วันหยุดสงกรานต์เช็กที่นี่
รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
✨ ตรวจสุขภาพตับอย่างง่ายดาย ด้วย Fibro Scan! คุณเคยรู้สึกอ่อนเพลีย หรือมีอาการตาเหลืองและตัวเหลืองหรือไม่? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าตับของคุณมีปัญหา! การตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ ด้วยวิธี Fibro Scan ที่ โรงพยาบาลเปาโล รังสิต เป็นทางเลือกที่คุณไม่ควรมองข้าม!
🏥 ทำไมต้องเลือก Fibro Scan?
- ไม่ต้องเจาะตับ – ใช้เทคโนโลยีอัลตราซาวด์ที่ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
- ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนเมื่อเปรียบเทียบกับการเจาะตับ
- สามารถตรวจสอบได้ก่อนที่คุณจะมีอาการป่วย ทำให้รักษาได้ทันท่วงที
🌟 สำหรับใครที่เหมาะกับบริการนี้?
- ผู้ที่มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
- ผู้ที่อายุ 25 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก
⚠️ อย่าปล่อยให้สุขภาพตับของคุณแย่ลง! การตรวจ Fibro Scan ใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมง และคุณจะทราบผลการตรวจในวันเดียวกัน อย่ารอช้า! จองบริการ กับเราผ่าน HDmall.co.th หรือ พูดคุยกับเรา เพื่อสอบถามเพิ่มเติม 📅
ให้การดูแลสุขภาพของคุณเริ่มต้นที่นี่!
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจตับ
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจหาภาวะการเกิดพังผืดในเนื้อตับ ด้วยวิธี Fibro Scan
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- กรณีพบความผิดปกติ และต้องทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทาง อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจริง
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น
- ทราบผลตรวจในวันที่รับบริการ ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง
- ฟังผลโดยตรงกับแพทย์เท่านั้น
- เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 25 ปีขึ้นไป
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ก่อนตรวจสุขภาพอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายตัว เพื่อความสะดวกในการตรวจ ควรเป็นเสื้อผ้าแบบชุดคนละท่อน และไม่สวมเสื้อชั้นในแบบเต็มตัว
- สำหรับผู้หญิง หากกำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนตรวจ
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ข้อห้ามสำหรับการทำไฟโบรสแกน
- ผู้ที่ติดอุปกรณ์ในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) สามารถตรวจวัดได หากมีความจำเป็นต้องตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน แต่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
- ผู้ที่มีภาวะท้องมานซึ่งมีน้ำในช่องท้องมาก แม้ไม่เป็นอันตรายแต่จะไม่ได้ผล เพราะคลื่นของเครื่องไฟโบรสแกนไม่สามารถผ่านน้ำในช่องท้องได้
- สตรีตั้งครรภ์ หากมีความจำเป็นต้องตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
- มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
- มีอาการอ่อนเพลีย และอาหารไม่ย่อย
- มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
- เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจตับ
ไฟโบรสแกน (FibroScan) เป็นเครื่องมืออัลตราซาวด์ที่ใช้ตรวจหาไขมันสะสมในตับและภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยเฉพาะ ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดกับร่างกายและลดอัตราเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนลงเมื่อเทียบกับการเจาะตับ (Liver Biopsy) อีกทั้งยังสามารถตรวจก่อนมีอาการป่วยได้อีกด้วย ทำให้รักษาได้ทันท่วงที ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดกับร่างกายและลดอัตราเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนลงเมื่อเทียบกับการเจาะตับ (Liver Biopsy) อีกทั้งยังสามารถตรวจก่อนมีอาการป่วยได้อีกด้วย ทำให้รักษาได้ทันท่วงที
ตรวจไฟโบรสแกนเพื่ออะไร?
- แม้จะยังไม่มีอาการป่วย การตรวจไฟโบรสแกนจะทำให้รู้ว่าตับมีไขมันเกาะหรือมีพังผืดหรือไม่ โดยไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ทำได้ง่าย และใช้เวลาไม่นาน
- ผลตรวจไฟโบรสแกนอย่างเดียว หรือร่วมกับผลการตรวจเลือด สามารถใช้ประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็งได้
- ช่วยในการติดตามการดำเนินของโรค เพื่อดูผลการตอบสนองต่อการรักษาและวางแผนการรักษาต่อไป สามารถใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ
หลักการทำงานของเครื่องไฟโบรสแกน
- สำหรับวัดพังผืดในตับ (หน่วยวัดเป็นกิโลพาสคาล (kPa)) ใช้หลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำที่ 50 เฮิรตซ์ ด้วยเทคนิค VCTE (Vibration Controlled Transient Elastography) เข้าไปในตับ แล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับมา จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมาเป็นค่าความแข็งเนื้อตับ ซึ่งหากตับเริ่มแข็งคลื่นเสียงสะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว ทำให้ค่าที่วัดได้สูง
- สำหรับวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ (หน่วยวัดเป็นเดซิเบล/เมตร (dB/m)) ใช้หลักการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับ ด้วยวิธี CAP (Controlled Attenuation Parameter) และวัดค่าความต้านทาน หากตับมีปริมาณไขมันสะสมมากก็จะมีแรงต้านทานมาก ค่าที่ได้ก็จะสูงตาม
ขั้นตอนการตรวจ
ส่วนใหญ่แล้ว การตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกนจะมีขั้นตอนดังนี้
- แพทย์ให้ผู้รับบริการนอนหงายบนเตียง ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นไว้เหนือศีรษะ
- แพทย์ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังของผู้เข้ารับบริการเล็กน้อย จากนั้นใช้เครื่องมือตรวจวัดที่ร่างกาย บริเวณที่ตรงกับเนื้อตับส่วนกลาง ประมาณ 10 ครั้งในจุดเดียวกัน
- แพทย์แปลผลข้อมูลให้ผู้รับการตรวจทราบพร้อม
แพ็กเกจอื่นเกี่ยวกับตรวจตับ ตรวจการทำงานของตับ ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลเปาโล รังสิต ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลเปาโล รังสิต อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ

รู้โปรฯ ใหม่ก่อนใคร! แค่ทิ้งเมลไว้ เดี๋ยวเราเตือนคุณเอง
รีวิวของแพ็กเกจ
ระยะเวลาการตรวจประมาณเท่าไหร่?
ควรทำการตรวจ Fibro Scan บ่อยแค่ไหน?
ตรวจหาภาวะการเกิดพังผืดในเนื้อตับด้วย Fibro Scan คืออะไร?
ฉันสามารถใช้ประกันสังคมในการตรวจนี้ได้หรือไม่?
แพ็กเกจอื่นใน ตรวจตับ (Liver Function Test)
ตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี แบบบริการถึงบ้าน (เฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร)

ตรวจสุขภาพตับ 8 รายการ และตรวจไขมันพอกตับ ด้วยวิธีไฟโบรสแกน (Fibroscan)
แพ็กเกจอื่นใน โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

แพ็กคู่สุดคุ้ม! ฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ 3 เข็ม + ตรวจ ThinPrep และ HPV DNA
