การตรวจคัดกรองไทรอยด์ช่วยประเมินการทำงานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของต่อมไทรอยด์ ทำได้โดยการตรวจวิเคาะห์เลือด การวิเคราะห์จะแม่นยำมากยิ่งขึ้นหากตรวจอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจต่อมไทรอยด์
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ 3 รายการ มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T3)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Free T4)
- ค่าบริการให้คำปรึกษาด้านการเตรียมตัวและอ่านผลตรวจโดยนักเทคนิคการแพทย์วิชาชีพ
หมายเหตุ
- หากต้องการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพทั้งก่อนและหลังการตรวจ จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการเข้ารับบริการ
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจต่อมไทรอยด์
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
- ระยะเวลาในการรอฟังผล 3 วัน
- แจ้งผลผ่านทางโทรศัพท์และอีเมล
- มีนักเทคนิคการแพทย์โทรรายงานผลทางโทรศัพท์
- ส่งใบรายงานผลให้ทางอีเมล
- ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการฟังผล
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
- งดใช้เครื่องสำอางบริเวณที่จะต้องตรวจ เพราะอาจทำให้ผลตรวจผิดพลาดได้
- งดใส่เครื่องประดับทุกชนิด ในวันรับการตรวจ
- สวมเสื้อผ้าที่เป็นกระดุมหน้า ที่ใส่สบายและหลวม เพื่อจะได้ถอดใส่ง่าย และไม่สวมเสื้อผ้าที่มีโลหะนำไฟฟ้า ในวันรับการตรวจ
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากอยู่ในระหว่างรับประทานยาหรืออาหารเสริม เนื่องจากยาและอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลต่อระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์
- ผู้ที่มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus: T1DM)
- ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก
- ผู้ที่มีอาการคอพอกหรือคลำเจอก้อนที่คอ
- ผู้ที่น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น 3 กิโลกรัมโดยไม่มีสาเหตุ ภายในช่วงเวลา 1 เดือน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณหน้ากล่องเสียง ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง
ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์⠀มีความสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง รวมถึงควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร อุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ
การตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ คืออะไร?
การตรวจคัดกรองเป็นการประเมินการทำงานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของต่อมไทรอยด์ โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมน 3 ชนิด ที่ทำหน้าที่ควบคุมซึ่งกันและกันเพื่อให้ฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ ได้แก่
- ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
- ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine: Free T3)
- ฮอร์โมนไทรอกซีน (Thyroxine: Free T4)
นอกจากนี้ในการตรวจคัดกรอง หากตรวจอัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย จะช่วยให้วิเคราะห์ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ได้ชัดเจนขึ้น
โรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
โรคของต่อมไทรอยด์มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีดังนี้
- โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายเผาผลาญมากผิดปกติ ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ร้อนง่าย และมีอารมณ์ฉุนเฉียว
- โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติ มักเกิดหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์หรือรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนมาก่อน ส่งผลให้รู้สึกเฉื่อยชา หายใจไม่เต็มที่ คิดช้า พูดช้า หนาวง่าย และน้ำหนักเพิ่มขึ้น
- โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดอักเสบกึ่งเฉียบพลันและชนิดอักเสบเรื้อรัง โดยชนิดกึ่งเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือภาวะต่อมไทรอยด์โต ทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อคลำที่ก้อน ส่วนชนิดเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน มักมีอาการคอโตแต่กดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ
- โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ (Thyroid nodule) คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิดต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว และต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน โดยทั้งสองอาจส่งผลให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้
- โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer) มีทั้งชนิดที่มีความรุนแรงน้อย สามารถรักษาให้หายขาดได้ และชนิดรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น
หมายเหตุ
- โดยทั่วไปการตรวจฮอร์โมนไทรอยด์อาจตรวจฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิดพร้อมกัน หรือตรวจเฉพาะ TSH เบื้องต้นก่อน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ และอาการของผู้รับบริการ
- การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ ควรตรวจเมื่อมีอาการของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง หรือต่ำ จากสภาวะบางอย่างที่ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนไป
โรงพยาบาลและคลินิกอื่นที่มีบริการ ตรวจไทรอยด์ ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ BT Laboratory System ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่ได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ BT Laboratory System อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th