ไขข้อสงสัย ภาวะ Long COVID รักษายังไง ไม่อยากเป็นควรทำอย่างไรดี?


ไขข้อสงสัย ภาวะ Long COVID รักษายังไง ไม่อยากเป็นควรทำอย่างไรดี?

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • ภาวะ Long COVID เป็นภาวะที่เกิดจากเศษซากเชื้อไวรัส COVID-19 ที่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย แล้วไปกระตุ้นต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองและมีอาการเจ็บป่วย
  • อาการเจ็บป่วยหลังติดเชื้อไวรัส COVID-19 เรียกว่าเป็น Long COVID ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยที่ไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ หลังการติดเชื้อ COVID-19 3 เดือน และมีอาการนานเกินกว่า 2 เดือนขึ้นไป
  • วิธีรักษาภาวะ Long COVID ในปัจจุบันเป็นการรักษาไปตามอาการที่พบ
  • หากติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไปแล้ว วิธีลดความเสี่ยงการเป็น Long COVID คือ รีบรักษาตัวให้หายจากการติดเชื้อโดยเร็ว
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จากโรงพยาบาลวิมุต แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ภาวะ Long COVID เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่หลายให้ความสนใจ แม้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในหลายพื้นที่จะเบาบางลงแล้ว แต่ในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสชนิดนี้บางคนต้องเผชิญกับภาวะ Long COVID อย่างต่อเนื่อง

แล้วจะมีวิธีป้องกันและจัดการกับภาวะ Long COVID อย่างไร? HDmall.co.th ร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต โดย แพทย์หญิงญาดา หลุยเจริญ แพทย์ประจำศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลวิมุต จะมาให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับภาวะ Long COVID ทั้งวิธีรักษาและป้องกันการเกิดภาวะนี้

แพทย์หญิงญาดา หลุยเจริญ แพทย์ประจำศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลวิมุต

ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) เกิดจากอะไร?

ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) เป็นภาวะที่เกิดจากเศษซากเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ไม่ทำให้เกิดโรค แต่ยังติดค้างอยู่ในร่างกายผู้ป่วย ก่อนจะไปกระตุ้นต่อระบบภูมิคุ้มกัน

ส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบและการตอบสนองต่อเชื้อและมีอาการเจ็บป่วย โดยสามารถเกิดได้หลากหลายอาการ พบได้ในทุกระบบของร่างกาย

อาการที่พบได้บ่อยจากภาวะ Long COVID

กลุ่มอาการของภาวะ Long COVID ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • อาการเหนื่อยง่าย
  • ไอบ่อยๆ
  • เจ็บหน้าอก
  • สมาธิสั้น
  • นอนไม่หลับ
  • ไม่สดชื่น
  • รู้สึกซึมเศร้า
  • ปวดตามข้อ

ภาวะ Long COVID เป็นนานแค่ไหน?

ผู้ที่เผชิญกับภาวะ Long COVID มักมีอาการอยู่ประมาณ 2-3 เดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุขภาพในแต่ละบุคคล และความผิดปกติของร่างกายที่เปลี่ยนไปภายหลังจากติดเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วย

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น Long COVID?

เนื่องจากกลุ่มอาการของภาวะ Long COVID มีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคอื่นๆ หลายอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ โรคหัวใจ โรคกรดไหลย้อน โรคซึมเศร้า

เพื่อให้มั่นใจว่า ตนเองเป็นเพียงภาวะ Long COVID ไม่ใช่โรคอื่นๆ ที่รุนแรงกว่าที่คาดคิด ผู้ที่สงสัยว่า ตนเองเป็นภาวะ Long COVID ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น

แพทย์จะตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย และแยกระหว่างการเป็น Long COVID กับโรคอื่นๆ ที่ตนเองอาจไม่เคยทราบมาก่อน จนทำให้เกิดความสับสน

ใครเสี่ยงเป็นภาวะ Long COVID

กลุ่มผู้ที่เสี่ยงเป็นภาวะ Long COVID มากที่สุดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือร่างกายไม่แข็งแรงอยู่แล้ว และติดเชื้อไวรัส COVID-19
  • กลุ่มผู้ที่มีอาการระหว่างติดเชื้อไวรัส COVID-19 ค่อนข้างหนัก และมีมากกว่า 5 อาการขึ้นไประหว่างติดเชื้อ เช่น มีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ไอ ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน
  • กลุ่มผู้ที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 และมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นระหว่างติดเชื้อ เช่น เชื้อลงปอด เกิดภาวะปอดอักเสบ

การรักษาภาวะ Long COVID

เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยเผชิญกับภาวะ Long COVID แพทย์จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น หากมีปัญหานอนไม่หลับ แพทย์จะจ่ายยาที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ร่วมกับให้ปรับเวลาเข้านอนให้เหมาะสม หรือหากมีปัญหาปอดอักเสบ ก็อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้แข็งแรงขึ้น

การป้องกันภาวะ Long COVID

การป้องกันภาวะ Long COVID ที่ง่ายและรัดกุมที่สุด คือ ระมัดระวังอย่าให้ตนเองติดเชื้อไวรัส COVID-19 เด็ดขาด ผ่านการดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปในพื้นที่แออัด

และควรฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งในปัจจุบันคำแนะนำในการฉีดวัคซีน คือ ควรฉีดอย่างน้อย 3 เข็ม และควรฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุก 4 เดือน

อย่างไรก็ตามหากติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไปแล้ว ผู้ป่วยควรรีบรักษาตัวให้หายจากการติดเชื้อโดยเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการจากการติดเชื้อรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะ Long COVID ในภายหลัง

นอกจากนี้ผู้ที่มีโรคประจำตัวจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น Long COVID ควรรักษาอาการของโรคให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ หรือรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหากติดเชื้อไวรัส COVID-19

ตรวจภาวะ Long COVID ที่ไหนดี?

หากคุณคือหนึ่งในผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัส COVID-19 และกำลังมองหาสถานพยาบาลเพื่อตรวจภาวะ Long COVID แต่ไม่รู้ว่าจะตรวจภาวะ Long COVID ที่ไหนดี

HDmall.co.th ขอแนะนำศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลวิมุต ที่ให้บริการตรวจคัดกรองภาวะ Long COVID เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพภายหลังจากการติดเชื้อไวรัสอย่างเหมาะสม

บรรยากาศด้านหน้าโรงพยาบาลวิมุต

โรงพยาบาลวิมุตเล็งเห็นถึงผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ไม่ใช่อาการเพียงเล็กน้อยหลังจากรักษาตัวหายดีแล้วเท่านั้น แต่หลายคนกลับมีคุณภาพชีวิตที่เสื่อมถอยจากการเป็นภาวะ Long COVID ทำให้ดำเนินกิจวัตรประจำวันลำบากขึ้น เช่น พักผ่อนไม่พอ คิดงานไม่ออก อ่อนล้าระหว่างวันเป็นประจำ

ทางศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลวิมุตจึงพัฒนาแนวทางการตรวจสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะ Long COVID ให้มีความครอบคลุมและละเอียดรอบด้าน เพื่อให้สามารถหาช่องทางรักษาและบรรเทาอาการให้กับผู้เข้ารับบริการได้อย่างตรงจุดและเห็นผลลัพธ์ได้ดีที่สุด

แพทย์หญิงญาดา หลุยเจริญ แพทย์ประจำศูนย์อายุรกรรม ขณะทำงาน

ปัจจุบัน แนวทางการรักษาภาวะ Long COVID จะเป็นการรักษาไปตามอาการที่พบ จึงต้องอาศัยความชำนาญและละเอียดจากทีมแพทย์ในการตรวจประเมินอาการและความผิดปกติอื่นๆ ที่ผู้เข้ารับบริการอาจไม่ทันสังเกตอย่างรอบด้าน

รับบริการตรวจสุขภาพหลังติดเชื้อไวรัส COVID-19 หรือตรวจสุขภาพเพื่อหาวิธีบรรเทาอาการจากภาวะ Long COVID ที่คุณกำลังเผชิญอยู่ ที่ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลวิมุต หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลวิมุตได้ที่ไลน์ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat