แพ็กเกจอื่นที่คุณอาจสนใจ
รายละเอียด
รายละเอียด
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจสุขภาพเบาหวาน 12 รายการ รวมค่าแพทย์ ค่าบริการโรงพยาบาล และค่าอาหารว่าง 1 ชุด มีรายการตรวจดังนี้
- ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- ตรวจติดตามควบคุมเบาหวาน
- ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (LDL)
- ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอร์ไรด์)
- ตรวจการทำงานของไต
- ตรวจการทำงานของตับ
- ตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์
- ตรวจวัดระดับไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ (MAU)
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (EST)
หมายเหตุ
- สงวนสิทธิ์สำหรับคนไทยเท่านั้น
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- สามารถทราบผลในวันที่รับบริการ ระยะเวลารอผลอย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง
- ผู้ที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละครั้งหรือทุก 6 เดือน
- สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย สามารถซื้อแพ็กเกจในราคาคนไทยได้ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติอย่างน้อย 1 ข้อดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ที่ทำงานในประเทศไทย โดยสามารถแสดงรับสิทธิ์ด้วยการแสดงใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- เป็นผู้ที่ศึกษาในประเทศไทย
- เป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทย
- เป็นผู้มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)
- เป็นผู้มีคู่สมรสเป็นชาวไทย
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- งดรับประทานอาหารก่อนเจาะเลือด 8-12 ชั่วโมง (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
- ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน ควรตรวจก่อนหรือหลังมีประจำเดือนอย่างน้อย 7 วัน
ก่อนตัดสินใจ
ตรวจคัดกรองเบาหวาน
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
- ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์
- ผู้หญิงที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง
การตรวจ EST
ข้อห้ามสำหรับการตรวจ EST
- ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หากต้องการรับบริการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina)
- ผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
- ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอเออร์ติก (Aortic Valve) ตีบอย่างรุนแรง
- ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผล
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ และ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
- ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) ฉีกขาดเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการตรวจ EST เช่น การติดเชื้อต่างๆ โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจ EST อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาล จึงไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพหัวใจผิดปกติอาจมีผลข้างเคียง หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- มีอาการเหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อได้
- คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม
- มีอาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
- พบลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
- ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงขณะที่เดินสายพาน
ข้อมูลทั่วไป
ตรวจคัดกรองเบาหวาน
โรคเบาหวาน⠀เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายทำงานผิดปกติ โดยหน้าที่ของอินซูลินคือการนำน้ำตาลกลูโคสไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เมื่ออินซูลินทำงานผิดปกติทำให้ปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ส่งผลเสียต่อระบบในร่างกาย ทำให้เกิดโรคเบาหวานและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
โรคเบาหวานที่พบได้ทั่วไป
- เบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดพึ่งอินซูลิน เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน จึงต้องรับยาอินซูลินเพื่อรักษา
- เบาหวานชนิดที่ 2 หรือชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เกิดจากภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอซึ่งอาจพบได้ในทุกระยะการตั้งครรภ์ แม้จะหายไปได้หลังคลอดแต่ก็มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
อาการของโรคเบาหวานเบื้องต้น
- ปัสสาวะมากและบ่อยขึ้น หิวน้ำมากขึ้น
- น้ำหนักลดผิดปกติ ประมาณ 5-10 กิโลกรัมภายใน 2-3 เดือน
- หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลดลง
- คันตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
- อ่อนเพลีย
- ตาพร่ามัว
- ติดเชื้อบ่อยๆ
- เป็นแผลแล้วรักษายาก
การตรวจโรคเบาหวาน มีวิธีอย่างไร?
ปัจจุบันสามารถตวรจโรคเบาหวานได้ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่มักใช้วิธีดังนี้
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting plasma glucose: FPG) บอกระดับน้ำตาลกลูโคสในเวลาที่เจาะเลือด ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้ ผลจะแม่นยำที่สุดเมื่องดอาหารตอนกลางคืนและตรวจเลือดตอนเช้า
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (Hemoglobin A1C: HbA1C) บอกระดับน้ำตาลกลูโคสเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร มักตรวจร่วมกับ FPG เพื่อความแม่นยำ
- ตรวจระดับน้ำตาลที่เวลาใดๆ (Random plasma glucose: RPG) ตรวจได้ทุกเวลาที่ต้องการ แพทย์อาจพิจารณาตรวจวิธีนี้เพื่อวินิจฉัยโรคหากพบอาการของโรคเบาหวานและไม่ต้องการรองดอาหาร
การตรวจ EST
การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST หรือ Exercise Tolerance Test: ETT)⠀ใช้สำหรับตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย โดยดูว่าในขณะที่ร่างกายออกกำลังอย่างหนัก กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่
การตรวจ EST มีเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 2 แบบ คือ สายพานไฟฟ้า (Treadmill) และจักรยาน (Bicycle Ergometer)
ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ EST
- ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรืออัมพาต
- นักกีฬา เพราะการวิ่งสายพานจะช่วยให้รู้ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับระดับการเต้นของหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจ EST
- แพทย์ประเมินหาข้อห้ามในการทดสอบ
- ทำการติดเครื่องวัดความดันโลหิตและชีพจรแบบอัตโนมัติ และติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอก
- แพทย์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบ ในท่านอนและท่ายืน
- แพทย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะออกกำลังกาย รวมไปถึงวัดความดันโลหิตและชีพจรเป็นระยะๆ
หมายเหตุ
- ไม่แนะนำผู้ที่มีข้อจำกัดในการวิ่ง เช่น ปวดเข่า เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูกและข้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือมีอาการขาอ่อนแรง
วิธีชำระและใช้งาน
จองและจ่ายเงินที่ HDmall.co.th พร้อมรับส่วนลดทันที (มีสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน*)
- แชทกับแอดมิน เพื่อแจ้งชื่อและข้อมูลของคุณสำหรับจองแพ็กเกจ
- ชำระเงิน สามารถเลือกวิธีโอน จ่ายบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต โดยจ่ายบัตรเครดิตได้เมื่อมียอดชำระ 300 บาทขึ้นไป ผ่อนได้เมื่อมียอดชำระตั้งแต่ 3,000 บาท
- ส่งหลักฐานการชำระเงินให้แอดมิน
- รอรับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง หลังแอดมินตรวจสอบการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว คูปองมีอายุ 60 วัน
- นำคูปองไปยื่นที่โรงพยาบาลเพื่อรับบริการ
จองผ่าน HDmall.co.th แล้วไปจ่ายเงินที่โรงพยาบาล รับแคชแบ็กหลังรับบริการ
- แชทกับแอดมิน เพื่อแจ้งชื่อและข้อมูลสำหรับจองแพ็กเกจ
- รับคูปองยืนยันการนัดหมายทางอีเมล คูปองมีอายุ 30 วัน
- นำคูปองไปยื่นที่โรงพยาบาลเพื่อรับบริการ และชำระค่าแพ็กเกจราคาเต็ม
- ภายใน 30 วันนับจากชำระเงิน กรุณาส่งหลักฐานดังนี้ให้แอดมินทางไลน์ @hdcoth เพื่อรับแคชแบ็ก
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบเสร็จของโรงพยาบาล
- สำเนาหน้าสมุดบัญชี
- หน้าคูปอง
- รอรับแคชแบ็กภายใน 7-14 วัน (ตัดรอบโอนเงินทุกวันจันทร์ เวลา 15.00 น. เงินจะเข้าบัญชีของคุณภายในวันศุกร์)
หมายเหตุ สำหรับแพ็กเกจที่ต้องให้แพทย์ประเมินก่อน หลังจากแพทย์ประเมินแล้วว่ารับบริการได้ คุณสามารถจ่ายเงินโดยตรง ณ สถานที่ให้บริการ แล้วรับแคชแบ็กภายหลัง หรือจ่ายกับ HDmall.co.th เพื่อรับส่วนลดได้ทันทีพร้อมรับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่คลินิกได้โดยตรง