รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
🦷 ฟันที่แข็งแรง เริ่มต้นที่การรักษารากฟัน! คุณประสบปัญหาฟันผุ ฟันแตก หรือมีอาการปวดฟันที่ไม่สามารถทนได้อีกต่อไปใช่ไหม? การรักษารากฟันและทำเดือยฟันพร้อมครอบฟัน ด้วยโลหะเคลือบพอร์ซเลนที่ คลินิกทันตกรรมเวลคัม เป็นทางออกที่คุณไม่ควรพลาด!
💡 ทำไมต้องรักษารากฟัน?
- ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอาการปวด แต่ยังป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นได้รับผลกระทบ
- การทำเดือยฟันจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับรากฟัน ลดโอกาสในการถอนฟันในอนาคต
- ครอบฟันช่วยให้ฟันกลับมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มความสวยงามให้แก่รอยยิ้มของคุณ
✨ บริการของเรา:
- การรักษารากฟันที่มีคุณภาพ
- การทำเดือยฟันเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟัน
- การทำครอบฟันด้วยโลหะเคลือบพอร์ซเลนเพื่อความสวยงามและทนทาน
อย่าปล่อยให้อาการปวดฟันรบกวนชีวิตคุณอีกต่อไป! จองบริการกับเราได้ง่ายๆ ผ่าน HDmall.co.th และนัดหมายกับทันตแพทย์เพื่อประเมินอาการของคุณ 📅
ให้รอยยิ้มของคุณกลับมาเป็นที่น่าภูมิใจอีกครั้ง เริ่มต้นที่นี่!
รายละเอียด
รายละเอียดราคา รักษารากฟัน ทำเดือยฟัน ครอบฟัน
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่ารักษารากฟัน พร้อมทำเดือยฟัน และทำครอบฟัน ด้วยโลหะเคลือบพอร์ซเลน สำหรับฟันกราม 1 ซี่
- ค่าเอกซเรย์ ในระหว่างเริ่มทำหัตถการ (หากยังไม่สามารถทำหัตถการได้ ต้องจ่ายค่าเอกซเรย์ 180 บาท )
- ค่าปลอดเชื้อ
หมายเหตุ
- อาจมีค่าตัดแต่งเหงือกเพิ่มเติมก่อนทำครอบฟัน ราคา 3,320 บาท ต่อ 1 ซี่ ขึ้นอยู่กับทันตแพทย์ประเมิน
- หากวันที่ไปประเมินมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม HD จะออกค่าประเมินให้เฉพาะครั้งแรก โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการประเมิน (เช่น ตรวจโควิด หรือค่ายา เป็นต้น)
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของผู้รับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรดูแลรักษาฟันให้อยู่ในสภาพปกติก่อนการตรวจ
- หากมีฟันผุหรือมีหินปูนต้องรักษาก่อนรับบริการ
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หืดหอบ ลมชัก ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- หากเป็นผู้ที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคมะเร็งที่ต้องฉายรังสีบริเวณใบหน้า ควรได้รับการรักษาและคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์เฉพาะทางก่อนทำ
- ผู้ที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ควรหยุดใช้ยา 7-10 วัน ก่อนพบทันตแพทย์
- งดสูบบุหรี่ก่อนรับบริการอย่างน้อย 7 วัน
การดูแลหลังรับบริการ
- ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที ควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการชาจะหมดไป ป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
- อาจมีอาการบวมที่เหงือกในช่วง 2-3 วันแรก แต่อาการเจ็บมักจะค่อยๆ ทุเลาลงและหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวดทั่วไป
- ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษารากฟัน งดเคี้ยวหรือกัดอาหารด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน อาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้
- หลังทำเดือยฟันใหม่ๆ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้แผลหายช้าได้
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำร้ายฟัน เช่น อาหารรสเปรี้ยวจัดซึ่งมีความเป็นกรดสูง หรืออาหารแข็ง เพราะเสี่ยงต่อฟันแตก ฟันบิ่น
- ลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของฟันผุ
- ในกรณีที่วัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันที เพื่อป้องกันโรคในช่องปากที่สามารถเข้าสู่ภายในคลองรากฟันได้
- ควรมาตามนัดของทันตแพทย์ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการถอนฟันซี่นั้นออก
- ทำความสะอาดช่องปากให้ถูกวิธี เช่น การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน
ก่อนตัดสินใจ
รากฟันเทียม
ข้อห้ามสำหรับการทำรากฟันเทียม
- ผู้ที่อายุยังไม่ถึง 21 ปี ควรรอให้กระดูกขากรรไกรเจริญเต็มที่ก่อน
- ผู้หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีอาการแพ้โลหะไทเทเนียมในการทำทันตกรรมมาก่อน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน มะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร ปริทันต์อักเสบรุนแรง ลูคีเมีย ไทรอยด์ ผู้ที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
- ผู้ป่วยจิตเภท ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมกล้ามเนื้อ หรือผู้ที่ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้เอง
- ไม่เหมาะที่จะทำในผู้ที่สูบบุหรี่จัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- มีอาการปวดหลังรับบริการ ซึ่งบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด
- อาจจำเป็นต้องผ่าตัดฝังรากฟันเทียมมากกว่า 1 ครั้ง
- อาจเกิดการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
- ระหว่างการผ่าตัดอาจไปทำลายถูกเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหรือชาไปยังฟันซี่อื่น เหงือก ริมฝีปาก หรือคางได้
ครอบฟัน
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ฟันร้าวหรือแตกหัก
- ฟันมีรูผุขนาดใหญ่ ไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟันได้
- ฟันที่ผุไปถึงโพรงประสาทฟัน และผ่านการรักษารากฟันแล้ว
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- รู้สึกปวด เสียวฟัน หรือไม่สบายฟัน อาการจะหายได้เองภายในไม่กี่วัน หรือคงอยู่หลายสัปดาห์ แต่หากไม่ดีขึ้นควรไปพบทันตแพทย์
- ครอบฟันแยกออกจากฟันข้างเคียง ซึ่งควรพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด ไม่ควรแก้ไขด้วยตนเอง
- ครอบฟันที่เป็นเซรามิกเกิดการแตกหัก
- เหงือกร่น จากการอักเสบติดเชื้อที่เหงือก โดยจะสังเกตได้จากลักษณะของเหงือกที่บวมแดง มีเลือดออก และมีกลิ่นเหม็น
- ฟันข้างเคียงอาจผุได้หากทำความสะอาดไม่ดีพอ
เดือยฟัน
- วัสดุทำเดือยฟันมีผลต่อความแข็งแรงของเดือยฟันและรากฟัน
ข้อมูลทั่วไป
รากฟันเทียม
รากฟันเทียม คือ วัสดุที่ปลูกถ่ายลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อทดแทนส่วนที่เป็นรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับครอบฟันหรือฟันเทียม ถือเป็นฟันปลอมแบบติดแน่นอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีความสะดวกกว่าการใช้ฟันปลอมแบบถอดได้
วัสดุที่นำมาทำเป็นรากฟันเทียมคืออะไร?
ตัวรากเทียมมักเป็นโลหะผสมไทเทเนียม มีความแข็งแรง และเข้ากับกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อของร่างกายได้ ทำให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยมาก โดยจะยึดอยู่กับกระดูกขากรรไกรและมีส่วนครอบฟันหรือฟันปลอมสวมทับ
ใส่รากฟันเทียม มีประโยชน์อย่างไร?
รากฟันเทียมช่วยให้ครอบฟันหรือฟันปลอมไม่เลื่อนออกจากจุดที่ต้องการ ป้องกันไม่ให้ฟันข้างเคียงล้มเอียง ชะลอการละลายตัวของกระดูกขากรรไกร โดยรากเทียมจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมแบบธรรมดา
เมื่อไหร่ควรใช้รากฟันเทียม?
- ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ และต้องการการบดเคี้ยวที่ดีขึ้น
- ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- มีการเจริญของกระดูกขากรรไกรเต็มที่แล้ว
- มีความร่วมมือที่ดีในการไปตรวจเช็กกับทันตแพทย์เป็นประจำหลังทำ
ควรดูแลรักษาฟันหลังใส่รากฟันเทียมอย่างไร?
ควรดูแลฟันที่ใส่รากฟันเทียมร่วมกับฟันเทียม ฟันปลอม หรือครอบฟัน เช่นเดียวกันกับฟันธรรมชาติ ควรแปรงฟันให้สะอาดอยู่เสมอ ใช้ไหมขัดฟัน และใช้น้ำยาบ้วนปาก เพื่อไม่ให้มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
ครอบฟัน
การทำครอบฟัน (Crown)⠀คือการใช้วัสดุอื่นมาครอบหรือคลุมฟันที่เสียหาย เพื่อแก้ไขให้ฟันซี่นั้นแข็งแรงขึ้น หรือตกแต่งให้รูปทรงฟันสวยงามเป็นระเบียบมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้กับฟันทุกตำแหน่ง
เมื่อไหร่จึงจะทำครอบฟัน?
ทันตแพทย์จะพิจารณาทำการครอบฟันเพื่อแก้ไขปัญหาให้ฟันยังใช้งานได้จากสาเหตุต่อไปนี้
- ฟันร้าวหรือฟันแตกหัก
- ฟันมีรูผุขนาดใหญ่ ไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟันได้
- ครอบฟันหลังการรักษารากฟัน
- สีฟันและรูปร่างฟันไม่สวยงามเหมือนฟันข้างเคียง
ข้อดีของการทำครอบฟัน
การครอบฟันจะทำให้ตำแหน่งฟันซี่นั้นกลับมามีรูปร่างเหมือนเดิม และการเรียงตัวของฟันดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเสริมความแข็งแรงให้ฟันในกรณีที่ฟันมีความผิดปกติหรือโครงสร้างฟันอ่อนแอ
ข้อดี-ข้อเสีย ของครอบฟันแต่ละประเภท
- แบบใช้โลหะทั้งซี่ มีความแข็งแรงทนทาน และไม่ต้องกรอแต่งผิวฟันมากนัก แต่สีไม่สวย และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- แบบใช้เซรามิกทั้งซี่ มีสีใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติ แต่อาจต้องกรอฟันมากกว่าแบบอื่น
- แบบใช้โลหะเคลือบทับด้วยเซรามิก เป็นการเอาข้อดีของแบบโลหะและแบบเซรามิกมารวมกัน ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน และมีสีค่อนข้างใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติ แต่ข้อเสียคือส่วนของเซรามิกอาจดูทึบกว่าแบบเซรามิกทั้งซี่ และเกิดการแตกหักได้ง่ายกว่า
การดูแลรักษาครอบฟัน
- ควรแปรงฟันหลังอาหารทุกครั้ง โดยแปรงบริเวณผิวด้านบน และด้านข้างของฟัน เหมือนกับการแปรงฟันทั่วไป บางกรณีควรใช้แปรงซอกฟันทำความสะอาดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันร่วมด้วยเพื่อความสะอาดยิ่งขึ้น
- ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันและใต้สะพานฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารและแบคทีเรียบริเวณซอกฟัน อย่างน้อยวันละครั้ง
- การพบทันตแพทย์ ควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง
เดือยฟัน
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กฝังลงในรากฟัน จะใช้หลังจากการรักษารากฟัน เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนของฟัน ช่วยให้ฟันแข็งแรงในกรณีที่เหลือเนื้อฟันอยู่น้อย แต่หากหลังจากรักษารากฟันแล้วยังมีเนื้อฟันเหลืออยู่มาก ทันตแพทย์อาจไม่ใส่เดือยฟันให้ แต่จะรักษาต่อโดยการอุดฟันให้แทน
ใส่เดือยฟัน มีประโยชน์อย่างไร?
การใส่เดือยฟันจะช่วยอุดเนื้อฟันที่เหลืออยู่น้อย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่รากฟัน และทำให้ครอบฟันสามารถยึดติดได้ดีขึ้น
เมื่อไหร่ควรใช้เดือยฟัน?
เดือยฟันจะใช้ในกรณีที่ซี่ฟันได้รับความเสียหาย แต่ยังสามารถรักษารากฟันเอาไว้ได้โดยไม่ต้องถอนฟัน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
- ฟันตาย คือฟันที่เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงส่วนโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ภายในซี่ฟันตาย อาจสังเกตได้จากอาการเจ็บปลายรากฟัน เหงือกบวม มีหนอง สีฟันคล้ำขึ้น หรือเสียวฟัน เป็นต้น
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับฟัน จนฟันแตกหัก เช่น รับประทานอาหารที่แข็งเกินไป เคี้ยวถูกก้อนกรวดในอาหาร เป็นต้น
เดือยฟัน มีกี่ประเภท?
เดือยฟันมี 2 ประเภท ดังนี้
- เดือยสำเร็จรูป ส่วนมากทำจากไฟเบอร์ มีความยืดหยุ่นเข้ากับฟันดี ทำให้ฟันไม่ค่อยแตก และยังมีสีคล้ายฟัน ทำให้ดูกลมกลืนกับฟันซี่อื่น ซึ่งโดยปกติทันตแพทย์สามารถใส่เดือยฟันสำเร็จรูปได้ในวันเดียวกันกับที่รักษารากฟัน
- เดือยโลหะ เป็นเดือยที่ทนกว่าเดือยสำเร็จรูป ราคาถูกกว่า แต่จะทำให้สีฟันไม่เหมือนฟันซี่อื่น และไม่สามารถใส่เดือยได้ทันทีในวันเดียวกับที่รักษารากฟัน เนื่องจากต้องพิมพ์ฟันแล้วนำไปทำเดือยที่เหมาะสมกับสภาพฟันอีกที
โรงพยาบาลและคลินิกอื่นที่มีแพ็กเกจ รักษารากฟัน ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
นัดคิวเข้าไปให้คุณหมอตรวจประเมิน แล้วทักมาจ่ายเงินที่ HDmall.co.th เพื่อรับส่วนลด
- กดปุ่ม “จองเลย” เพื่อติดต่อแอดมิน และแจ้งว่าต้องการจองแพ็กเกจ
- กรอกรายละเอียดตามที่แอดมินขอ และจ่ายค่ามัดจำ 499 บาท
- เข้ารับการประเมินที่คลินิกหรือโรงพยาบาลตามนัดหมาย
- เมื่อทราบราคาประเมินแล้ว ทักไลน์ @hdcoth มาชำระเงินและรับส่วนลดกับ HDmall โดยพิมพ์ HDexpress หรือกดปุ่ม “ชำระเงินหลังประเมิน” ขณะอยู่ที่คลินิก
- เมื่อชำระเงินแล้ว เจ้าหน้าที่จะส่งคูปองให้ลูกค้าเพื่อรับบริการ โดยลูกค้าจะได้รับค่ามัดจำ 499 บาทคืนหลังเข้าประเมินตามนัด
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 30 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ ทางคลินิกจะสรุปค่าใช้จ่ายให้ทราบหลังแพทย์ตรวจประเมิน
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ คลินิกทันตกรรมเวลคัม อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th