เป็นการตรวจขณะเดินหรือวิ่งบนสายพาน ช่วยประเมินความแข็งแรงของหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเสี่ยงหัวใจตีบ ดูว่าออกกำลังกายได้หนักแค่ไหน
รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
❤️ ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST ที่โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ คุณรู้สึกเหนื่อยง่ายหรือมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเมื่อออกกำลังกายหรือไม่? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าหัวใจของคุณกำลังต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความสามารถของหัวใจในขณะออกกำลังกายและช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต!
🏥 ทำไมต้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ?
- วิเคราะห์การทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อหาความเสี่ยงของโรคหัวใจ
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติหรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
💡 ผลตรวจที่คุณจะได้รับ:
- ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจของคุณ
- แผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
⚠️ อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้กลายเป็นเรื่องใหญ่! การตรวจสมรรถภาพหัวใจสามารถช่วยให้คุณควบคุมสุขภาพหัวใจได้ก่อนที่จะสายเกินไป หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกหรือเหนื่อยง่าย การตรวจนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาชีวิตที่ดีขึ้น!
🎯 จองบริการตรวจสมรรถภาพหัวใจวันนี้! ผ่าน HDmall.co.th สะดวก รวดเร็ว และรับผลการตรวจภายใน 1 วันทำการ 📅 อย่ารอช้า เพราะสุขภาพของคุณมีค่า!
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST
- ค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- หากไม่สะดวกรอฟังผล ทางโรงพยาบาลจะแจ้งผ่านทางแอปพลิเคชัน Health Up
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นผิดปกติ สูบบุหรี่จัด มีโรคประตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดอวัยวะส่วนอื่นๆ
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ โดยใช้พาสปอร์ตยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- ควรรับประทานอาหารก่อนตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่เป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ
- งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากก่อนการตรวจ เช่น การออกกำลังกาย
- หากผู้ป่วยรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจ EST
- ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หากต้องการรับบริการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina)
- ผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอเออร์ติก (Aortic Valve) ตีบอย่างรุนแรง
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผล
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ และ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) ฉีกขาดเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการตรวจ EST เช่น การติดเชื้อต่างๆ โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจ EST อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และพยาบาล จึงมีโอกาสเกิดอันตรายร้ายแรงน้อย แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพหัวใจผิดปกติอาจมีผลข้างเคียง หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- มีอาการเหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อได้
- คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม
- มีอาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
- พบลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
- ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงขณะที่เดินสายพาน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST หรือ Exercise Tolerance Test: ETT) ใช้สำหรับตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย โดยดูว่าในขณะที่ร่างกายออกกำลังอย่างหนัก กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่
การตรวจ EST มีเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 2 แบบ คือ สายพานไฟฟ้า (Treadmill) และจักรยาน (Bicycle Ergometer)
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ EST
- ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรืออัมพาต
- นักกีฬา เพราะการวิ่งสายพานจะช่วยให้รู้ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับระดับการเต้นของหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจ EST
- แพทย์ประเมินหาข้อห้ามในการทดสอบ
- ทำการติดเครื่องวัดความดันโลหิต และชีพจรแบบอัตโนมัติ และติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอก
- แพทย์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบ ในท่านอนและท่ายืน
- แพทย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะออกกำลังกาย รวมไปถึงวัดความดันโลหิตและชีพจรเป็นระยะๆ
หมายเหตุ
- ไม่แนะนำผู้ที่มีข้อจำกัดในการวิ่ง เช่น ปวดเข่า เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูก และข้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือมีอาการขาอ่อนแรง
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจหัวใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th