัดสายตาด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Auto Refracter Keratometer/ Time)
- ตรวจวัดความดันลูกตา (Tonometer Without Contact/ Time)
- ตรวจตาด้วยเครื่อง Slit Lamp โดยจักษุแพทย์ (Slit Lamp/ Time)
- ตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ (DF Check up (Eye))
- ตรวจการได้ยินโดยผู้ชำนาญการ (Audiologist [N])
- ตรวจการได้ยินโดยใช้คำพูด (Pure Tone and Speech Audiometry [S])
- ตรวจอุจจาระ (Stool Examination)
- ตรวจอุจจาระ (Occult Blood)
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- สมุดรายงานการตรวจสุขภาพ
- คูปองอาหารว่าง
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจสุขภาพผู้หญิง
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 3-6 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 1-2 วัน
- งดเครื่องดื่มและงดอาหาร อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
- เหมาะสำหรับผู้หญิงที่อายุ 60-69 ปี
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 3-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- แนะนำให้ผู้รับบริการรอฟังผลตรวจเพื่อความถูกต้อง และเพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพ กรณีไม่สะดวกรอผลตรวจแนะนำให้คนไข้ดูผ่าน APPLICATION HEALTH UP
- สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย สามารถซื้อแพ็กเกจในราคาคนไทยได้ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติอย่างน้อย 1 ข้อดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ที่ทำงานในประเทศไทย โดยสามารถแสดงรับสิทธิ์ด้วยการแสดงใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- เป็นผู้ที่ศึกษาในประเทศไทย
- เป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย
- เป็นผู้มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)
- เป็นผู้มีคู่สมรสเป็นชาวไทย
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ ก่อนตรวจสุขภาพอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- สำหรับผู้หญิง หากกำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนตรวจ
- งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากก่อนการตรวจ เช่น การออกกำลังกาย
- ควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายเหมาะกับการออกกำลังกาย รวมทั้งสวมใส่รองเท้าที่สามารถเดิน หรือวิ่งได้คล่องตัว
- หากผู้ป่วยรับประทานยา หรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
ก่อนตัดสินใจ
- โรคหรืออาการบางอย่างอาจตรวจไม่พบจากการตรวจสุขภาพทั่วไป หากมีความกังวลด้านใดเป็นพิเศษ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบก่อน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยใช้วิธีหรือเครื่องมือเฉพาะ
- หากมีโรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ หรือมีประวัติสุขภาพอื่นๆ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบด้วย
- หากผลการตรวจสุขภาพ ไม่บ่งชี้สัญญาณความผิดปกติใดๆ ก็ควรดูแลสุขภาพให้ดีตามปกติ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจ EST
- ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หากต้องการรับบริการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina)
- ผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอเออร์ติก (Aortic Valve) ตีบอย่างรุนแรง
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผล
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ และ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) ฉีกขาดเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการตรวจ EST เช่น การติดเชื้อต่างๆ โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจ EST อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และพยาบาล จึงไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพหัวใจผิดปกติอาจมีผลข้างเคียง หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- มีอาการเหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อได้
- คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม
- มีอาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
- พบลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
- ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงขณะที่เดินสายพาน
ข้อมูลทั่วไป
การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น ในผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรือเริ่มพบสัญญาณความผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อประเมินความเสี่ยงหรือค้นหาโรคที่อาจยังไม่ปรากฏอาการแน่ชัด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
การพบโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความรุนแรง เพิ่มโอกาสในการรักษา และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวได้
เริ่มตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?
สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเริ่มตรวจสุขภาพได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน บุคคลในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีอาการผิดปกติใดๆ ในร่างกาย อาจเริ่มตรวจสุขภาพหลังจากอายุ 15 ปีก็ได้เช่นกัน
หมายเหตุ
- โปรแกรมตรวจสุขภาพแต่ละโปรแกรม มีรายการตรวจที่แตกต่างกัน ซึ่งเหมาะกับช่วงวัย เพศ หรือประวัติสุขภาพที่แตกต่างกัน ควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียด เพื่อเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST หรือ Exercise Tolerance Test: ETT) ใช้สำหรับตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย โดยดูว่าในขณะที่ร่างกายออกกำลังอย่างหนัก กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่
การตรวจ EST มีเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 2 แบบ คือ สายพานไฟฟ้า (Treadmill) และจักรยาน (Bicycle Ergometer)
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ EST
- ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรืออัมพาต
- นักกีฬา เพราะการวิ่งสายพานจะช่วยให้รู้ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับระดับการเต้นของหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจ EST
- แพทย์ประเมินหาข้อห้ามในการทดสอบ
- ทำการติดเครื่องวัดความดันโลหิต และชีพจรแบบอัตโนมัติ และติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอก
- แพทย์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบ ในท่านอนและท่ายืน
- แพทย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะออกกำลังกาย รวมไปถึงวัดความดันโลหิตและชีพจรเป็นระยะๆ
หมายเหตุ
- ไม่แนะนำผู้ที่มีข้อจำกัดในการวิ่ง เช่น ปวดเข่า เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูก และข้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือมีอาการขาอ่อนแรง
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่รับ ตรวจสุขภาพ ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
จองและจ่ายเงินที่ HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดทันที
- กด 'ชำระเงินออนไลน์' แล้วกรอกข้อมูลให้ครบ
- ชำระเงิน สามารถเลือกวิธีโอน จ่ายบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต โดยจ่ายบัตรเครดิตได้เมื่อมียอดชำระ 300 บาทขึ้นไป ผ่อนได้เมื่อมียอดชำระตั้งแต่ 3,000 บาท
- รอรับคูปองทางอีเมล (จะออกภายใน 24 ชั่วโมงหลังแอดมินตรวจสอบการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว) คูปองมีอายุ 60 วัน
- นำคูปองไปยื่นที่โรงพยาบาลเพื่อรับบริการ
*ระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นอยู่กับราคาแพ็กเกจ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลพญาไท 3 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th