เชื้อโควิดอยู่ในอากาศได้กี่ชั่วโมง


โควิดในอากาศ, เชื้อโควิดแพร่ในอากาศ, ละอองฝอย, ไม่ใส่หน้ากากอนามัย

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • เชื้อโควิดจะลอยในอากาศเมื่อผู้ติดเชื้อ ไอ จาม พูด หรือร้องเพลง และอาจติดคนอื่นๆ ได้ หากอยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท หรือพื้นที่ที่ระบายอากาศได้ไม่ดี เชื้อจะลอยได้ไกลหลายเมตร
  • ปริมาณคนในพื้นที่ปิดก็มีส่วนทำให้คนติดกันได้ หากมีคนเยอะ ความเข้มข้นของเชื้อในอากาศก็อาจเยอะตามไปด้วย ทำให้เสี่ยงต่อการติดในอากาศได้มากขึ้น
  • หากเชื้อมีความเข้มข้น และพื้นที่ไม่มีอากาศถ่ายเท แม้ผู้ติดเชื้อจะออกจากพื้นที่ไปแล้ว ผู้ที่เข้าพื้นที่มาทีหลังก็มีโอกาสติดเชื้อที่ลอยอยู่ได้เช่นกัน โดยเชื้ออาจลอยได้นานเป็นชั่วโมง
  • จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth

อย่างที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าโควิด-19 สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจ เมื่อ หายใจ พูด ร้องเพลง ไอ และจาม

ทำให้หลายคนกังวลว่าจะมีโอกาสติดเชื้อโควิดที่ลอยมาตามอากาศได้หรือไม่ ในบทความนี้มีคำตอบ

เชื้อโควิดลอยในอากาศได้ไหม?

เชื้อโควิดสามารถลอยในอากาศ “ได้” โดยเมื่อผู้ติดเชื้อ ไอ จาม พูด หรือร้องเพลง ก็จะเกิดการฟุ้งกระจายของละอองฝอยที่มีเชื้อในอากาศ

อ่านอาการโควิดเบื้องต้น

อ่านหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโควิด

ตรวจโควิด RT-PCR ราคาถูก

เชื้อโควิดลอยในอากาศได้นานแค่ไหน?

ระยะเวลาที่ละอองฝอยลอยในอากาศได้นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าละอองฝอยที่ลอยนั้นเป็นประเภทไหน หลักๆ มีด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังนี้

  • ละอองฝอยขนาดใหญ่ (Larger droplets) เป็นละอองฝอยที่ออกมาโดยใช้แรงดันพอสมควร เช่น ไอ จาม มักมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยปกติจะตกลงสู่พื้นภายในไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาทีหลังจากถูกปล่อยออกมา
  • ละอองฝอยขนาดเล็ก (Smaller droplets) เป็นละอองฝอยที่กระจายออกมาพร้อมละอองฝอยขนาดใหญ่ แต่อาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือเห็นเพียงเล็กน้อย ละอองฝอยประเภทนี้สามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายนาทีไปจนถึงชั่วโมง ที่สำคัญคือลอยไปได้ไกลจากแหล่งกำเนิดมาก ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่และบรรยากาศ
  • อนุภาคของละอองฝอย หรือละอองลอย (Aerosols) เกิดจากละอองฝอยขนาดเล็กที่ถูกลมพัดจนแห้ง หรือสลายอย่างรวดเร็ว มีขนาดเล็กมากจนสังเกตเห็น หรืออาจไม่เห็นเลย สามารถลอยในอากาศได้หลายนาทีจนถึงชั่วโมงเช่นกัน

ปริมาณเชื้อในละอองฝอยทั้ง 3 ประเภทจะค่อยๆ เจือจางลงเรื่อยๆ ระหว่างที่ลอยตามอากาศ หากมีอากาศหมุนเวียนหรือถ่ายเทได้ดี ก็จะยิ่งสลายไปเร็วขึ้น

เชื้อโควิดติดทางอากาศได้ไหม?

เชื้อโควิดสามารถติดผ่านทางอากาศ “ได้” แต่การติดต่อประเภทนี้มักเกิดขึ้นในสถานการณ์บางประเภท ดังนี้

  • พื้นที่ปิดที่มีผู้ติดเชื้อโควิด อาจทำให้ผู้อื่นที่อยู่ในพื้นที่ติดเชื้อได้โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ นอกจากนี้ถึงแม้ผู้ติดเชื้อจะออกจากพื้นที่ไปแล้ว ผู้ที่เข้ามาภายหลังก็มีโอกาสติดเช่นกัน
  • การสัมผัสอนุภาคเชื้อเป็นเวลานาน เชื้อที่อยู่ในอากาศได้นาน (ประมาณ 30 นาที) มักเกิดจากการจาม ร้องเพลง หรือออกกำลังกาย ทำให้อนุภาคเชื้อกระจายออกมาปริมาณมาก และมีความเข้มข้นของเชื้ออยู่ในอากาศมากขึ้น
  • การระบายอากาศไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสะสมของละอองฝอยและอนุภาคละอองฝอยในอากาศ มีโอกาสเสี่ยงติดโควิดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากพื้นที่ที่ระบายอากาศได้ดี มีลมโกรก ก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดโควิดทางอากาศได้

แต่อย่างไรก็ตาม การติดโควิดทางอากศไม่ใช่ช่องทางหลักในการติดโรค เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลกับผู้ติดเชื้อราว 1-2 ชั่วโมง มีการติดเชื้อครั้งละปริมาณมากๆ จากละอองที่พัดไปตามอากาศ

ป้องกันการติดโควิดในอากาศอย่างไร?

การป้องกันการติดโควิดในอากาศ สามารถทำได้โดยการลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย และลดการรับละอองฝอยจากผู้อื่น ดังนี้

  • จัดพื้นที่ให้มีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการรวมตัวในร่ม พื้นที่ปิด
  • สวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการกระจายของละอองฝอย
  • เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดโอกาสสัมผัสละอองฝอย
  • ล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป
  • การทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ

โดยสรุปแล้ว โควิด-19 สามารถติดต่อได้ผ่าน 3 ช่องทางด้วยกัน คือ ผ่านการสัมผัสผู้ติดเชื้อโดยตรง เช่น การจับมือ หรือวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อบนพื้นผิว ก่อนจะเผลอนำเข้าร่างกายจนเกิดการติดเชื้อ ทางที่สองคือ ติดต่อกันผ่านละอองฝอย และอีกทางหนึ่งคือการติดต่อทางอากาศนั่นเอง

หากคุณมีประวัติเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง หรืออยู่ในพื้นที่ปิดที่มีคนจำนวนมาก ควรกักตัวดูอาการ 14 วัน หรือลองตรวจหาเชื้อโควิดเพื่อยืนยัน โดยเปรียบเทียบราคาได้ที่ HDmall.co.th

สอบถามรายละเอียดพื้นที่ที่รับตรวจ หรือให้ใช้บริการจองคิวได้ผ่านไลน์ @hdcoth ได้ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!

ตรวจโควิด ATK ราคาถูก

บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Centers for disease control and prevention, Scientific Brief: SARS-CoV-2 and Potential Airborne Transmission, (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/more/scientific-brief-sars-cov-2.html), 5 October 2020.
  • Julia Ries, Experts Say COVID-19 Is Airborne: Here’s How You Can Stay Safe, (https://www.healthline.com/health-news/experts-say-covid-19-is-airborne-heres-how-you-can-stay-safe), 7 October 2020.
@‌hdcoth line chat