รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
🌸 ปกป้องสุขภาพเต้านมของคุณด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม! มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป หากคุณรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับสุขภาพเต้านมของคุณ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม การตรวจคัดกรองด้วย ดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ ที่โรงพยาบาลพิษณุเวชสามารถเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของคุณ!
🏥 บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ที่ทันสมัย ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบความผิดปกติได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ผลการตรวจสามารถทราบได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง! การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญในการตรวจสอบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการลุกลามของมะเร็ง
💡 ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
- สามารถตรวจจับความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
- ช่วยในวางแผนการรักษาที่เหมาะสมหากพบความผิดปกติ
🚨 อย่ารอช้า! การปล่อยให้ปัญหาสุขภาพเต้านมยังคงอยู่ อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่สูงขึ้นในอนาคต จองบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกับเราที่ HDmall.co.th และเริ่มต้นการดูแลสุขภาพที่คุณสมควรได้รับ!
เริ่มต้นดูแลสุขภาพเต้านมของคุณวันนี้! ติดต่อเราผ่านการแชท หรือจองบริการโดยตรงที่เว็บไซต์ของเรา 🛒
รายละเอียด
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านม
- ค่าบริการพยาบาล
หมายเหตุ
- ถ้ามีการรักษาอื่นๆ กรณีผลตรวจผิดปกติ จะมีค่าแพทย์ ค่าบริการพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์อื่นๆ เพิ่มเติม
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- สามารถทราบผลได้ในวันที่ตรวจ ระยะเวลารอผลประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังจากการตรวจ โดยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งผลให้ทราบ
- สำหรับผู้ที่เคยผ่านการผ่าตัดเสริมหน้าอกมาแล้ว ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจทุกครั้ง
- กรณีซื้อผ่าน HDmall.co.th ในวันที่เข้ารับบริการลูกค้าจะได้ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เท่านั้นไม่สามารถออกใบเสร็จได้
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรมจะทำให้คัดตึงเต้านมได้
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายตัว เพื่อความสะดวกในการตรวจ ควรเป็นเสื้อผ้าที่เป็นชุดคนละท่อน และไม่สวมเสื้อชั้นในแบบเต็มตัว
ก่อนตัดสินใจ
- ระหว่างตรวจอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย เนื่องจากหน้าอกจะถูกกด แต่ไม่ได้เป็นอันตราย
- หากพบจุดที่สงสัยว่าอาจผิดปกติ แต่ไม่ชัด อาจต้องตรวจซ้ำ
- แม้การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมจะค่อนข้างแม่นยำมาก แต่ยังควรตรวจเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทางร่วมด้วย เนื่องจากบางความผิดปกติ เช่น มีผื่นแพ้ มีของเพลวไหนออกจากหัวนม หรือก้อนเนื้ออยู่ ณ ตำแหน่งด้านในมากๆ หรืออยู่บริเวณขอบของฐานเต้านมมากๆ ก็อาจตรวจไม่พบด้วยเครื่อง
- ลำพังการอัลตราซาวด์แค่อย่างเดียว ไม่สามารถประเมินได้ว่าก้อนเนื้อที่พบเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ หากเห็นความผิดปกติจากการอัลตราซาวด์ แพทย์อาจส่งตรวจ MRI เพิ่ม หรือแนะนำให้ตัดส่งชิ้นเนื้อไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์
- อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ เพราะอาจได้รับผลกระทบจากรังสีเอกซเรย์
สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- การตั้งครรภ์
- การเสริมหน้าอก
ข้อมูลทั่วไป
จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ⠀มะเร็งเต้านม⠀เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี โรคนี้ระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ หากพบก้อนขนาดใหญ่หรือมีน้ำเลือด น้ำเหลืองไหลจากหัวนม ก็มักเป็นระยะที่มะเร็งเต้านมได้ลุกลามและแพร่กระจายแล้ว
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้มีพฤติกรรมบริโภคไขมันสูง
- ผู้มีภาวะอ้วน
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
- ผู้ไม่ออกกำลังกาย
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมคืออะไร?
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม (Digital mammography) เป็นการตรวจเต้านมด้วยเครื่องที่ใช้รังสีเอกซเรย์ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose X-ray) แล้วฉายออกมาเป็นภาพดิจิทัล ให้เห็นลักษณะความเข้ม-ทึบ ที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ในเต้านม เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูนหรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมระยะแรก รวมถึงก้อนเนื้องอก ช่วยให้พบความผิดปกติของเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
ดิจิทัลแมมโมแกรม VS แมมโมแกรม
การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมแบบเดิมจะบันทึกภาพลงบนฟิล์มเอกซเรย์ แต่ดิจิทัลแมมโมแกรมจะบันทึกภาพลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
- นักรังสีเทคนิคจะจัดท่าทางของคุณให้พร้อมสำหรับเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม โดยจะให้เต้านมอยู่ระหว่างแผ่นพลาสติกใส 2 แผ่น
- นักรังสีเทคนิคควบคุมเครื่องให้ค่อยๆ บีบเนื้อเต้านมผู้รับการตรวจเข้าหากัน แล้วบันทึกภาพถ่ายรังสีด้านบน 1 รูป ด้านข้าง 1 รูป
หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการอ่านผลอ่านตรวจโดยแพทย์ โดยอาจมีการตรวจเพิ่มเติมหากพบจุดที่ผิดปกติแต่ยังเห็นไม่ชัด
ระยะเวลาในการตรวจ
สำหรับเต้านมทั้ง 2 ข้าง กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที
ข้อดี
- สามารถบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพคมชัด ทำให้ตรวจความผิดปกติได้ตรวจได้ค่อนข้างละเอียด แม่นยำ
- ใช้รังสีปริมาณต่ำ ลดปริมาณรังสีลงประมาณ 25% เมื่อเทียบกับการตรวจโดยใช้รังสีเอกซเรย์ทั่วไป
ผู้ที่ควรรับการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่ได้รับยาฮอร์โมนทดแทน
การอัลตราซาวด์เต้านม
การตรวจอัลตราซาวด์เต้านมคืออะไร?
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นเทคนิคการตรวจเพื่อให้ได้ภาพสำหรับคัดกรองความผิดปกติหรือค้นหาเนื้องอกในเต้านม โดยใช้หลักการสร้างภาพจากคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เห็นเนื้อเยื่อภายในว่าส่วนไหนเป็นเนื้อเยื่อปกติ ส่วนไหนเป็นก้อนเนื้อ และแยกแยะได้ด้วยว่าก้อนเนื้อนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำหรือเนื้อ
การอัลตราซาวด์ต่างจากการเอกซเรย์หรือทำ CT Scan ตรงที่ไม่มีการใช้รังสี จึงปลอดภัยกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์
- แพทย์ทำการตรวจสอบเต้านม จากนั้นให้ผู้รับการตรวจถอดเครื่องแต่งกายแล้วนอนบนบริเวณที่เตรียมไว้
- แพทย์ทาเจลลงบนหน้าอกผู้รับการตรวจ เพื่อให้คลื่นเสียงสามารถทะลุผ่านผิวหนังได้
- แพทย์ใช้หัวตรวจซึ่งเรียกว่า ทรานซดิวเซอร์ เคลื่อนไปมาเหนือเต้านมผู้รับการตรวจ อุปกรณ์นี้จะส่งและรับคลื่นเสียงความถี่สูง แล้วส่งภาพไปยังจอมอนิเตอร์ หากพบบริเวณน่าสงสัย แพทย์จะทำการบันทึกภาพไว้
- เมื่อได้ภาพเรียบร้อย แพทย์จะเช็ดเจลออกแล้วให้ผู้รับการตรวจสวมใส่เสื้อผ้าตามเดิม
ข้อดี
- เป็นเทคนิคการตรวจที่ไม่ต้องใช้รังสี ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงต่ำ
อัลตราซาวด์ VS แมมโมแกรม
การตรวจอัลตราซาวด์กับแมมโมแกรมเป็นวิธีตรวจความผิดปกติของเต้านมที่นิยมกันมาก แต่ละวิธีมีข้อเด่นคนละอย่าง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจได้อย่างเหมาะสม
อัลตราซาวด์มีข้อเด่นที่มีข้อจำกัดน้อย ผู้ที่อายุยังน้อยหรือตั้งครรภ์อยู่ก็รับการตรวจด้วยวิธีนี้ได้ ตรวจหาก้อนเนื้อได้ดี ระหว่างทำไม่เจ็บ แต่อาจตรวจไม่พบก้อนเนื้อหรือถุงน้ำที่มีขนาดเล็กมากๆ และอาจให้ผลไม่แม่นยำนักในผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือขนาดหน้าอกใหญ่มาก
ส่วนแมมโมแกรมมีข้อเด่นที่หาจุดหินปูนซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งของมะเร็งเต้านมได้ มักใช้ได้ดีในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก ตรวจแล้วเห็นภาพชัด ขณะทำต้องมีการบีบเนื้อเต้านม ทำให้อาจรู้สึกเจ็บหรือไม่สบายตัว
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th