HDmall สรุปให้!
ปิด
ปิด
- ขั้นตอนการนำวัคซีนมาให้บริการในไทย หลักๆ คือบริษัทเอกชนต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ายาจาก อย. เมื่ออนุญาตให้เป็นผู้นำเข้ายาแล้ว จะต้องนำเอกสารจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีนมาขอขึ้นทะเบียนกับ อย. อีกครั้ง จึงสามารถให้บริการได้
- บริษัทเอกชนเริ่มมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นเรื่องการนำเข้าวัคซีนโควิด หลักๆ มี 4 เจ้า คือ กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี กลุ่ม บีดีเอ็มเอส กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ และโรงพยาบาลรามคำแหง
- วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไขโดย อย. ไทย มี 2 ชนิด คือ วัคซีนโควิด AstraZeneca และวัคซีนโควิด Sinovac โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้มาถึงประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 64
เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจโควิด ได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @hdcoth
หลังจากการแถลงข่าวของศูนย์บริหารจัดการสถานการณ์โควิด (ศบค.) วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 64 โดย พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แสดงความเห็นด้วยที่ภาคเอกชนจะนำเข้าวัคซีนโควิดสำหรับให้บริการผู้ที่มีความพร้อม
แต่ภาคเอกชนที่นำเข้าวัคซีนโควิด จะต้องเป็นสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ลักษณะเป็นโรงพยาบาล สถานบริการที่มีแพทย์ และให้บริการในภาวะฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาร่วม ได้แก่
- ภาคเอกชนจะต้องได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- วัคซีนต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานองค์การอาหารและยา (อย.) แล้ว
ล่าสุด ต้นเดือนมีนาคม 64 ที่ผ่านมา กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งได้มีการเคลื่อนไหวเพิ่มเติมเรื่องการนำเข้าวัคซีนโควิด โดยหวังให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรอวัคซีนโควิดฟรีจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
วัคซีนโควิดเอกชน มีที่ไหนบ้าง?
กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่เคลื่อนไหวเรื่องการนำเข้าวัคซีนมีด้วยกัน 4 รายหลักๆ โดยอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ายากับ อย. ซึ่งอาจมีความเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้
รายชื่อดังต่อไปนี้ ไม่ใช่รายชื่อโรงพยาบาลที่มีการจำหน่ายวัคซีนโควิดอย่างเป็นทางการ แต่เป็นเพียงกลุ่มโรงพยาบาลที่มีแนวโน้มจะให้บริการวัคซีนได้หลังจากได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนนำเข้ายาจาก อย. แล้วเท่านั้น จึงต้องรอความชัดเจนต่อไป กลุ่มโรงพยาบาลที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ อาจมีดังนี้
1. กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี (Thonburi Hospital)
กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรีมีโรงพยาบาลในเครือข่ายหลักๆ 16 โรงพยาบาล ดังนี้
- โรงพยาบาลธนบุรี อู่ทอง
- โรงพยาบาลธนบุรี 2
- โรงพยาบาลราชพฤกษ์
- โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ธนบุรี
- โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี
- โรงพยาบาลราชธานี
- โรงพยาบาลภัทร ธนบุรี
- โรงพยาบาลสิริเวช
- โรงพยาบาลธนบุรี ชุมพร
- โรงพยาบาลนครคริสเตียน
- โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์
- โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี
- โรงพยาบาลสิโรรส
- โรงพยาบาลธนบุรีทุ่งสง
- โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ธนบุรี
- โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
เบื้องต้น ประธานกลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ระบุว่าราคาวัคซีนอาจอยู่ที่ประมาณ 17-40 ดอลลาร์สสหรัฐต่อโดส ตีเป็นเงินไทยรวมกับค่าขนส่ง และค่าบริการ ราคาอาจอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อโดส
2. กลุ่มบีดีเอ็มเอส (Bangkok Dusit Medical Services: BDMS)
กลุ่มบีดีเอ็มเอส มีโรงพยาบาลในเครือข่ายรวมกว่า 49 โรงพยาบาล แบ่งเป็นชื่อโรงพยาบาลหลักๆ ได้ดังนี้
- โรงพยาบาลกรุงเทพ
- โรงพยาบาลสมิติเวช
- โรงพยาบาลพญาไท
- โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล
- โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- โรงพยาบาลรอยัล
โดยโรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนมากที่สุด ถึง 25 โรงพยาบาล แต่รายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่ายดังกล่าว อาจไม่ได้ให้บริการวัคซีนครบทุกรายชื่อ ขึ้นอยู่กับการจัดการของบริษัทเอกชนและการอนุญาตของ อย.
3. กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (Kasemrad Hospital)
กลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ มีโรงพยาบาลในเครือข่ายหลักๆ 8 โรงพยาบาล ดังนี้
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ แม่สาย
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ฉะเชิงเทรา
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง
นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนลอีก 2 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อรัญประเทศ
4. โรงพยาบาลรามคำแหง (Ramkhamhaeng Hospital)
โรงพยาบาลรามคำแหง เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ มีจำนวนเตียงถึง 485 เตียง และเคยได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ Joint commission international standard Accreditation (JCI) ซึ่งสถานะเรื่องนำเข้าวัคซีนโควิดขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ อย.
อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลเอกชนต่างๆ สามารถขอซื้อวัคซีนต่อจากโรงพยาบาล หรือบริษัท ที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าวัคซีนเรียบร้อยแล้วก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ายา
ขั้นตอนหลักๆ ก่อนนำวัคซีนโควิดเข้ามาให้บริการ เป็นอย่างไร?
การจะนำเข้าวัคซีนโควิด-19 นั้น บริษัทเอกชนจะต้องยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ายาไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.
จากนั้น อย. จะทำการส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสถานที่ของบริษัทเอกชนที่ยื่นขอ หากสถานที่เป็นไปตามเงื่อนไขจึงจะอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ายา
จากนั้นโรงพยาบาลหรือบริษัทเอกชนจะต้องนำเอกสารจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีนมายื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. อีกครั้ง จึงจะสามาถนำเข้าวัคซีนมาให้บริการได้
วัคซีนโควิดที่ฉีดในไทย มีอะไรบ้าง กี่ยี่ห้อ?
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้อัปเดตสถานการณ์วัคซีนโควิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 64 เกี่ยวกับวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (ต้องมีการเก็บผลการใช้วัคซีนและรายงานต่อหน่วยงานควบคุมอย่างเคร่งครัด) โดย อย. ไทย ดังนี้
- วัคซีน AstraZeneca
- วัคซีน Sinovac
โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้มาถึงประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 64 เป็นวัคซีนโควิด AstraZeneca จำนวน 117,600 โดส และวัคซีนโควิด Sinovac จำนวน 200,000 โดส
สามารถเปรียบเทียบราคาตรวจโควิดได้ที่ HDmall.co.th ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม จองคิว หรือ เช็กราคาล่าสุด ทักไลน์ @hdcoth ได้ตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง ตี 1 ทุกวัน!
บทความที่เกี่ยวข้อง
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Bangkok Chain Hospital Public Company Limited, เกี่ยวกับ BCH ข้อมูลทั่วไป BCH, (http://www.bangkokchainhospital.com/th/site/about/view/6).
- สยามรัฐ, 4 โรงพยาบาลใหญ่ ลุยนำเข้า “วัคซีนโควิด”, (https://siamrath.co.th/n/224478), 3 มีนาคม 2564.
- ประชาชาติธุรกิจ, 4 โรงพยาบาลใหญ่ นำเข้า “วัคซีนโควิด” เคาะราคา 2,000 บาท/โดส, (https://www.prachachat.net/marketing/news-623170), 3 มีนาคม 2564.
- มติชนออนไลน์, ศบค.ยันวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกถึงไทย 24 ก.พ.ไม่ปิดกั้นเอกชนนำเข้า, (https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2584681), 18 กุมภาพันธ์ 2564.
- โรงพยาบาลธนบุรี, โรงพยาบาลเครือข่าย, (https://www.thonburihospital.com/branch).
- โรงพบาบาลกรุงเทพ (Bangkok Dusit Medical Services), เครือข่ายโรงพยาบาล, (https://investor.bangkokhospital.com/th/general/bdms-network).
- โรงพยาบาลรามคำแหง, (http://www.kasemrad.co.th/th/site/home).