การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นการตรวจสิ่งบ่งชี้ความเสี่ยงของมะเร็งในเบื้องต้นจากเลือด สารคัดหลั่ง รวมถึงตรวจร่างกาย ถือเป็นด่านแรกที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงได้
รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
🌟 ไม่ให้มะเร็งครอบงำชีวิตคุณ! คุณรู้หรือไม่ว่า มะเร็งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญในผู้หญิงไทย? การตรวจคัดกรองมะเร็ง 27 รายการ พร้อมฉีดวัคซีน HPV ที่ Bangkok Anti-Aging Center เป็นโอกาสที่คุณไม่ควรพลาด! 🌈
🏥 บริการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ครอบคลุม จะช่วยให้คุณทราบถึงความเสี่ยงและเตรียมตัวรับมือได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ 3 เข็ม ที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดความเสี่ยงมะเร็งได้ถึง 90%! 💉
💡 ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็ง?
- มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง
- การตรวจคัดกรองสามารถช่วยให้พบความเสี่ยงได้ก่อนที่จะมีอาการรุนแรง
- วัคซีน HPV ป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
👩⚕️ คุณเหมาะกับบริการนี้หาก:
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
- เริ่มมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- มีคู่นอนหลายคน
🚨 อย่ารอให้ความเสี่ยงกลายเป็นปัญหาใหญ่! จองบริการ ตรวจคัดกรองมะเร็งและฉีดวัคซีน HPV กับเราตอนนี้ เพื่อความมั่นใจในสุขภาพของคุณ ✨
เริ่มต้นดูแลตัวเองวันนี้ที่ HDmall.co.th!
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจคัดกรองมะเร็ง
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองมะเร็ง 26 รายการ พร้อมฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ชนิด 4 สายพันธุ์ 3 เข็ม สำหรับผู้หญิง มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- ตรวจคัดกรองภาวะโรคไต (BUN)
- ตรวจคัดกรองภาวะโรคไต (Creatinine)
- ตรวจคัดกรองภาวะโรคเกาต์ (Uric Acid)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ (SGOT-AST)
- ตรวจคัดกรองโรคตับ (SGPT-ALT)
- ตรวจเอนไซม์แอลดีเอช (LDH)
- ตรวจสารเฟอร์ริติน (Serum Ferritin)
- ตรวจระดับวิตามินบี 12 ในเลือด (Vitamin B12)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA 15-3)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA 125)
- ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน (CA 19-9)
- ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง (Beta hCG)
- ตรวจสแกนระบบหัวใจและหลอดเลือด ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Functions) ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบสั่งการของประสาทและกล้ามเนื้อ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบทางเดินหายใจ ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบการย่อยอาหาร ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบประสาทและสมอง ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจสแกนระบบการเผาผลาญอาหาร ด้วยเครื่อง EIS
- ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Density)
- ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ (Doctor Consultant)
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการ
หมายเหตุ
- หากต้องการพบแพทย์ก่อนการตรวจและซื้อแพ็กเกจ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 1,500 บาท และคิวนัดเป็นตามคลินิกกำหนด
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ฉีดวัคซีน HPV
- ระยะเวลารับริการประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้เข้ารับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ โดยใช้พาสปอร์ตยืนยันตัวตน
- กรณีมีการพบแพทย์ และต้องการใบรับรองแพทย์ กรุณาแจ้งแอดมิน HDmall หรือเจ้าหน้าที่คลินิกล่วงหน้า โดยทางคลินิกจะออกใบรับรองแพทย์ (ภาษาไทย) ให้ในวันที่รับบริการ
- กรณีซื้อผ่าน HDmall.co.th ในวันที่เข้ารับบริการลูกค้าจะได้ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เท่านั้นไม่สามารถออกใบเสร็จได้
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
- งดการฉีดสารเติมเต็มบนใบหน้า เช่น ฟินเลอ โบท็อกซ์ อื่นๆ 2 สัปดาห์
- ไม่ฉีดร่วมกับวัคซีนตัวอื่นๆ 1 สัปดาห์ และก่อนหรือหลังดิปวิตามิน 1 สัปดาห์
- งดการดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
- หากมีไข้สูงเเนะนำให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนเนื่องจากตัววัคซีนอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อร่างกายอาจจะมีไข้หลังการฉีด
การดูแลหลังรับบริการ
- ควรนั่งพักหลังรับวัคซีนประมาณ 15 นาที เพื่อสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น เป็นผื่น แน่นหน้าอก ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ประมาณ 1-2 วัน
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีนที่เลือกฉีด ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคได้ แต่ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค 100% หลังฉีดจึงยังควรตรวจภายใน และดูแลสุขอนามัยทางเพศตามปกติ
- หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีนได้ แต่วัคซีนนั้นจะป้องกันเฉพาะเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ติดเท่านั้น และวัคซีนไม่สามารถรักษาหรือทำลายเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ติดไปแล้วแล้วได้
- ช่วงอายุที่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อยู่ระหว่าง 9-45 ปี แต่แนะนำให้ฉีดก่อนอายุ 26 ปี หรือยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
- เนื่องจากตัวยามีความเข้มข้น ขณะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและเดินยาจึงทำให้ปวดได้
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะหากนานกว่า 5 ปีเพราะมีความเสี่ยงสูง)
- ผู้หญิงที่มีผ่านการตั้งครรภ์ และคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง
- ผู้หญิงที่มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม
- ผู้หญิงที่ขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงที่ขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานผัก และผลไม้น้อย
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ (ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอดและหลอดลม)
ข้อห้ามสำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ที่ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อสารประกอบในวัคซีน
- ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหาย
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อาการหน้ามืด เป็นลม
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็ง
การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นการตรวจหาความเสี่ยงในเบื้องต้น เพื่อประเมินโอกาสการเกิดมะเร็งตามช่วงอายุที่เหมาะสม ทั้งในคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี และผู้ที่มีความกังวลหรือมีอาการผิดปกติ
5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย ได้แก่ เต้านม ช่องคลอด ลำไส้ใหญ่ มดลูก ปอดและหลอดลม
อ้างอิงจาก จำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 (ข้อมูลล่าสุด)
มะเร็ง คืออะไร?
มะเร็ง คือเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติในร่างกาย มีการแบ่งตัวและเติบโตอย่างไร้การควบคุมจากระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเซลล์มะเร็งนี้มีต้นกำเนิดมาจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ปกติในร่างกาย
ข้อดีของการตรวจคัดกรองมะเร็ง คือ?
- การตรวจคัดกรองมะเร็งสามารถบอกความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ได้ตั้งแต่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง การตรวจไม่ยุ่งยาก และไม่มีการตัดเนื้อเยื่อไปตรวจแต่อย่างใด
- หากผลการตรวจคัดกรองพบว่าไม่มีความเสี่ยง จะทำให้ผู้ที่มีสุขภาพดีมั่นใจยิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้ที่รู้สึกมีอาการผิดปกติ หรือมีความกังวลอยู่ คลายความวิตกกังวลไปได้
- หากพบว่ามีความเสี่ยงอยู่บ้าง ยังไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง ข้อควรระวัง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม พร้อมทั้งแนะนำว่าควรมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลหรือไม่
- หากมีเซลล์ผิดปกติอยู่ การตรวจคัดกรองจะช่วยให้มีโอกาสตรวจพบได้เร็ว และมีโอกาสรักษาให้หายมากขึ้น การเริ่มต้นรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้ลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้
ตรวจคัดกรองมะเร็ง VS ตรวจมะเร็ง ต่างกันอย่างไร?
การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นการตรวจสิ่งบ่งชี้ความเสี่ยงของมะเร็งในเบื้องต้น โดยยังไม่มีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจค่อนข้างสะดวก และถือเป็นด่านแรกที่จะช่วยให้เราประเมินความเสี่ยงได้
ในขณะที่ การตรวจมะเร็งจะมีการตรวจอื่นๆ ที่ละเอียดมากขึ้น โดยวิธีการตรวจจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สงสัยว่าจะมีเนื้อร้าย และจะมีการตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจวิเคราะห์เพื่อยืนยันผลว่าเป็นเซลล์มะเร็งจริงหรือไม่
เนื้องอก VS มะเร็ง ต่างกันอย่างไร?
เนื้องอก เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ แต่ไม่เจริญลุกลามไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะไม่อันตราย แต่หากอยู่ในส่วนที่สำคัญหรือปล่อยทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ หรืออวัยวะข้างเคียง ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งหากส่วนของเนื้องอกนั้นมีลักษณะเป็นถุงน้ำจะถูกเรียกว่าซีสต์
ในขณะที่มะเร็งเป็นเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย มีการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ ขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ และสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้ เป็นอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ และระบบอื่นๆ ที่มะเร็งลุกลามไป
หมายเหตุ
- หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ
เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยประมาณ 99.7% ของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HPV นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักอื่นๆ อีกด้วย เช่น โรคหูดหงอนไก่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งอวัยวะเพศ เป็นต้น
เชื้อ HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก รวมถึงการสัมผัสเชื้อทางบาดแผลตามร่างกาย และการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะคลอด
แม้ว่า 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส HPV จะสามารถหายเองได้ภายใน 2 ปี แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ติดเชื้อนานกว่านั้นและเกิดเป็นมะเร็งในที่สุด
ไม่ใช่เพียงผู้หญิงเท่านั้นที่สามารถติดเชื้อ HPV ผู้ชายก็สามารถติดได้เช่นกัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา คือ
- สำหรับผู้หญิง เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอด ปากช่องคลอด ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่ ทั้งยังเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจด้วย
- สำหรับผู้ชาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่
ปัจจุบันพบว่า มีเชื้อเอชพีวีอย่างน้อย 15 สายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ โดยสายพันธุ์ที่ถือว่า มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกคือ สายพันธุ์ 16 และ 18
วัคซีน HPV มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร
- วัคซีน 2 สายพันธุ์ (Cervarix) ป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
- วัคซีน 4 สายพันธุ์ (Gardasil) ป้องกันทั้งเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16, 18 และสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ ป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70% และป้องกันหูดหงอนไก่ได้ประมาณ 90%
- วัคซีน 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9) ป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18 เหมือนชนิด 4 สายพันธุ์ และอีก 5 สายพันธุ์ ได้แก่ 31, 33, 45, 52 และ 58 ซึ่งเป็นไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน วัคซีน 9 สายพันธุ์จึงลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ถึง 90% ขณะที่ประสิทธิภาพการป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่เท่ากับชนิด 4 สายพันธุ์
วัคซีน HPV ต้องฉีดกี่เข็ม ห่างกันนานเท่าไร
สำหรับผู้ที่อายุ 9-14 ปี ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อแบบ 2 เข็ม
- ฉีดเข็มแรกทันที
- ฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 6-12 เดือน
สำหรับผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 3 เข็ม - ฉีดเข็มแรกทันที
- ฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 2 เดือน
- ฉีดเข็มที่ 3 นับจากเข็มแรก 6 เดือน
จำเป็นต้องตรวจร่างกายก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน หรือตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนฉีดวัคซีน แต่หากต้องการตรวจเพื่อจะได้ทราบว่ามีการติดเชื้ออยู่แล้วหรือไม่ ก็สามารถทำได้ แต่การตรวจในปัจจุบันบอกได้เพียงว่าติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ยังไม่ได้บ่งชี้ว่าติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ใด
หลังจากฉีดวัคซีนยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?
หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ เนื่องจากวัคซีนสามารถป้องกันเชื้อ HPV แค่บางสายพันธุ์เท่านั้น โอกาสที่จะติดเชื้อสายพันธุ์อื่นที่ก่อให้เกิดมะเร็งยังมีอยู่
หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV ยังสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้หรือไม่?
หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีนได้ แต่วัคซีนนั้นจะป้องกันเฉพาะเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ติดเท่านั้น และวัคซีนไม่สามารถรักษาหรือทำลายเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ตรวจพบแล้วได้
หมายเหตุ
- วัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากฉีดครบตามกำหนด ฉีดตั้งแต่อายุยังน้อย หรือฉีดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เนื่องจากยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน แต่หากมีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้เช่นกัน เพียงแต่ประสิทธิภาพอาจลดลง
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ Bangkok Anti-Aging Center ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่คลินิกได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ Bangkok Anti-Aging Center อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th