HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน หรือการตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนโควิด หรือการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโควิดในร่างกายหลังติดเชื้อ หมายถึง การตรวจหาปริมาณระดับภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี ชนิด IgG หรือชนิด IgM ในร่างกายที่มีต่อเชื้อ SARS-CoV2 บริเวณหนามโปรตีน (Spike Protein) หรือโปรตีน S
- การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดเหมาะกับผู้ที่สงสัยว่า อาจเคยติดเชื้อโควิดมาก่อน และต้องการรู้ว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดมานานเกิน 6 เดือนขึ้นไปและอยากรู้ว่า ภูมิยังอยู่ไหม
- การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดมีที่ได้รับการพูดถึงมี 3 แบบสำคัญๆ ได้แก่ การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกัน IgG และ IgM
- หากมีความจำเป็นต้องตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีที่เกิดจากการได้รับวัคซีนโควิด ควรต้องเลือกวิธีการตรวจให้เหมาะสมกับวัคซีนที่ได้รับ และต้องตรวจหลังได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นในบางราย
- เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
ปัจจุบันการฉีดวัคซีนโควิดในเมืองไทยดำเนินไปแล้วกว่า 7.6 ล้านโดส โดยรัฐบาลมีเป้าหมายว่า จะฉีดวัคซีนโควิดให้คนในประเทศจำนวน 50 ล้านคน ภายในปี 2564 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม กว่าจะเดินทางไปถึงขั้นสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้นั้น หลายคนคงมีความสงสัยว่า วัคซีนโควิดที่ฉีดไปแล้วนั้นจะสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายได้มากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องตรวจภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีนหรือเปล่า ถ้าต้องตรวจภูมิ ควรตรวจตอนไหน HDmall.co.th มีคำตอบมาฝาก
เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับตรวจภูมิโควิดได้ที่นี่
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีนคืออะไร?
การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน หรือการตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนโควิด หรือการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโควิดในร่างกายหลังติดเชื้อ หมายถึง การตรวจหาปริมาณระดับภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี ชนิด IgG (IgG antibody) หรือชนิด IgM (IgM antibody) ในร่างกายที่มีต่อเชื้อ SARS-CoV2 บริเวณหนามโปรตีน (Spike Protein) หรือโปรตีน S
เหตุที่ต้องหาบริเวณหนามโปรตีน เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่ไวรัสใช้เป็นตัวจับกับโปรตีน ACE2 บนเซลล์ของมนุษย์ เพื่อทำการมุดเข้าไปฝังในเซลล์นั่นเอง
ทั้งนี้ภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิดและช่วยให้ไม่เกิดอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิดนั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการรู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้ตนเองและคนรอบข้างนั่นเอง
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิดเหมาะกับใคร?
- ผู้ที่สงสัยว่า อาจเคยติดเชื้อโควิด-19 และต้องการรู้ว่า มีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หรือระดับภูมิคุ้มกัน (ถ้ามี)
- ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการรักษาหายแล้ว และผ่านการกักตัวครบ 14 วัน
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดซิโนแวคเข็มที่ 2 มาแล้วอย่างน้อย 14-28 วัน
- ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ครบโดส มาไม่เกิน 3 เดือน
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิด มีกี่วิธี?
ปัจจุบันวิธีตรวจภูมิคุ้มกันโควิดที่ได้รับการพูดถึงมี 4 แบบ หรือ 4 หลักการสำคัญๆ ได้แก่
- การเจาะเลือด
เพื่อนำตัวอย่างมาตรวจหาภูมิคุ้มกัน IgG และ IgM - การตรวจหาแอนติบอดี ด้วยชุดตรวจ COVID-19 Rapid Test Antibody
แต่หากฉีดวัคซีนโควิดแอสตราเซเนก้าอาจไม่สามารถตรวจหาภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี ได้ด้วยชุดตรวจ rapid test antibody เนื่องจากวัคซีนโควิดแอสตราเซเนก้าเป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบไวรัลเวกเตอร์ (Viral Vector) จึงกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีน S เท่านั้น ไม่ได้สร้างแอนติบอดีโปรตีน N ขึ้นมาด้วย
แตกต่างจากผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดซิโนแวค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ของไวรัสโควิด-19 ทั้งตัว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันทั้งโปรตีน S ด้วย และโปรตีน N จึงสามารถตรวจพบแอนตี้บอดีได้ด้วยชุด rapid test antibody - การตรวจด้วยกระบวนการ PRNT (Plaque Reduction Neutrazation Test)
เป็นการเจาะเลือดเพื่อนำตัวอย่าง ปั่นแยกซีรั่ม เข้ามาในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 ที่มีเชื้อโควิดที่ทำการเพาะเชื้ออยู่บนเพลท จากนั้นจะหยอดซีรั่มและเจือจางลงเรื่อยๆ เป็นเท่าๆ จนกระทั่งถึงจุดที่สามารถทำลายเชื้อไปได้ครึ่งหนึ่งแล้วจึงหยุด นั่นจึงจะบอกได้ว่า “ภูมิคุ้มกันโควิดมีระดับสูงขึ้นมาก-น้อยแค่ไหน” - ตรวจด้วยหลักการ CMIA (Chemiluminescent Microparticle Immunoassay) เป็นวิธีตรวจที่ทันสมัยและให้ผลแม่นยำ แม้จะรอผลนานกว่าการตรวจวิธีอื่น ๆ คือ 2 ชั่วโมง การตรวจ CMIA สามารถตรวจหาภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดีจากผู้ฉีดวัคซีนโควิดได้ทุกชนิด
ผลตรวจภูมิคุ้มกันโควิดบอกอะไรได้บ้าง?
การตรวจเพื่อหาภูมิคุ้มกันโควิด นั้นไม่ใช่การตรวจเพื่อหาเชื้อโควิด และไม่มีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโควิด
< 0.8 U/mL ตรวจพบภูมิคุ้มกันโควิดไม่ตอบสนอง หรือผลการตรวจเป็นบวก (Positive)
หากผลตรวจเป็นบวกหลังจากได้รับวัคซีนโควิดครบโดสแล้ว อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เก็บตัวอย่างก่อนการสร้างภูมิตอบสนอง เป็นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ชนิดของวัคซีน และภาวะการตอบสนองของร่างกายในแต่ละบุคคล
≥ 0.8 U/mL ตรวจพบภูมิคุ้มกันโควิดตอบสนอง หรือผลการตรวจเป็นลบ (Negative)
แม้ผลจะเป็นลบแต่ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่ติดเชื้อ หรือไม่แพร่เชื้อให้บุคคลอื่น ดังนั้นแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาให้คำแนะนำว่า จะต้องฉีดวัคซีนซ้ำในระยะเวลาเท่าไหร่ หรือภูมิตอบสนองจะอยู่ได้นานแค่ไหน ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม แต่สามารถตรวจติดตามระดับแอนดิบอดีเป็นระยะได้
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน ตอนไหน ทันทีไหม?
การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดหลังฉีดวัคซีน ควรเจาะเลือดตรวจภูมิตอบสนองหลังฉีดวัคซีนโควิดครบทั้งสองเข็มแล้วอย่างน้อย 14-28 วัน เมื่อร่างกายเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว แต่ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน
ส่วนการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันโควิดในร่างกายหลังติดเชื้อ สามารถตรวจได้หลังผ่านการติดเชื้อมาแล้ว 4 สัปดาห์
ตรวจภูมิคุ้มกันโควิดจำเป็นไหม?
ล่าสุด ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ลงในเฟสบุ๊คส่วนตัว Yong Poovorawan ถึงเรื่องการตรวจวัดภูมิต่านทานหลังฉีดวัคซีนโควิดว่า
“ไม่มีความจำเป็นสำหรับการตรวจวัดภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากชุดตรวจมีความไวไม่เพียงพอทำให้ผลเป็นลบจำนวนมาก และเกิดความเข้าใจผิดว่า วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันการวัดเชิงปริมาณในการแปลผลยังไม่มีข้อสรุปว่า ค่าระดับภูมิต้านทานเท่าใดสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ การตรวจวัดระดับภูมิต้านทานจึงควรใช้ในการวิจัยเท่านั้น”
คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ หรือความจำเป็นในแต่ละบุคคล หากมีความจำเป็นต้องตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดีที่เกิดจากการได้รับวัคซีนโควิดจริงๆ ด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่
ควรต้องเลือกวิธีการตรวจให้เหมาะสมกับวัคซีนที่ได้รับ และต้องตรวจหลังได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นในบางรายที่มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แม้ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นตามธรรมชาติแล้ว แต่ระดับภูมิคุ้มกันนั้นไม่คงที่และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จึงมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก
ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดแล้วก็ยังต้องยึดหลักการป้องกันตัวเองอย่างดีที่สุด เนื่องจากแม้จะมีภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นใหม่จริงแต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 มีระยะฟักตัวที่สั้น การจะป้องกันได้ดีต้องอาศัยภูมิต้านทานที่สูงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเชื้อยังมีโอกาสกลายพันธุ์ได้
เพียงแต่ในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดแล้ว หากติดเชื้ออาการจะไม่รุนแรงมากเท่ากับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนนั่นเอง
สรุปแล้วไม่ว่าจะเคยติดเชื้อโควิดมาก่อน หรือผ่านการฉีดวัคซีนโควิดครบโดสของแต่ละยี่ห้อมาแล้ว คุณก็ยังจำเป็นต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งก่อนจากบ้าน หมั่นล้างมือให้ถูกวิธีบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70% ขึ้นไป
รักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี รวมทั้งรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดนั่นเอง
หากต้องการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาโควิด-19 ตามที่ต้องการได้ที่นี่เลย หรือที่ไลน์ @hdcoth มีจิ๊บใจดีพร้อมตอบทุกข้อความ ให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
ที่มาของข้อมูล
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, การตรวจวัดภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/การตรวจวัดภูมิต้านทานห/), 21 มิถุนายน 2564.
CDC, Antibody Testing Interim Guidelines Interim Guidelines for COVID-19 Antibody Testing in Clinical and Public Health Settings (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/lab/resources/antibody-tests-guidelines.html), 21 June 2021.
FDA, Antibody (Serology) Testing for COVID-19: Information for Patients and Consumers (https://www.fda.gov/medical-devices/coronavirus-covid-19-and-medical-devices/antibody-serology-testing-covid-19-information-patients-and-consumers), 21 June 2021.
Mayo Clinic, COVID-19 antibody testing (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/covid-19-antibody-testing/about/pac-20489696), 21 June 2021.