
กรอกโค้ด HD08MM รับส่วนลด 100.- เมื่อซื้อโปรแกรมในราคาขั้นต่ำ 1,000.- มีเพียง 20 สิทธิ์เท่านั้น 1 คน 1 สิทธิ์
รายละเอียด
รายละเอียด
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 108 รายการ มีรายการดังนี้
- ข้าวบาร์เลย์ (Barley)
- กลูเตน (Gluten)
- ข้าวโอ๊ต (Oat)
- แป้งไรย์ ใช้ทําขนมปังที่มีเนื้อแน่น และเป็นวัตถุดิบในการทําวิสกี้ (Rye Flour)
- แป้งสเปลต์ (Spelt)
- ข้าวสาลี (Wheat)
- ข้าวบัควีต นิยมไปทําแพนเค้ก (Buckwheat)
- เมล็ดป่าน (Flax Seed)
- ข้าวโพด (Corn)
- ข้าวฟ่าง หรือข้าวเดือย (Millet)
- ข้าวจ้าว (Rice)
- เนื้อวัว (Beef)
- เนื้อไก่ (Chicken)
- เนื้อแกะ (Lamb)
- เนื้อหมู (Pork)
- ไก่งวง (Turkey)
- นมวัว (Cow's Milk)
- ไข่แดง (Egg Yolk)
- ไข่ขาว (Egg White)
- ชีสแพะ (Goat Cheese)
- นมแพะ (Goat Milk)
- นมแกะ (Sheep Milk)
- ชีสนมแกะ (Sheep Cheese)
- โยเกิร์ต (Yogurt)
- มะเขือม่วง (Eggplant)
- หัวบีทรูท (Beetroot)
- พริกหยวก (Bell Pepper)
- บร็อกโคลี่ (Broccoli)
- แครอต (Carrot)
- ผักคึ่นช่ายฝรั่ง (Celery)
- พริก (Chili)
- แตงกวา (Cucumber)
- ฮอร์สแรดิช (Horseradish)
- ต้นหอมญี่ปุ่น (Leek)
- มะกอก (Olive)
- หัวหอม (Onion)
- มันฝรั่ง (Potato)
- กะหล่ำปลีแดง (Red Cabbage)
- มะเขือเทศ (Tomato)
- หัวผักกาด (Turnip)
- บวบ (Zucchini)
- อาร์ติโชก (Artichoke)
- หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus)
- ผักโขม (Spinach)
- ถั่วฝักยาว (String Bean)
- ถั่ว (Pea)
- ถั่วเหลือง (Soya Bean)
- ถั่วเลนทิล (ลักษณะเมล็ดกลมแบนมีขนาดเล็ก) (Lentil)
- ถั่วขาว (White Bean)
- ผักกาดหอม (Lettuce)
- คอร์นสลัด (Corn Salad)
- แอปเปิ้ล (Apple)
- ผลแอปริคอต (Apricot)
- กล้วย (Banana)
- เชอร์รี่ (Cherry)
- องุ่น (Grape)
- ผลกีวี (Kiwi)
- มะนาวผลสีเหลือง (Lemon)
- ลูกท้อ (Nectarine)
- ส้ม (Orange)
- สัปปะรด (Pineapple)
- สตรอเบอร์รี่ (Strawberry)
- แตงโม (Watermelon)
- แพร (Pear)
- พลัม (Plum)
- เกรปฟรุต (Grapefruit)
- พีช (Peach)
- ผลอินทผาลัม (Date)
- ใบโหระพา (Basil)
- พริกไทย (Pepper)
- อบเชย (Cinnamon)
- กระเทียม (Garlic)
- เมล็ดมัสตาร์ด (Mustard Seed)
- ลูกจันทน์เทศ (Nutmeg)
- ออริกาโน (Oregano)
- พาร์สลีย์ (Parsley)
- ใบสะระแหน่ (Peppermint)
- เมล็ดป๊อปปี้ (Poppy Seed)
- โรสแมรี่ (Rosemary)
- ไธม์ (Thyme)
- วานิลลา (Vanilla)
- อัลมอนด์ (Almond)
- มะม่วงหิมพานต์ (Cashew Nut)
- เมล็ดโกโก้ (Cocoa Bean)
- เฮเซลนัท (Hazelnut)
- ถั่วลิสง (Peanut)
- พิสตาชิโอ (Pistachio)
- งา (Sesame)
- เมล็ดทานตะวัน (Sunflower Seed)
- ถั่ววอลนัต (Walnut)
- มะพร้าว (Coconut)
- เห็ดรวม ชนิดที่ 1 (Mushroom Mix 1)
- เห็ดรวม ชนิดที่ 2 (Mushroom Mix 2)
- กั้ง (Crayfish)
- แซลมอน (Salmon)
- ทูนา (Tuna)
- หอยกาบ (Clam)
- กุ้ง (Prawn)
- ปลาแอนโชวี (Anchovy)
- ปลาฉนาก (Swordfish)
- ปลาเทราต์ (Trout)
- ปลาตาเดียว (Sole)
- ปลาคอด (Codfish)
- ยีสต์สำหรับทำเครื่องดื่ม (Brewer's Yeast)
- ยีสต์สำหรับทําขนมปัง (Baker's Yeast)
- น้ำผึ้ง (Honey)
- กาแฟ (Coffee)
- ชา (Tea)
- เมล็ดแครอบ มีสีและกลิ่นคล้ายโกโก้ ใช้ทําขนม แทนช็อกโกแลต (Carob)
- น้ำมันจากดอกเรปซีด (Rapeseed)
- เนื้อเป็ด (Duck Meat)
- เนื้อแพะ (Goat)
- เนื้อห่าน (Goose)
- นกกระจอกเทศ (Ostrich)
- เนื้อนกกระทา (Quail)
- เนื้อกระต่าย (Rabbit)
- เนื้อกวางตัวเมีย (Roe Deer)
- ไก่ต๊อก (Guinea Fowl)
- เนื้อม้า (Horse)
- นมหมักมีรสเปรี้ยว (Kefir)
- เบต้าแลกโตกลอบูลิน หรือโปรตีนที่ได้จากนมวัว (Beta-Lactoglobulin)
- เนย (Butter)
- เนยแข็งคาเมมเบิร์ต (Camembert)
- เคซีน (Casein)
- ชีสเอมเมนทอล (Emmental Cheese)
- ชีสคอตเตจ (Cottage Cheese)
- ชีสมอสซาเรลลา (Mozzarella)
- ชีสแปรรูป (Processed Cheese)
- ชีสนมเปรี้ยว (Curd Cheese)
- หน่อไม้ (Bamboo Shoots)
- กะหล่ำดาว (Brussel Sprout)
- กะหล่ำดอก (Cauliflower)
- ผักชาร์ด (Chard)
- ปวยเล้ง (Chinese Cabbage)
- ใบเฟนเนล (Fennel)
- บวบ (Gourd)
- อาร์ติโชค (Jerusalem Artichoke)
- เคล (Kale)
- หัวไชเท้า (Radish)
- กะหล่ำปลีใบย่น (Savoy Cabbage)
- มันเทศ (Sweet Potato)
- ใบองุ่น (Vine Leave)
- กะหล่ำปลี (White Cabbage)
- หอมแดง (Shallot)
- ชะเอม (Licorice Root)
- ถั่วลันเตา (Snow Pea)
- ถั่วปากอ้า (Bean Board)
- ถั่วชิกพี (Chickpea)
- ถั่วเขียว (ที่นํามาเพาะถั่วงอก)
- ถั่วแดง (Kidney Bean)
- ผักชิโครี (Chicory)
- ผักกาดแก้ว (Iceberg Lettuce)
- ผักรอกเก็ต (Rocket)
- อะโวคาโด (Avocado)
- แบล็คเบอร์รี่ (Blackberry)
- บลูเบอร์รี่ (Blueberry)
- แครนเบอร์รี่ (Cranberry)
- เรดเคอร์แรนต์ (Redcurrant)
- แบล็กเคอร์เรนต์ (Blackcurrant)
- มะเดื่อฝรั่ง (Fig)
- กูสเบอร์รี (Gooseberry)
- แตง (Melon Honeydew)
- มะนาว (Lime)
- ลินจี่ (Lychee)
- มะม่วง (Mango)
- มะละกอ (Papaya)
- ทับทิม (Pomegranate)
- ราสเบอร์รี่ (Raspberry)
- ดอกโรสฮิป (Rose Hip)
- แคนตาลูป (Cantaloupe)
- ลูกเกด (Raisin)
- โป๊ยกั๊ก (Anise)
- ใบเบย์ (Bay Leaf)
- เก๊กฮวย (Chamomile)
- ผักเคเปอร์ (Caper)
- ใบกุยช่าย ต้นกุยช่าย (Chive)
- กานพลู (Clove)
- ใบผักชี (Coriander)
- ยี่หร่า (Cumin)
- ผักชีลาว (Dill)
- ขิง (Ginger)
- มาร์เจอแรม (Marjoram)
- หญ้าฝรั่น (Saffron)
- เสจ (Sage)
- พริกชี้ฟ้าแดง (Cayenne Pepper)
- เครื่องแกง (Curry)
- ใบแทรากอน (Tarragon)
- ใบฮอปส์ (Hops)
- ใบมินต์ (Mint)
- ถั่วบราซิล (Brazil Nut)
- ถั่วแมคคาเดเมีย (Macadamia Nut)
- ลูกสน (Pine Nut)
- เกาลัด (Sweet Chestnut)
- ถั่วโคลา (Cola Nut)
- ปลาคาร์ป (Carp)
- หมึกกล้วย (Squid)
- ปลาไหล (Eel)
- ปลาทรายแดง (Gilthead Seabream)
- ปลาแฮดดอค (Haddock)
- ปลาไพก์ (Pike)
- ปลาเทอร์บอต (Turbot)
- ปลาแฮร์ริง (Herring)
- กุ้งมังกร (Lobster)
- ปลาแมกเคอเรล (Mackerel)
- ปลาหมึกยักษ์ (Octopus)
- หอยนางรม (Oyster)
- ปลาซาร์ดีน (Sardine)
- ปลากระพงแดง (Ocean Perch)
- ปลากระพง (Sea Bass)
- ไข่ปลาคาร์เวียร์ (Caviar)
- ปู (Crab)
- ผงวุ้น ทําจากสาหร่ายทะเล ใช้ทําเยลลี (Agar Agar)
- ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera)
- ชาเขียว (Green Tea)
- ผงฟู (Baking Powder)
- น้ำมันดอกคําฝอย (Safflower Oil)
- ค่าตรวจหาปริมาณภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส COVID-19 IgG Antibody Quantitative ด้วยวิธี CMIA
- ฟรี! แพทย์อ่านผลผ่านวีดิโอคอล
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ส่งผลตรวจมาให้ HDmall.co.th ทาง LINE @hdcoth แอดมินจะนัดหมายเวลากับแพทย์เพื่ออ่านผลผ่านวิดีโอคอล
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 20-30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- ระยะเวลารอผลการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงประมาณ 7 วัน
- ระยะเวลารอผลการตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 ประมาณ 1 วัน
- การตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 ใช้หลักการทดสอบแบบ Chemiluminescent microparticle immunoassay (CMIA) แปลผลเป็นค่าตัวเลขหน่วย AU/mL
- จัดส่งผลตรวจทั้งสองอย่างเป็นไฟล์ให้ทางอีเมล
- ควรตรวจหาภูมิคุ้มกันหลังรักษาหาย และกักตัวครบ 14 วันโดยไม่มีอาการป่วยแล้ว
- ควรตรวจหาภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วประมาณ 4 สัปดาห์
- การตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 เป็นการตรวจหาแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจน ส่วนหนาม (Spike) ของไวรัส SAR-Cov-2 ในเลือด
- การตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 ใช้บ่งชี้การตอบสนองต่อวัคซีน COVID-19 หรือผู้ที่เคยได้รับเชื้อ COVID-19
- การตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 เป็นการตรวจเพื่อให้ทราบระดับของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้ยืนยันว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่าง ยังคงต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ยังมีการระบาดของโรค COVID-19
- หากสงสัยว่ากำลังติดเชื้อ COVID-19 ให้ใช้วิธีตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ด้วยวิธีมาตรฐาน หรือหากมีข้อสงสัยอาจพิจารณาตรวจซ้ำ
- การให้ผลบวกลวง (False Positive) ในการตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 อาจเกิดขึ้นได้จากการเกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่ม (Cross-reactivity) กับภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ในร่างกาย ที่มีอยู่ก่อนแล้ว
- ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการตรวจพบภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จะสามารถป้องการติดเชื้อซ้ำได้หรือไม่
- การตรวจหาภูมิคุ้มกับ COVID-19 ไม่สามารถบอกประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละตัวได้
- ชาวต่างชาติสามารถรับบริการได้ โดยต้องมีพาสปอร์ตมายืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- งดรับประทานยาแก้แพ้กลุ่มสเตียรอยด์ อย่างน้อย 1 วัน แต่สามารถใช้ยาชนิดทาร่างกายได้ตามปกติ
- เลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารมันจัด 2 ชั่วโมงก่อนตรวจ สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ปกติ
ก่อนตัดสินใจ
ภูมิแพ้อาหารแฝง
- หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเข้ารับบริการได้เลย
- หากเป็นผู้ที่มีอาการแพ้และรับประทานยาแก้แพ้หรือสเตียรอยด์อยู่ ควรพบแพทย์เพื่อประเมินความจำเป็นในการหยุดยา ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการแพ้ในแต่ละคน
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อหยุดอาหารที่ร่างกายต่อต้านไประยะหนึ่ง
ตรวจภูมิ COVID-19
การตรวจภูมิโควิด เป็นการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังได้รับวัคซีน หรือหลังได้รับเชื้อเท่านั้น ไม่สามารถบ่งบอกว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้หรือไม่
ดังนั้นแม้ผลจะออกมาว่ามีภูมิคุ้มกันแล้ว ก็ยังควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงที่ชุมชน เพื่อป้องกันตัวเองจากโรค COVID-19 อยู่
ข้อมูลทั่วไป
ภูมิแพ้อาหารแฝง
ภูมิแพ้แบบแฝง⠀(Food Intolerance) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ตามปกติ แต่จะไม่แสดงอาการทันทีจึงไม่สามารถระบุชนิดอาหารที่แพ้ได้ ต่างจากการแพ้ปกติที่แสดงอาการให้เห็นในเวลาอันสั้น แม้การแสดงออกของการแพ้อาหารแบบแฝงจะไม่รุนแรง แต่ก็ทำให้เกิดอาการเรื้อรังอื่นๆ ได้ จึงควรรีบตรวจหาต้นตอเพื่อการรักษาและดูแลอาการอย่างถูกต้องต่อไป
สาเหตุ
แม้จะเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่มี 2 สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ
- ร่างกายขาดเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหารนั้นๆ ทำให้ไม่สามารถย่อยและดูดซึมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ร่างกายไวต่อสารบางชนิดในอาหาร เช่น สารปรุงแต่ง หรือสารที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในอาหาร อาการจะมีมากขึ้นเมื่อรับประทานอาหารชนิดนั้นมากเกินไป
อาการที่พบบ่อย
- ท้องอืด
- ท้องผูก
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- ไอ
- น้ำมูกไหล
- ครั่นเนื้อครั่นตัว
- อ่อนเพลีย
- มีผื่นคัน
- ลมพิษ
แม้อาการเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งจากภูมิแพ้อาหารแฝงและปัญหาสุขภาพอื่นๆ แต่หากมีอาการบ่อยๆ หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรักษา
วิธีตรวจอาการแพ้อาหารแฝงด้วยตัวเอง
- จดบันทึกรายการอาหารที่รับประทานและอาการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
- งดรับประทานอาหารที่สงสัยว่า อาจเป็นสาเหตุทีละชนิด ราว 2-6 สัปดาห์
- กลับไปรับประทานอาหารชนิดนั้นอีกครั้ง หากกลับมามีอาการ ก็เป็นไปได้ว่าสาเหตุมาจากอาหารชนิดนั้น
นอกจากนี้ยังสามารถเข้ารับการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันในเลือดที่จำเพาะต่ออาหารแต่ละชนิด (Food specific IgG) เพื่อช่วยระบุชนิดอาหารที่มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงได้
หมายเหตุ
- หลังจากได้รับผลการทดสอบแล้วนั้น สามารถนำผลที่ได้มาปรับใช้เลือกกินอาหารที่เหมาะสม เพื่อลดอาหารที่ส่งเสริมอาการแพ้
- ไม่ใช่โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี จึงไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปี
ตรวจภูมิ COVID-19
การตรวจภูมิโควิดคืออะไร?
การตรวจภูมิโควิด คือ การตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือการตรวจแอนติบอดี้ ว่าร่างกายของคุณมีความสามารถในการสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสขนาดไหน
การตรวจภูมิโควิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน (Binding Antibody) กับ การตรวจความสามารถของภูมิคุ้มกันในการยับยั้งไวรัส (Neutralizing Antibody)
วิธีการตรวจภูมิโควิดแบบ Binding Antibody คืออะไร?
การตรวจแบบ Binding Antibody คือการตรวจแอนติบอดี้ที่จับกับโปรตีนแอนติเจนของเชื้อไวรัสที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนโควิดหรือหลังจากติดเชื้อ โดยจะแบ่งเป็นอีก 2 วิธีย่อย คือ CMIA และ ECLIA
1. การตรวจแบบ CMIA⠀คือการตรวจหาภูมิคุ้มกันระยะยาว (IgG Antibody) ด้วยการวัดผลเป็นหน่วย AU/mL
- หากค่า IgG มากกว่าหรือเท่ากับ 50 AU/mL คือร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสแล้ว
- หากค่า IgG น้อยกว่า 50 AU/mL คือร่างกายยังไม่มีภูมิต้านทานไวรัส
ข้อดีของการตรวจแบบ CMIA คือ เป็นการตรวจที่ได้มาตรฐาน WHO ค่อนข้างแม่นยำ รู้ผลเร็ว และราคาไม่สูง
2. การตรวจแบบ ECLIA⠀คือตรวจหาทั้งภูมิคุ้มกันระยะยาว (IgG Antibody) และระยะสั้น (IgM Antibody) ซึ่งอาจตรวจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือตรวจทั้งสองอย่างก็ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ให้บริการ วัดผลเป็นหน่วย U/mL
- หากค่า IgG มากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 U/mL คือร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสแล้ว
- หากค่า IgG น้อยกว่า 1.0 U/mL คือร่างกายยังไม่มีภูมิต้านทานไวรัส
ข้อดีของการตรวจภูมิโควิดด้วยวิธีแบบ ECLIA คือ เป็นการตรวจที่โรงพยาบาลส่วนมากใช้ ค่อนข้างแม่นยำ รู้ผลเร็ว และราคาไม่สูง
วิธีการตรวจภูมิโควิดแบบ Neutralizing Antibody คืออะไร?
การตรวจแบบ Neutralizing Antibody คือการตรวจความสามารถภูมิคุ้มกันในการยับยั้งไวรัส โดยจะเจาะเลือดและนำเลือดไปทดสอบกับเชื้อ ที่เพาะไว้เพื่อทดสอบว่าแอนติบอดี้ยับยั้งเชื้อไวรัสได้มากน้อยแค่ไหน วัดผลเป็นเปอร์เซ็นต์ หากค่าที่วัดได้มากกว่า 20% จึงจะนับว่ามีภูมิคุ้มกัน
ข้อดีของการตรวจแบบ Neutralizing Antibody (NT) คือ ผลลัพธ์ค่อนข้างแม่นยำกว่าวิธีอื่นๆ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการเดินทางเข้าบางประเทศได้ แต่มีข้อเสียคือต้องรอผลค่อนข้างนาน และมีราคาสูง
วิธีชำระและใช้งาน
จองและจ่ายเงินที่ HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดทันที (มีสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน*)
- แจ้งชื่อและข้อมูลของคุณสำหรับจองแพ็กเกจกับแอดมิน
- ชำระเงิน สามารถเลือกวิธีโอน จ่ายบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต โดยจ่ายบัตรเครดิตได้เมื่อมียอดชำระ 300 บาทขึ้นไป ผ่อนได้เมื่อมียอดชำระตั้งแต่ 3,000 บาท
- ส่งหลักฐานการชำระเงิน
- รอรับคูปองทางอีเมล (จะออกภายใน 24 ชั่วโมงหลังแอดมินตรวจสอบการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว) คูปองมีอายุ 60 วัน
- นำคูปองไปยื่นที่คลินิกเพื่อรับบริการ
หมายเหตุ สำหรับแพ็กเกจที่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ หลังจากแพทย์ตรวจประเมินแล้วว่ารับบริการได้ ให้คุณกลับมาจ่ายค่าแพ็กเกจกับ HDmall.co.th เพื่อรับส่วนลด พร้อมรับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่คลินิกได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ BRIA Health Center อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th เงื่อนไขการให้บริการ และราคา โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-16.00 น. (รับคิวสุดท้าย 15.30 น.)
-
มีที่จอดรถฟรีของคลินิก
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-16.00 น. (รับคิวสุดท้าย 15.30 น.)
-
คลินิกอยู่ในซอยตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา
-
มีที่จอดรถฟรีของคลินิก