อยากเป็นคนอายุยืน ควรดูแลตนเองอย่างไร?


อยากเป็นคนอายุยืน ควรดูแลตนเองอย่างไร?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้คนกลุ่มอายุ 30 พบปัญหาโรคออฟฟิศซินโดรม โรคไมเกรน และโรคกรดไหลย้อนได้มากขึ้น รวมถึงกลุ่มอาการมือชา ที่เกิดจากการเล่นมือถือเป็นเวลานานๆ
  • คนวัย 40 เป็นกลุ่มที่น่าห่วงในด้านสุขภาพใจ เพราะต้องแบกภาระทั้งหน้าที่การงานและเรื่องส่วนตัวมากไปอีกขั้น ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงวัยที่ผู้ใหญ่ในบ้านเริ่มเจ็บป่วยแก่เฒ่ามากขึ้น
  • ทั้งวัย 30 และ 40 ปีขึ้นไป ต่างต้องระมัดระวังในด้านการคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดที่เกิดจากปริมาณไขมันสะสมที่มากเกินไป
  • ความเสื่อมของไขข้อกระดูก เป็นปัญหาสุขภาพที่เด่นชัดในคนกลุ่มผู้ที่อายุ 50 ปี โดยเฉพาะในเพศหญิง ร่วมกับปัญหาระบบประสาทและสมอง ซึ่งอาจกระทบต่อปัญหาความทรงจำและภาวะอารมณ์ที่อาจแปรปรวนขึ้น
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จากโรงพยาบาลวิมุต แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่


“อยากอายุยืนถึง 100 ปี” ไม่ใช่ความฝันที่จับต้องไม่ได้เสมอไป เป้าหมายนี้สามารถเป็นจริงได้หากคุณดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและดีพอตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อให้ร่างกายคงสมรรถภาพความแข็งแรงไปได้อีกยาวนาน และช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของทุกอวัยวะให้ช้าออกไปอีก

แล้วเราจะมีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไรบ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสให้อายุยืนยาวขึ้นได้มากที่สุด HDmall.co.th ร่วมกับ ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาลวิมุต โดยแพทย์หญิงมนฑรัตม์ เจนทวีพรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) จะมาเผยเคล็ดลับอายุยืน 100 ปี

แพทย์หญิงมนฑรัตม์ เจนทวีพรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) รพ. วิมุต

อยากเป็นคนอายุยืน ควรดูแลตนเองอย่างไร?

แนวทางการดูแลตนเองของคนแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้ชีวิตและปัญหาสุขภาพที่พบเจอได้บ่อย ซึ่งคนแต่ละช่วงวัยนั้นมีเงื่อนไขส่วนนี้ไม่เหมือนกัน

การดูแลตัวเองในช่วงวัย 30 ปี

การดูแลตัวเองในช่วงวัย 30 ปี ที่ถือว่าเป็นกลุ่มอายุยังน้อย และเป็นวัยเริ่มต้นที่ดีในการประคองความแข็งแรงของสุขภาพให้ยืนยาวไปจนกระทั่งเข้าสู่วัยสูงอายุ

ด้วยช่วงวัยที่ยังอยู่ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนก้าวข้ามไปสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว จึงทำให้กลุ่มคนวัย 30 เผชิญปัญหาด้านสุขภาพอยู่หลายด้าน

ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุ 30 ปี

เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เพิ่งผ่านพ้นการเป็นวัยรุ่น กลุ่มคนวัย 30 จึงมักมีพฤติกรรมดื่มเหล้า สูบบุหรี่ค่อนข้างหนัก นอนหลับพักผ่อนน้อย และมักเป็นวัยที่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละไม่ตำ่กว่า 6 ชั่วโมง

พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นบ่อเกิดสำคัญที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลงง่ายขึ้น และนำไปสู่การเกิดโรคที่ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง

แพทย์หญิงมนฑรัตม์ได้พูดถึง 3 ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุ 30 ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ได้แก่

  1. ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เกิดจากการนั่งทำงานผิดท่า ใช้กล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องจนเกิดปัญหากล้ามเนื้อตึงและอักเสบ พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมในท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ ศิลปิน แม่ครัว คนสวน คนงานก่อสร้าง
  2. โรคไมเกรน (Migraine) อาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยในยุคปัจจุบัน มักมีลักษณะอาการเป็นอาการปวดแบบเต้นตุบๆ ที่ขมับหรือข้างในศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง มักเกิดบ่อยในผู้ที่พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่ มีภาวะความเครียด นอนไม่พอ หรือทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเร้าต่อการเกิดไมเกรน เช่น มีแสงไฟจ้าๆ มีเสียงดัง
  3. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) โรคที่เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้อง เรอเปรี้ยว ผะอืดผะอม มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมกินอาหารไม่ตรงเวลา หรือกินเร็วและปริมาณมากเกินไป กินอาหารที่ย่อยยาก การดื่มน้ำอัดลม ภาวะความเครียด
กลุ่มคนอายุ 30 ปี กับอาการปวดหลัง

นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุ 30 คือ ภาวะซึมเศร้า สืบเนื่องมาจากเป็นช่วงวัยที่มักเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการงาน การเงิน หรือความรัก และเป็นวัยที่รับภาระความคาดหวังจากคนรอบตัวค่อนข้างมาก ส่งผลทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หรือผิดหวังกับผลลัพธ์ที่ไม่ได้ดั่งใจ

แพทย์หญิงมนฑรัตม์ยังกล่าวถึงอีกกลุ่มอาการที่พบได้มากขึ้นในกลุ่มคนอายุ 30 นั่นก็คือ อาการอาการมือชา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเล่นมือถือบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน งอแขนและข้อมือนานจนเกิดการกดทับที่เส้นประสาท

แนวทางการปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพของกลุ่มคนวัย 30 ปี

แพทย์หญิงมนฑรัตม์ได้กล่าวถึง “การปรับพฤติกรรมออกกำลังกายและคุมน้ำหนัก” เป็นอย่างแรก เนื่องจากเป็น 2 พฤติกรรมที่คนวัย 30 มักมองข้ามซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆเมื่ออายุมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคมะเร็ง รวมถึง 3 โรคที่พบได้บ่อยในคนอายุ 30 ที่ได้กล่าวไปข้างต้น

โดยตัวอย่างคำแนะนำในการปรับพฤติกรรม ได้แก่

  • กินอาหาร 3 มื้อตรงเวลา และในปริมาณที่พอเหมาะ
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีแคลอรีสูง รวมถึงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
  • กินผักผลไม้ให้เพียงพอต่อร่างกายทุกวัน ในส่วนของผักควรกินให้หลากสี และระวังผลไม้ที่มีรสหวานซึ่งให้น้ำตาลต่อร่างกายสูง
  • หากทำงานในลักษณะที่ต้องอยู่ในบางอิริยาบถเป็นเวลานานๆ ให้แบ่งเวลาในการลุกขึ้นเดินเคลื่อนไหวร่างกายบ้างโดยภายใน 1 ชั่วโมง ควรมีการเดินยืดเส้นยืดสายสักประมาณ 5-10 นาที
  • แบ่งเวลาออกกำลังกายทุกสัปดาห์ให้ได้อย่างน้อย 150 นาที
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอทุกคืน
  • งดการสูบบุหรี่ และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อย
  • หาวิธีรับมือกับความเครียดและภาระทางใจ เนื่องจากปัญหาเครียดหรือภาวะซึมเศร้าก็เป็นอีกตัวการทำให้เกิดพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมได้เช่นกัน และอาจทำให้คุณภาพการนอนหลับแย่ลงได้

การดูแลตัวเองในช่วงวัย 40 ปี

กลุ่มช่วงวัยซีเนียร์ หรือช่วงวัย 40 ปี ที่แบกภาระทั้งเรื่องหน้าที่การงานและเรื่องส่วนตัวมากกว่าคนวัย 30 ไปอีกขั้น และขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงวัยที่ผู้ใหญ่ในบ้านมักเริ่มเจ็บป่วยแก่เฒ่า จนต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากลูกหลานมากขึ้น

ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุ 40 ปี

ในส่วนของสุขภาพกาย กลุ่มคนช่วงวัย 40 มีปัญหาที่คล้ายคลึงกับกลุ่มคนวัย 30 เช่น นอนดึก ไม่ออกกำลังกาย ยังคงสังสรรค์ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ จนส่งผลให้เสี่ยงเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง

ในส่วนของสุขภาพใจ แพทย์หญิงมนฑรัตม์ว่า กลุ่มคนวัย 40 ยังเป็นวัยที่ต้องรับภาระทางใจค่อนข้างหนัก เนื่องจากต้องทั้งแบ่งเวลาให้เรื่องส่วนตัวและเรื่องงานที่มากขึ้นกว่าเดิมให้สมดุลกัน ซึ่งเป็นไปได้ยาก

วัย 40 ปี กับภาวะซึมเศร้า

จากเงื่อนไขชีวิตที่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่กลุ่มคนวัย 40 จะเผชิญปัญหาภาวะเครียด ซึมเศร้า หรือการเป็นโรควิตกกังวลได้มากกว่าเดิม และอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมือนเดิมในภายหลัง เช่น ไม่กินอาหารที่มีประโยชน์ ติดเหล้าหรือบุหรี่ นอนดึก รวมถึงไม่สามารถคิดหาทางออกต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้

แนวทางการปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพของกลุ่มคนวัย 40 ปี

ในส่วนของสุขภาพกาย กลุ่มคนวัย 40 ยังคงต้องระมัดระวังในส่วนของพฤติกรรมการกินและออกกำลังกายเหมือนกับกลุ่มคนวัย 30 และจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำด้วย เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อีกไม่นานก็จะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ซึ่งมีโอกาสที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะเริ่มเสื่อมถอยลง ผ่านการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • บริโภคอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลให้น้อย และหันมาบริโภคผักผลไม้มากขึ้น
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่ หรือหากมีพฤติกรรมติดสูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน ควรลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีเลิกบุหรี่
  • บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อย หรือหากมีปัญหาติดเหล้า ก็ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการเลิกเหล้าเช่นกัน

นอกเหนือจากนั้น การดูแลสุขภาพใจก็จัดเป็นสิ่งสำคัญต่อกลุ่มคนอายุ 40 ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะความกังวลใจจากการดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า หรือผู้สูงอายุภายในบ้าน ซึ่งเป็นภาระที่ลูกหลานหลายคนยากจะรับมือได้ไหวทั้งหมด

การเดินทางไปปรึกษาแพทย์ประจำศูนย์ผู้สูงอายุอาจเป็นตัวตอบโจทย์ปัญหานี้ เพื่อให้ผู้ที่ต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านเข้าใจแนวทางการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวได้มากขึ้น โดยไม่กระทบต่อชีวิตส่วนตัวของตนเอง

หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับจิตใจในด้านอื่นๆ การเดินทางไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ก็เป็นอีกทางออกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพใจตั้งแต่ต้นเหตุได้เช่นกัน


การดูแลตัวเองในช่วงวัย 50 ปี

กลุ่มคนที่เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ อาจต้องอยู่ร่วมกับความเสื่อมของร่างกายบางอย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และทำให้ต้องดูแลสุขภาพอย่างระมัดระวังมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตนเองยังคงอายุยืนยาวไปได้อีกนานๆ

ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนอายุ 50 ปี

ความเสื่อมของไขข้อกระดูก เป็นปัญหาสุขภาพที่เด่นชัดในคนอายุ 50 ปี โดยเฉพาะในเพศหญิง เนื่องจากฮอร์โมนบางตัวที่เริ่มผิดปกติหรือร่างกายไม่ผลิตเพิ่มอีกเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ร่วมกับได้รับสารอาหารบางตัวในร่างกายที่น้อยเกินไป เช่น แคลเซียม วิตามินดี

ในอายุที่มากกว่า 60 ปีขึ้นไป ปัญหาที่พบได้คือ ภาวะเกี่ยวกับสมอง ผู้สูงอายุมีโอกาสจะพบเจอปัญหาความจำเสื่อม จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพและจิตใจ เช่น

  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • อารมณ์แปรปรวนง่ายกว่าเดิม
  • เกิดอาการย้ำคิดย้ำทำ พูดซ้ำเรื่องเดิมๆ หรือทำอะไรบางอย่างซ้ำๆ เดิมๆ
  • สับสนเรื่องทิศทาง อาจทำให้จำทางกลับบ้านไม่ได้ หรือหลงทางกับผู้ติดตามเวลาออกไปข้างนอกบ้าน
  • ไม่อยู่กับโลกความเป็นจริง คิดว่าใครจะมาทำร้าย หรือคิดว่าคู่สมรสนอกใจ ลูกหลานทอดทิ้ง
วัย 50 ปี กับภาวะซึมเศร้า พร้อมลูกหลานดูแล

แนวทางการปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพของกลุ่มคนวัย 50 ปี

การปรับพฤติกรรมเพื่อยืดช่วงอายุให้ยืนยาวขึ้นจะมุ่งเน้นไปที่การเสริมความแข็งแรงและสดชื่นให้กับทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ

ในด้านสุขภาพกาย ควรหมั่นออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารอยู่เป็นประจำและระมัดระวังไม่หักโหมหนักเกินไป เพื่อเสริมสมรรถภาพการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ร่วมกับกินอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมเสริมความแข็งแรงของกระดูกไขข้อ

ส่วนวัยหลังเกษียณการทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองก็สำคัญเช่นกัน โดยอาจเข้าร่วมกิจกรรมวาดรูป อ่านเขียนวรรณกรรม ฟังเพลง หรือสวดมนต์ เพื่อบริหารสมองให้ยังคงทำงานอย่างมีคุณภาพ

ในส่วนของสุขภาพใจ ควรเปิดใจให้เบิกบานอยู่เสมอ หากิจกรรมที่สามารถทำเพื่อคลายเครียดหรือความวิตกกังวล หรือหากรู้สึกถึงภาวะความผิดปกติใดๆ ที่อาจเกิดจากการทำงานของสมอง เช่น รู้สึกซึมเศร้าบ่อย มีอาการหลงลืมสิ่งของ สมาชิกในบ้าน หรือหลงทิศบ่อยขึ้น รู้สึกอารมณ์ฉุนเฉียวหงุดหงิดง่ายกว่าเดิม ควรเดินทางไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหรือตรวจวินิจฉัยความเสี่ยงต่างๆ เพิ่มเติม

ดูแลสุขภาพให้ยืนยาว ที่ โรงพยาบาลวิมุต

ที่ศูนย์สุขภาพสำหรับครอบครัวและผู้สูงอายุ (Family and Senior Care) โรงพยาบาลวิมุต เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุอย่างละเอียด โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Geriatric Family Medicine & Geriatric Medicine

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ตรวจประสิทธิภาพการทรงตัว ความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทและสมองด้านอื่นๆ บริการฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ

ทางศูนย์ยังมีนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด ที่พร้อมสร้างสรรค์กิจกรรมและความบันเทิง สอดแทรกไปด้วยการบริหารทั้งสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุให้ยังคงความแข็งแรงแจ่มใส เต็มไปด้วยความมั่นใจ และเบิกบานในการใช้ชีวิตต่อไปในวันข้างหน้า

บรรยากาศด้านหน้าโรงพยาบาลวิมุต สะพานควาย

นอกจากบริการเกี่ยวกับการตรวจรักษา ทางศูนย์สุขภาพสำหรับครอบครัวและผู้สูงอายุ (Family and Senior Care) โรงพยาบาลวิมุตยังมีบริการผู้ช่วยดูแลแทนญาติ ในกรณีที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมาตรวจหรือรักษาโรคและญาติไม่สะดวกเดินทางมาด้วย

ทางโรงพยาบาลสามารถจัดหาบุคลากรคอยอยู่เคียงข้างผู้สูงอายุได้ตลอดช่วงเวลาที่อยู่โรงพยาบาล โดยสามารถนำรถของโรงพยาบาลไปรับส่งได้ถึงบ้าน พร้อมประสานงานติดต่อกับทางญาติเกี่ยวกับความคืบหน้าของการรักษาที่เกิดขึ้น

นอกเหนือจากนั้นยังมีบริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งจะมีบุคลากรทางการแพทย์คอยประจำดูแลอยู่ตลอด

ในกรณีที่ผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ศูนย์สุขภาพสำหรับครอบครัวและผู้สูงอายุ (Family and Senior Care) โรงพยาบาลวิมุตยังมีบริการศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างคุ้มค่ากับครอบครัว เต็มไปด้วยความสุขสงบและเพิ่มคุณภาพชีวิตใ่นช่วงสุดท้ายของชีวิต

ทางศูนย์สุขภาพสำหรับครอบครัวและผู้สูงอายุ (Family and Senior Care) โรงพยาบาลวิมุตยังมีความเข้าใจถึงความกดดันและความยากลำบากของคนในครอบครัวท่านอื่นๆ ซึ่งมักต้องเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเอง ทำให้ไม่มีเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวได้มากพอ จึงมีบริการให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการดูแลผู้สูงอายุสำหรับคนในครอบครัวโดยเฉพาะ

รับบริการตรวจสุขภาพสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุจากแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในช่วงบั้นปลาย และยืดอายุไขของคุณให้ยาวขึ้น ด้วยบริการที่เต็มไปด้วยความใส่ใจและเข้าใจ จากศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาลวิมุต


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat